นิราศพระบาท
นิราศพระบาท เป็นนิราศคำกลอนของ สุนทรภู่ มีความยาวถึง 462 คำกลอน นับเป็นนิราศที่ยาวมากเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ โดยมีเนื้อหาบรรยายการเดินทางขณะโดยเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่อำเภอขุนโขลน จังหวัดสระบุรี เมื่อวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ พ.ศ. 2350
นิราศพระบาท | |
---|---|
กวี | พระสุนทรโวหาร (ภู่) |
ประเภท | นิราศ |
คำประพันธ์ | กลอนแปด |
ความยาว | 462 คำกลอน |
ยุค | รัชกาลที่ 1 |
ปีที่แต่ง | ราว พ.ศ. 2350 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์ |
การเดินทางเริ่มต้นจากคลองขวาง กรุงเทพมหานคร ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อำเภอขุนโขลน จังหวัดสระบุรี ใช้เส้นทางทางน้ำโดยใช้เรือ และการเดินทางทางบกโดยใช้ช้าง โดยลงเรือจากพระนครผ่านโรงสุราบางยี่ขัน ผ่านบ้านปูน บางพลู บางพลัด สามเสน บางซื่อ บางซ่อน เข้าปากเกร็ด บางพูด จังหวัดนนทบุรี แล้วล่องเรือไปขึ้นฝั่งที่บ้านขวาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นนั่งช้างและเดินเท้าต่อไปยังวัดพระพุทธบาท โดยผ่านสถานที่ในบริเวณนั้น อย่าง เขาโพธิ์ลังกา เขาขาด ถ้ำกินนร ถ้ำจักรี ฯลฯ[1]
สุนทรภู่แต่งนิราศพระบาทขณะมีอายุ 21 ปี โดยบรรยายเรื่องราวชีวิตและอุปนิสัยส่วนตัวของสุนทรภู่ โดยเน้นความรักที่มีต่อนางจันภรรยา โดยบรรยายผ่านสถานที่ที่เดินทางผ่าน บางตอนสะท้อนชีวิตสาวชาววังและชาวบ้าน ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในสังคมไว้ด้วย เช่น การแต่งกายของสาวชาววังที่ร่วมขบวนเสด็จ การแต่งกายของสาวมอญที่สามโคก และลักษณะบ้านของชาวมอญในสังคมไทย เล่าถึงงานวัดพระพุทธบาทอันเป็นงานสำคัญและยิ่งใหญ่[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "นิราศพระบาท 2". นามานุกรมวรรณคดีไทย.
- ↑ "นิราศพระบาท". นามานุกรมวรรณคดีไทย.