นิทานหิ่งห้อย เดอะ มิวสิคัล

ละครร้องเพลงเฉลียง

นิทานหิ่งห้อย เดอะ มิวสิคัล เป็นละครเวทีรูปแบบละครเพลงประเภทตู้เพลง (Jukebox Musical) แนวจินตนิยม-สุขนาฏกรรม-จินตนิมิต-ดรามา จาก เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ที่เปลี่ยนชื่อมาจาก เดอะ เลเจนด์ ออฟ เร่ขายฝัน เฉลียง เดอะ มิวสิคัล แต่ใช้เนื้อเรื่องคล้ายกัน คือการนำเพลงของวงเฉลียง กว่า 30 บทเพลงมาร้อยเรียงให้เป็นละครเวที โดยจัดการแสดงในชื่อนี้มาแล้ว 2 ครั้ง จัดแสดงที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ทั้งหมด

นิทานหิ่งห้อย เดอะ มิวสิคัล
ละครร้องเพลงเฉลียง
ดนตรีประภาส ชลศรานนท์
คำร้องประภาส ชลศรานนท์
ฉัตรชัย ดุริยประณีต
จักรพัฒน์ เอี่ยมหนุน
เกรียงไกร วชิรธรรมพร
ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม
พิมพ์ไทย โลหิตคุปต์
ชัชวาลย์ วิศวบำรุงชัย
ตรัย ภูมิรัตน
ชยานันต์ เทพวนินกร
อ้างอิงจากเพลงของวงเฉลียง
เดอะ เลเจนด์ ออฟ เร่ขายฝัน เฉลียง เดอะ มิวสิคัล
รอบปฐมทัศน์8 ตุลาคม 2559 (2559-10-08): โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ
งานสร้างพ.ศ. 2559 เคแบงก์สยามพิฆเนศ
พ.ศ. 2567 เคแบงก์สยามพิฆเนศ

เรื่องย่อ

แก้

การจัดแสดง

แก้

ครั้งที่ 1

แก้

การจัดการแสดงครั้งแรก จัดแสดงโดยเวิร์คพอยท์ ร่วมกับโต๊ะกลมโทรทัศน์ กำกับการแสดงโดย สังข์ - ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม และทีมผู้สร้างส่วนใหญ่จากโหมโรง เดอะ มิวสิคัล นำแสดงโดย อนุสรณ์ มณีเทศ, วีรคณิศร์ กานต์วัฒนกุล, กรกันต์ สุทธิโกเศศ, สาธิดา พรหมพิริยะ, ศิรภัสรา สินตระการผล, กานดา วิทยานุภาพยืนยง, ศรัทธา ศรัทธาทิพย์, ปวันรัตน์ นาคสุริยะ และ สุธีรัชย์ ชาญนุกูล เป็นต้น

ที่มาของละครเวทีเรื่องนี้เกิดจากการที่ สังข์ - ธีรวัฒน์ อนุวัตรอุดม ผู้กำกับการแสดง เล็งเห็นว่าในปี พ.ศ. 2559 ควรมีละครเวทีอีกเรื่องสำหรับจัดแสดงในโรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ และเล็งเห็นว่า เดอะ เลเจนด์ ออฟ เร่ขายฝัน เฉลียง เดอะ มิวสิคัล ที่ตนเคยกำกับเมื่อ 7 ปีที่แล้วนั้นมีเนื้อหาที่ดีและร่วมสมัย จึงนำกลับมาทำใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น นิทานหิ่งห้อย เดอะ มิวสิคัล ซึ่งจากการเปลี่ยนชื่อ ทำให้เพลง นิทานหิ่งห้อย เป็นเพลงหลักของละครเวทีเรื่องนี้แทน เร่ขายฝัน ไปโดยปริยาย[1]

เดิมละครเวทีเรื่องนี้มีกำหนดจัดการแสดงในวันที่ 8 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559[2] แต่จัดแสดงได้เพียง 2 รอบแรกก็ถูกเลื่อนออกไปเพื่อถวายความอาลัยต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[3] ต่อมาได้ประกาศจัดการแสดงใหม่จำนวน 9 รอบ ในวันที่ 28 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[4] รวมจำนวน 11 รอบ

ครั้งที่ 2

แก้

การจัดการแสดงครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนตัวนักแสดงจากรอบก่อนหน้าเกือบทั้งหมด มีเพียงหัวเต่งที่ยังคงแสดงโดย มงคล สะอาดบุญญพัฒน์ เช่นเดิม รวมถึงเพิ่มตัวละครบางตัวเข้าไปด้วย โดยนักแสดงนำมาจากศิลปินในสังกัดเอ็กซ์โอเอ็กซ์โอเอนเตอร์เทนเมนต์ โดยเฉพาะโฟร์อีฟและแอทลาส ซึ่งเป็นการแสดงในบทนำเป็นครั้งแรกของทั้ง 2 วงดังกล่าว และยังมีสมาชิกบางส่วนของวงเฉลียงซึ่งเป็นเจ้าของเพลงที่นำมาสร้างละครเวทีเรื่องนี้มาร่วมแสดงด้วย นำแสดงโดย กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ/อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ (Double Cast), แอวิน แพทริค เพนนอร์ส, ภัทร์ไพบูลย์ โอภาสสุวรรณ, มาริสา ฮิวส์/แฮนน่า โรเซ็นบรูม (Double Cast), ฐาปนา จงกลรัตนาภรณ์, โจริญ คัมภีรพันธุ์, ทิพานัน นิลสยาม, เบญญาภา อุ่นจิตร, ณัฐธยาน์ บุตรธุระ, เดชาธร วรรณวานิชกุล, ภูษิต ไล้ทอง, วัชระ ปานเอี่ยม, อัญชุลีอร บัวแก้ว และ มงคล สะอาดบุญญพัฒน์ เป็นต้น มีกำหนดจัดการแสดงในวันที่ 19 - 21 (อ๊ะอายและจัสมินแสดง) และ 26 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (มายด์และแฮนน่าแสดง) จำนวน 10 รอบ[5]

นักแสดง

แก้
ตัวละคร ปี
ชื่อ เพลง พ.ศ. 2559 - 2560 พ.ศ. 2567
พันหนึ่ง อนุสรณ์ มณีเทศ แอวิน แพทริค เพนนอร์ส
พระจันทร์ พระจันทร์ สาธิดา พรหมพิริยะ กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ
อาทิตยา ตรีบุดารักษ์
ชนะลม พัดลม กรกันต์ สุทธิโกเศศ ฐาปนา จงกลรัตนาภรณ์
แสนเก้า วีรคณิศร์ กานต์วัฒนกุล ภัทร์ไพบูลย์ โอภาสสุวรรณ
ปุยปุย รู้สึกสบายดี กานดา วิทยานุภาพยืนยง โจริญ คัมภีรพันธุ์
พายอาร์ ศิรภัสรา สินตระการผล มาริสา ฮิวส์
แฮนน่า โรเซ็นบรูม
ชายตาบอด ต้นชบากับคนตาบอด ศรัทธา ศรัทธาทิพย์ วัชระ ปานเอี่ยม
ยับยับ ง่าย ๆ ปวันรัตน์ นาคสุริยะ อัญชุลีอร บัวแก้ว
ชายนิรนาม สุธีรัชต์ ชาญนุกูล ธานี พูนสุวรรณ
หัวเต่ง แบ-กบาล มงคล สะอาดบุญญพัฒน์
344 กล้วยไข่ กรณิศ เล้าสุบินประเสริฐ ศลินา เพ็ชรอินทร์
9555 ณัฐภัทร พิชยานนท์
พระจันทร์เด็ก ณฐมน อรุณประสบสุข
50 50 ศรัณย์ ทองปาน ภูษิต ไล้ทอง
เตือนตะวัน เอกเขนก ชยาพงศ์ สุวรรณน้อย เดชาธร วรรณวานิชกุล
ไข่เจียว นายไข่เจียว ทวีศักดิ์ เพ็ชรปราณีนุกูล
ฟูฟู นายไข่เจียว เบญญาภา อุ่นจิตร
เนิบเนิบ ยังคงเอกเขนก ณัฐธยาน์ บุตรธุระ
หวาน หวาน ทิพานัน นิลสยาม

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ครบรส ฮา ดราม่า "สังข์" ส่ง "นิทานหิ่งห้อยฯ" ร้องเพลงเฉลียง". ผู้จัดการออนไลน์. 17 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2024.
  2. "นิทานหิ่งห้อย เดอะ มิวสิคัล ละครร้องเพลงเฉลียง". สยามโซน.คอม. 29 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2024.
  3. "เพื่อถวายความอาลัย ละครเวที-คอนเสิร์ต ประกาศเลื่อนการแสดงไม่มีกำหนด". มติชน. 13 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2024.
  4. ""นิทานหิ่งห้อยฯ"ละครเวทีแห่งปี เปิด 9 รอบแสดงใหม่". ผู้จัดการออนไลน์. 31 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2024.
  5. ""4EVE" และ "ATLAS" ชิมลางละครเวที "นิทานหิ่งห้อย เดอะมิวสิคัล"". ไทยรัฐ. 22 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้