นาดาร์ (อังกฤษ: Nadar) หรือ กัสปาร์ด-เฟลิกซ์ ตูร์นาคง (ฝรั่งเศส: Gaspard-Félix Tournachon) (6 เมษายน พ.ศ. 236321 มีนาคม พ.ศ. 2453) เป็นนักถ่ายภาพชาวฝรั่งเศส ซึ่งไม่ได้เป็นที่รู้จักเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพเท่านั้น เขายังเป็นที่รู้จักในพรสวรรค์ของเขาในด้าน นักวารสาร นักแต่งนวนิยาย นักประดิษฐ์บอลลูน และนักสังคม แม้ว่าเขาจะต่ำต้อยแต่เขาก็ก้าวสู่ระดับของสังคมที่สูงขึ้นได้

Nadar (self-portrait)

ประวัติ

แก้
 
The son of Nadar, photographed with members of the Second Japanese Embassy to Europe in 1863. Photographed by Nadar

กัสปาร์ด ฟีลิซ ทัวนาคอน เกิดเมื่อวันที่ (6 เมษายน ค.ศ.1820 ที่เมืองLyon ปารีส ประเทศฝรั่งเศส และเสียชีวิตในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1910)

ปี 1838 บ้านของเขาได้ล้มละลาย เขาจึงเริ่มเขียนภาพการ์ตูนประกอบคำบรรยายเป็นเรื่องและลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เขาใช้นามแฝงว่า "Nadar"

ในปี 1842 นาดาร์ตั้งถิ่นฐานในกรุงปารีสและเริ่มที่จะขายภาพล้อเลียนแก่นิตยสารตลก

ในปี 1853 นาดาร์ได้เปิดร้านถ่ายภาพขึ้นในกรุงปารีส โดยร่วมงานกับน้องชายของเขา ตอนแรกนาด้าร์ได้ถ่ายภาพด้วยกระบวนการดาแกโรไทป์ แต่เมื่อมีกระบวนการกระจกเปียกเข้ามา เขาจึงได้เปลี่ยนมาให้กระบวนการใหม่ทันที และก็เป็นที่นิยมของบุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นมาก ร้านถ่ายภาพของเขาจึงได้กลายเป็นเขตของท้องถิ่นและเป็นสถานที่ประชุมซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มคนในปารีส

ในปี 1856 นาด้าร์ได้ถ่ายภาพบนบอลลูนครั้งแรก เขาได้สร้างบอลลูนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และตั้งชื่อว่า “The Giant” โดยนำกล้องถ่ายภาพขึ้นไป การถ่ายภาพจากบอลลูนเป็นการถ่ายภาพแนวใหม่ที่เรียกร้องความสนใจได้มาก

ในปี 1855 เขามีความคิดที่จะใช้ภาพถ่ายบนอากาศ เพื่อใช้ทำแผนที่และการสำรวจ อย่างไรก็ตาม มันยังไม่สำเร็จ จนกระทั่งปี 1858 เขาสามารถถ่ายภาพจากบนอากาศได้สำเร็จ เป็นภาพแรกของโลกจากบอลลูน

ในปี 1858 ความอยากรู้อยากเห็นของเขาทำให้เขาออกจากโรงถ่ายและหันไปถ่ายรูปที่โพรงใต้ดิน ซึ่งเขาเป็น 1 ใน กลุ่มคนแรก ๆ ที่ถ่ายรูปโดยใช้แสงที่สร้างขึ้นเอง ในครั้งหนึ่งขณะที่กำลังถ่ายภาพบนบอลลูน บอลลูนได้เกิดชำรุดขึ้น ทำให้บอลลูนลอยไปตกที่ประเทศเยอรมนี แต่เขาไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ทำให้นาด้าร์มีความคิดที่จะจัดกิจการโดยสารด้วยบอลลูน เขาได้จัดตั้งสายการบินเพื่อรับส่งผู้คนจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง แต่กิจการของเขาไม่สำเร็จ นาด้าร์จึงหันกลับมาเขียนหนังสือและได้เลิกกิจการถ่ายภาพ ส่วนด้านธุรกิจเขายกให้ลูกชายเป็นคนดำเนินกิจการต่อไป

กระบวนการถ่ายภาพบนบอลลูน

แก้

นาด้าร์ ถ่ายด้วยกระบวนการกระบวนการกระจกเปียก ซึ่งต้องทำเพลทให้เสร็จภายใน 20 นาที และถ่ายก่อนแพลทแห้ง นาด้าร์จึงมีมืดในตะกร้าใต้ลูกบอลลูน นาด้าร์ได้เขียนเล่าไว้ว่า "ภายใต้ลูกบอลลูน เราทำกระโจมผ้าใบเล็ก ๆ ไว้หลังหนึ่ง ข้างในมืดสนิทปราศจากแสงใด ๆ มารบกวน นอกจากแสงสีเหลืองเข้มจากกระจกเล็ก ๆ ที่ทำไว้ให้เลื่อนได้เมื่อต้องการ ข้างในค่อนข้างร้อน แต่กระจกเคลือบน้ำยาและเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เย็นดี เพราะว่าแช่อยู่ในน้ำแข็ง" หลังจากถ่ายผู้ช่วยที่พื้นดินดึงเชือกกลับมา เพื่อล้างเพลท

ภาพผลงาน

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้