นพปฎลมหาเศวตฉัตร

เป็นฉัตร 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ทรงรับพระราชพิธีบรมราชภิเษกตามโบราณราชประเพณีแล้

นพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นสิ่งที่พิจารณาว่าเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทยที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เป็นฉัตรขาวจำนวน 9 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์ที่ผ่านพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ไม่สามารถประทับภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตรได้จนกว่าทรงรับน้ำอภิเษกและประธานพระครูพราหมณ์น้อมเกล้าฯ ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร[1]

นพปฎลมหาเศวตฉัตรเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระบรมมหาราชวัง
นพปฎลมหาเศวตฉัตรเหนือพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพระบรมโกศที่สนามหลวง (2560)

รายละเอียด

แก้

ฉัตรทำมาจากผ้าไหมขาวที่เย็บด้วยด้ายทอง มักกางกั้นเหนือพระราชอาสน์ที่สำคัญในพระบรมมหาราชวัง (คล้ายกับเบญจาคริสต์) ตัวฉัตรเองถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และถูกถวายให้แก่กษัตริย์ในวันครบรอบวันบรมราชาภิเษก ปัจจุบันมีอยู่ 9 องค์ โดยหกองค์อยู่ในพระบรมมหาราชวัง สององค์อยู่ในพระราชวังดุสิต และหนึ่งองค์อยู่ในพระราชวังบางปะอิน[2] ความเชื่อนี้มาจากศาสนาฮินดูโบราณว่า ตัวฉัตรแสดงถึงการปกป้องกษัตริย์ทั้งรูปธรรมและนามธรรม การมีหลายชั้นสื่อถึงการสั่งสมพระเกียรติยศและพระบุญญาธิการแห่งพระบรมราชอิสริยยศ[3] ในระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประธานพระครูพราหมณ์น้อมเกล้าฯ ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต่พระบวรเศวตรฉัตร ภายหลังทรงรับน้ำอภิเษกแล้ว พระมหากษัตริย์ทรงรับและพระราชทานให้มหาดเล็ก จากนั้นจึงทรงเสด็จไปประทับ ณ พระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตรฉัตร ประธานพระครูพราหมณ์กล่าวเวทสรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาส จบแล้วทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศต่อไป[4]

ในวันครบรอบวันบรมราชาภิเษก จะมีวันสำคัญที่มีชื่อว่า วันฉัตรมงคล ซึ่งเป็นวันที่พระมหากษัตริย์ทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตรฉัตร โดยจะกระทำ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โดยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม

ที่ตั้ง

แก้

ปัจจุบันมีนพปฎลมหาเศวตฉัตรกางกั้นโดยตลอดอยู่ 9 องค์ โดยหกองค์อยู่ในพระบรมมหาราชวัง สององค์อยู่ในพระราชวังดุสิต และหนึ่งองค์อยู่ในพระราชวังบางปะอิน[5]

  1. พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง เหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์
  2. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบรมมหาราชวัง เหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ
  3. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระบรมมหาราชวัง เหนือพระแท่นราชบรรจถรณ์
  4. พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระบรมมหาราชวัง เหนือพระเครื่องพระสำอาง
  5. พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เหนือพระแท่นราชบัลลังก์ประดับมุก
  6. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เหนือพระที่นั่งพุดตานถม
  7. พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต เหนือพระแท่นราชบัลลังก์
  8. พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เหนือพระที่นั่งกง
  9. พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน เหนือพระแท่นราชบัลลังก์

นอกจากนี้ยังมีการการกั้นเหนือพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตราธิราชเจ้า ณ ปราสาทพระเทพบิดร และเหนือพระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ณ พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม รวมทั้งการกางกั้นเหนือพระพุทธรูปสำคัญที่พระมหากษัตริย์ทรงถวายเป็นพุทธบูชา

ภาพ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
อ้างอิง
บรรณานุกรม
  • Quaritch Wales, H. G. (1931), Siamese State Ceremonies: Their History and Function, London, United Kingdom: Routledge, ISBN 0853880077

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้