เมืองแพร่ เป็นประเทศราชของราชวงศ์โก้นบองโดยแยกตัวออกมาจากการปกครองของเชียงใหม่ ภายหลังตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์

เมืองแพร่[1]

นครแพร่
พ.ศ. 2270–พ.ศ. 2442
  อาณาเขตนครแพร่
สถานะนครรัฐเอกราชโดยพฤตินัย (2270-2300)

ประเทศราชของราชวงศ์โก้นบอง (2300[2]-2314)

ประเทศราชของอาณาจักรธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (2314-2442)
เมืองหลวงนครแพร่
ภาษาทั่วไปคำเมือง
ศาสนา
ศาสนาพุทธ (เถรวาท)
การปกครองราชาธิปไตย
เจ้าผู้ครองนคร 
• ก่อน พ.ศ. 2309-2330
พระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย)
• พ.ศ. 2330–2445
ราชวงศ์แสนซ้าย
ประวัติศาสตร์ 
• พม่าสิ้นอิทธิพลจากดินแดนล้านนาตอนล่าง
พ.ศ. 2270
• สวามิภักดิ์ต่อสยาม
พ.ศ. 2314
พ.ศ. 2442
สกุลเงินรูปี[3]
ก่อนหน้า
ถัดไป
2270:
หัวเมืองเชียงใหม่
2442:
มณฑลลาวเฉียง
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

ประวัติ

แก้

การก่อตัวของรัฐ

แก้

ในปี พ.ศ. 2270/2271 (จ.ศ. 1089) กบฏตนบุญเทพสิงห์โค่นล้มผู้ปกครองพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ทำให้เกิดสภาวะสุญญากาศทางการเมืองในดินแดนล้านนาตอนล่าง แม้ว่าพม่าพยายามที่จะย้ายศูนย์กลางการปกครองไปยังเชียงแสน[4] แต่หัวเมืองล้านนาตอนล่างต่างแยกตัวเป็นอิสระและปกครองตนเองในลักษณะเดียวกับชุมนุมต่าง ๆ หลังเสียกรุงครั้งที่ 2[5] ในขณะที่เมืองเชียงใหม่ นครลำพูน และนครลำปางต่างเปิดศึกทำสงครามกับเมืองข้างเคียง นครแพร่ได้สั่งสมฐานอำนาจในการคุ้มครองตนเอง ทำให้เมื่อเกิดการชิงอำนาจภายในนครลำปางระหว่างเจ้าฟ้าหลวงชายแก้วและท้าวลิ้นก่าน เจ้าฟ้าหลวงชายแก้วทรงขอความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองแพร่แลกกับการเป็นไมตรีต่อกันในภายภาคหน้า[6]

ต่อมาราชวงศ์โก้นบองสามารถรวบรวมอาณาจักรพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2300 และทำให้นครต่าง ๆ ในดินแดนล้านนาต่างส่งบรรณาการมาสวามิภักดิ์[2] ในปี พ.ศ. 2306 กองทัพพม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงตั้งตัวเป็นอิสระอยู่ พร้อมทั้งปราบปรามหัวเมืองอื่น ๆ ในล้านนา แต่ผู้ปกครองพม่าไม่สามารถควบคุมเมืองต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์[5] นครแพร่ร่วมกับเมืองต่าง ๆ ก่อกบฏต่อพม่า จนกระทั่งถูกปราบลงในปี พ.ศ. 2309[7] ในช่วงเดียวกัน พระเมืองไชย เจ้าเมืองแพร่ซึ่งนำทัพนครแพร่ลงไปร่วมรบในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองตัดสินใจขัดคำสั่งพม่าและยกทัพกลับนครแพร่ ต่อมาพระเมืองไชยเข้าร่วมกับชุมนุมเจ้าพระฝาง[8] หลังจากชุมนุมเจ้าพระฝางแตก พระเมืองไชยเข้าสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรธนบุรีในสงครามเชียงใหม่ พ.ศ. 2314 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยาศรีสุริยวงศ์

นครแพร่ในฐานะประเทศราชของสยาม

แก้

หลังจากได้รับสถานะประเทศราชของสยาม นครแพร่ร่วมมือกับนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครน่านขยายอำนาจสู่ดินแดนของเชียงแสนซึ่งยังคงถูกปกครองโดยพม่า จนในที่สุดก็สามารถทำลายเมืองเชียงแสนได้ในปี พ.ศ. 2347 นครแพร่ร่วมมือกับนครเชียงใหม่และนครน่านขยายอำนาจขึ้นสู่กลุ่มนครรัฐไทลื้อและเชียงรุ่งเป็นลำดับถัดไป นอกจากนี้ นครแพร่ยังร่วมกับฝ่ายสยามในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์[9] และทำสงครามเชียงตุง เนื่องจากอาณาเขตนครแพร่ถูกล้อมรอบด้วยรัฐพันธมิตรทำให้ไม่สามารถขยายดินแดนได้ นครแพร่จึงใช้วิธีกวาดต้อนผู้คนจากเมืองที่ตีได้มาฟื้นฟูบ้านเมืองแทน[5]

ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 สยามเริ่มได้รับผลกระทบจากการขยายอำนาจของชาติตะวันตก สยามจึงเร่งผนวกประเทศราชต่าง ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ในปี พ.ศ. 2442 สยามประกาศจัดตั้งมณฑลลาวเฉียง ทำให้สถานะประเทศราชของนครแพร่สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม เจ้าผู้ครองนครแพร่ยังคงมีตำแหน่งเจ้าต่อไปและมีอำนาจในการปกครองบางส่วนในเขตของนครแพร่[5]

 
อาณาเขตของนครแพร่ (ซ้ายล่าง) โดยเฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ เจ้ากรมราชโลหกิจและภูมิวิทยาของสยาม ระหว่าง พ.ศ. 2438-2439[10]

การล่มสลาย

แก้

ในรัชสมัยเจ้าพิริยเทพวงษ์ ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในนครแพร่ โดยพวกไทใหญ่หรือเงี้ยวได้ทำการก่อจลาจลเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เจ้าหลวงนครแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน พระองค์จึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบางในสหภาพอินโดจีน และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455 แม้จนสุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าหลวงถึงจะทรงพิโรธการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงนครแพร่อย่างไรพระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจ คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้ จึงถือเป็นการสิ้นสุดเจ้าผู้ครองนครแพร่

รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง

แก้

การปกครอง

แก้

การปกครองในสมัยนครแพร่ในรัชสมัยราชวงศ์แสนซ้าย แม้นครแพร่และล้านนาจะเป็นประเทศราชของสยาม แต่สยามก็ไม่เคยเข้ามาปกครองล้านนาโดยตรง เมืองต่าง ๆ ของล้านนายังคงปกครองตนเองในลักษณะนครรัฐ รวมทั้งระยะทางที่ห่างไกลและยากลำบากจากกรุงเทพฯ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนาและสยามไม่ได้ใกล้ชิดนัก อีกทั้งในภาคเหนือ ยังมีเทือกเขา ทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ ยอดเขาแต่ละแห่งสูงไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองต่าง ๆ ในล้านนา ไม่สะดวกนัก นครแพร่จึงมีอำนาจในการปกครองตนเอง เจ้านครประเทศราชออกกฎหมายภายในนครของตนเอง โดยมีลำดับขั้นในการบริหารในนครประเทศราชต่าง ๆ มีสามขั้น ได้แก่

  1. เจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ
  2. เค้าสนาม (สภาขุนนาง)
  3. นายบ้าน (หัวหน้าหมู่บ้าน)

เจ้าห้าขัน

แก้

การปกครองเจ้าห้าขัน หรือ เจ้าขันห้าใบ เป็นระบบการปกครองแบบคณาธิปไตย เป็นกลุ่มผู้ปกครองสูงสุด ประกอบด้วยเจ้าหลวงของนครประเทศราชนั้น ๆ เป็นประมุข และเจ้าอื่น ๆ อีก 4 ตำแหน่ง โดยเจ้าห้าขัน เป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ที่มีอำนาจและอิทธิพลสูง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การสืบตำแหน่งเจ้าห้าขันนั้น จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในวงศ์ตระกูลของเจ้านาย จะต้องเป็นเชื้อสายเจ้านายสำคัญ มีอิทธิพล มั่งคั่ง มีข้าทาสบริวารจำนวนมาก เป็นที่เคารพนับถือของราษฎร และมีราชสำนักสยามเป็นผู้รับรองการแต่งตั้ง แต่ในนครแพร่เจ้าขันห้าใบจะมีบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระยา และเจ้านายในตำแหน่งรองลงไปมีบรรดาศักดิ์เป็นพระ ต่อมามีการยกเจ้าผู้ครองนครแพร่ขึ้นเป็นเจ้า แต่ก็เป็นการยกขึ้นเฉพาะองค์ไม่ได้ยกขึ้นเป็นเจ้าทั้งหมดแบบนครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน และนครน่าน

เจ้าขันห้า มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ได้แก่

  1. พระยานคร (เจ้าหลวง) ศักดินา 8,000 ไร่ ต่อมามีเลื่อนเฉพาะองค์ขึ้นเป็นเจ้านคร คือ เจ้าพิริยเทพวงษ์ ศักดินา 10,000 ไร่
  2. พระยาอุปราช (พระยาหอหน้า) ศักดินา 3,000 ไร่
  3. พระยาราชวงศ์ (พระยาราชวงศาธิราชลือไชย) ศักดินา 2,500 ไร่
  4. พระยาบุรีรัตน์ (พระยารัตนหัวเมืองแก้ว หรือ พระยาหอหลัง) ศักดินา 2,000 ไร่
  5. พระยาราชบุตร ศักดินา 2,000 ไร่

เจ้าระดับรองลงมามีบรรดาศักดิ์เป็นพระ ได้แก่

  1. พระสุริยะจางวาง ศักดินา 1,000 ไร่
  2. พระอุตรการโกศล ศักดินา 1,000 ไร่
  3. พระไชยสงคราม ศักดินา 1,000 ไร่
  4. พระเมืองราชา ศักดินา 1,000 ไร่
  5. พระเมืองไชย ศักดินา 1,000 ไร่
  6. พระเมืองแก่น ศักดินา 1,000 ไร่
  7. พระอินทราชา ศักดินา 1,000 ไร่
  8. พระจันทราชา ศักดินา 1,000 ไร่
  9. พระภิไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
  10. พระวิไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
  11. พระไชยราชา ศักดินา 1,000 ไร่
  12. พระวังขวา ศักดินา 1,000 ไร่
  13. พระวังซ้าย ศักดินา 1,000 ไร่
  14. พระวังขวา ศักดินา 1,000 ไร่
  15. พระคำลือ ศักดินา 1,000 ไร่
  16. พระถาง ศักดินา 1,000 ไร่[11]

เค้าสนามหลวง

แก้

โครงสร้างทางการเมืองที่รองจากเจ้าห้าขัน คือ เค้าสนามหลวง หรือ ที่ประชุมเสนาอำมาตย์ เป็นหน่วยบริหารราชการ มักเป็นเจ้านายชั้นรองและขุนนางที่แต่งตั้งโดยเจ้าห้าขัน มีหน้าที่ตัดสินคดีความ จัดเก็บภาษี และต้อนรับแขกเมือง กลุ่มขุนนางที่เข้ารับราชการซึ่งมีตำแหน่งเป็น พญา ท้าว แสน ประกอบด้วยสมาชิก 12 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังต่อไปนี้

กลุ่มเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานทั่วทั้งเมือง มี 4 ตำแหน่ง เรียกว่า พ่อเมืองทั้ง 4 ได้แก่

  • พระยาแสนหลวง
  • พระยาจ่าบ้าน
  • พระยาสามล้าน
  • พระยาเหล็กชาย (อาจเรียกว่า พญาเด็กชาย)

โดยผู้ที่ได้รับตำแหน่งพ่อเมืองมีชื่อแตกต่างกันตามนามที่เจ้าหลวงตั้งให้และอาจมีคำนำหน้าเป็นท้าว พญา หรือแสนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ชื่อของพระยาแสนหลวงจะมีคำว่าหลวงอยู่ด้วยเสมอเช่น แสนหลวงธนันไชย, ท้าวหลวงเมืองแพร่ พระยาหลวงคำพิมเมือง สำหรับพ่อเมืองในตำแหน่งอื่น ๆ อีกสามตำแหน่งนั้นไม่มีคำว่าหลวงนำหน้าเช่น พระยาไชยประเสริฐ แสนรามไชย พระยาแขก พระยาขัตติยะ พระยาอินทประสงค์ เป็นต้น

กลุ่มเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเฉพาะทั่วไป มี 8 ตำแหน่ง เรียกว่า เสนาทั้ง 8 ได้แก่

  • แสนหนังสือ
  • ท้าวหมื่นวัดใหญ่
  • พระยาหัวเมืองแก้ว

ซึ่งสามารถค้นพบเพียง 3 ตำแหน่งเท่านั้นส่วนตำแหน่งอื่น ๆ พบแต่ชื่อไม่สามารถที่จะระบุตำแหน่งได้ ตัวอย่างของเสนาทั้ง 8 เช่น แสนอินทปัญญา แสนเทพสมศักดิ์ แสนจิตปัญญา แสนเสมอใจ ท้าวไชยยาวุธ ท้าวแสนพิง พระยาวังใน พระยาเมืองมูล พระยาสุพอาษา เป็นต้น [12]

หมู่บ้าน

แก้

โครงสร้างระดับล่าง คือ หมู่บ้าน ในเมืองต่าง ๆ ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง มากบ้าง น้อยบ้าง ตามขนาดของเมือง การปกครองระดับหมู่บ้านมีความสำคัญมาก เพราะหมู่บ้านเป็นหน่วยการผลิตที่แท้จริงที่เลี้ยงดูเมืองและชนชั้นปกครอง ในแต่ละหมู่บ้าน มีผู้ปกครองเป็น ซึ่งผู้ปกครองหมู่บ้านมีตำแหน่งเป็น จ่า, หมื่น, แสน และ พญา[13] อาจขึ้นตรงต่อเจ้านายองค์ใดองค์หนึ่งหรือเค้าสนาม นายบ้านทำหน้าที่ปกครองดูแลหมู่บ้านและเป็นตัวกลางระหว่างเจ้านายกับชาวบ้านในการเรียกเกณฑ์กำลังคน เมื่อมีคำสั่ง (อาดยา) จากเจ้านาย ซึ่งเป็นการเกณฑ์ไปเพื่อทำงาน หรือทำสงคราม ตลอดจนรวบรวมผลผลิตเพื่อส่งส่วยให้กับเจ้านาย ดูแลความสงบในพื้นที่ ตลอดจนตัดสินคดีความเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือระหว่างหมู่บ้าน ในพื้นที่ห่างไกล[14]

ศาสนา

แก้

ในนครแพร่ และนครประเทศราชล้านนา มีศาสนาหลักที่ประชาชนทั่วไปนับถือคือพุทธศาสนา นอกจากพุทธศาสนาแล้วประชาชนยังนับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อแต่โบราณของดินแดนแถบนี้ เป็นการแสดงความยำเกรงและเคารพ ต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

พุทธศาสนาในล้านนาถือว่ามีความแข็มแข็งมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากเจ้านายล้านนา ที่โปรดการสร้างสมบุญบารมีด้วยการทำนุบำรุงศาสนาอย่างมาหมาย การทำนุบำรุงศาสนาไม่เพียงแต่แสดงถึงศรัทธาในศาสนาของเจ้านายและไพร่พลในบ้านเมือง ยังแสดงให้เห็นถึงความเข็มแข็งทางการเมืองและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของบ้านเมือง

หัวเมืองนครล้านนานั้น มีสังฆมณฑลเป็นของตนเองแยกจากพระนครกรุงเทพฯ มี พระสังฆราชา เป็นประมุข รองมาคือ สวามีสังฆราชา, มหาราชครู และ ราชครู

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "จารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทิศเหนือ (เมืองแพร่ เมืองสรอง เมืองแสนหลวง)". ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย. 12 March 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-04. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
  2. 2.0 2.1 Harvey, Godfrey Eric (1925). History of Burma: from the Earliest Times to 10 March, 1824: The Beginning of the English Conquest. United Kingdom: Longmans, Green and Company. p. 241. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
  3. "ทำไม "รูปีอินเดีย" จึงนิยมใช้ในล้านนา และเป็นเงินสกุลสำคัญของเศรษฐกิจ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  4. อ๋องสกุล, สรัสวดี (2003). เอียวศรีวงศ์, นิธิ (บ.ก.). พื้นเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. p. 170. ISBN 9742726612.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 อินปาต๊ะ, บริพัตร (2017). การฟื้นฟูรัฐน่านในสมัยราชวงศ์หลวงติ๋น พ.ศ. 2329-2442 (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 27, 30, 80, 202. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-04-19. สืบค้นเมื่อ 2024-04-11.
  6. สำนักนายกรัฐมนตรี, คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, บ.ก. (1971), ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ [Tamnan Phuen Mueang Chiang Mai] (PDF), แปลโดย โชติสุขรัตน์, สงวน, พระนคร: สำนักนายกรัฐมนตรี, p. 89, สืบค้นเมื่อ 2024-04-11
  7. โบราณคดีสโมสร, บ.ก. (1919), "ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน" [Ratchawongsapakon Phongsawadan Mueang Nan], ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๐ [Collection of Historical Archives] (PDF), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
  8. มหาดเล็ก, นายสวน (1927), หอพระสมุดวชิรญาณ (บ.ก.), โคลงยอพระเกียรดิพระเจ้ากรุงธนบุรี [Khlong Eulogising the King of Thon Buri] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, p. 11, สืบค้นเมื่อ 2024-04-14
  9. แก้วศรี, ทรงวิทย์; วีระประจักษ์, ก่องแก้ว, บ.ก. (1987), จดหมายเหตุ รัชกาลที่ ๓ เล่ม ๓ (PDF), กรุงเทพฯ: รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, pp. 131–132, ISBN 974-7912-02-3, สืบค้นเมื่อ 2024-05-12
  10. สมิธ, เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน (2019) [1898], ห้าปีในสยาม [Five Years in Siam] (PDF), vol. 1, แปลโดย กีชานนท์, เสาวลักษณ์ (2nd ed.), กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, สืบค้นเมื่อ 2024-05-11
  11. ภูเดช แสนสา .ศักดิ์หัวเมืองในล้านนายุคราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน(ทิพจักราธิวงศ์) ช่วงเป็นประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ - ๒๔๔๒
  12. อำเภอเมืองแพร่ .ระเบียบการปกครองภายในเมืองแพร่
  13. รัตนาพร เศรษฐกุล และคณะ. การสำรวจทางชาติพันธุ์ของชนเผ่าไทในลุ่มแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่. หน้า 50.
  14. U.K., Journal Kept by Captain Lowndes, Superintendent of Police. British Burmah. Whilst on Mission to the Zimme Court. F.O. 69/55. 27 March 1871.