ธวัชชัย ไทยเขียว
นายธวัชชัย ไทยเขียว กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว, คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม, อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และอดีตโฆษกกระทรวงยุติธรรม[1][2] พ.ศ.๒๕๖๔ คณะกรรมการกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ, ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ประจำกระทรวงยุติธรรม
ธวัชชัย ไทยเขียว | |
---|---|
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
โฆษกกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 19 มกราคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 จังหวัดชัยนาท |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางเบญจพร ไทยเขียว |
ประวัติ
แก้นายธวัชชัย ไทยเขียว เกิดเมื่อวันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ที่ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรของนายสุเทพ กับนางชิ้น ไทยเขียว ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางเบญจพร ไทยเขียว มีบุตรชาย 2 คนคือ นายชัชชล และนายยิ่งคุณ ไทยเขียว
การศึกษา
แก้- ป.7 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
- ม.ศ.3 โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
- ป.กศ.ต้น วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์
- ป.กศ.สูง (สังคมศึกษา) วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์
- กศ.บ. (สังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- สค.ม. (อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม) มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 4
- รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
การอบรม
แก้- ผู้บริหารสถานการศึกษาระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ รุ่นที่ 13
- ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง /Chief Information Officer : CIO รุ่นที่ 15
- ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 9 (บยส.9) สำนักงานศาลยุติธรรม
- นักบริหารระดับสูง สำนักงาน กพ. นบส.1 รุ่นที่ 37
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 51
- การพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 2 (พตส.2) คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 16 (ปปร.16) สถาบันพระปกเกล้า
- นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 5 ปปช.
การรับราชการ
แก้- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 เข้ารับราชการในตำแหน่งพนักงานคุมประพฤติ
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาระบบงานศาล
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม คณะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการพิจารณาจัดระเบียบกระทรวงยุติธรรม
- 8 มิถุนายน พ.ศ. 2544 รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลตุลาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
- 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน[3]
- พ.ศ. 2546 รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ
- พ.ศ. 2547 รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
- พ.ศ. 2551 อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน[4]
- พ.ศ. 2555 รองปลัดกระทรวงยุติธรรม[5]
- พ.ศ. 2561 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว[6]
ภาคเอกชน
แก้- เจ้าหน้าที่กำกับการซื้อขายตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ
- ผู้ก่อตั้งกลุ่มผู้นำเยาวชนอาสาสมัครเพื่อสังคม (กยอ.)
รางวัล
แก้- ข้าราชการดีเด่นกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2554
- รางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณด้านการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาผู้ติดยาเสพติด จากพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2550
- รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประเภทบริหาร สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2551
- บุคคลดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและการคุ้มครองสิทธิสตรี ประเภทบุคลากรภาครัฐเนื่องในวันสตรีสากล พ.ศ. 2554
- รางวัลบุคคลผู้มีผลงานด้านบริหารจัดการและพัฒนานโยบายการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติด “ธัญญารักษ์อวอร์ด ยอดเยี่ยม ประจำปี 2554” สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- รางวัลระหว่างประเทศ “International Juvenile Justice without Boarders Award” ในฐานบุคคลที่มีความโดดเด่นในการพัฒนาเครื่องมือจำแนกเพื่อค้นหาสาเหตุปัจจัยเสี่ยงและจำเป็นในการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน ในการจัดประชุมของกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชนไม่มีพรมแดน รางวัลนานาชาติ (International Juvenile Justice Observatory : IJJO) สหราชอาณาจักร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติและผลงาน[ลิงก์เสีย] นายธวัชชัย ไทยเขียว
- ↑ [http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99317730&key_word=%B8%C7%D1%AA%AA%D1%C2%20%E4%B7%C2%E0%A2%D5%C2%C7&owner_dep=&meet_date_dd=&meet_date_mm=&meet_date_yyyy=&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=&meet_date_mm2=&meet_date_yyyy2= การแต่งตั้งโฆษกกระทรวง/หน่วยงาน] สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ http://www.notforsale.in.th/autopagev4/show_page.php?topic_id=230&auto_id=1&TopicPk[ลิงก์เสีย]
- ↑ “ธวัชชัย ไทยเขียว” ผงาดนั่งเก้าอี้อธิบดีคุมกรมพินิจฯ" ผู้จัดการออนไลน์
- ↑ การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/002/T_0008.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๑๑, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๘, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔