ธรรมทาน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ธรรมทาน หมายถึงการให้อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัตถุสิ่งของ เช่น การให้ความรู้ ให้อภัย ให้สติ ให้ข้อคิด เป็นต้น
แบ่งออกเป็น
แก้- เป็นความรู้ทางโลก เช่น ให้ศิลปวิทยาการต่าง ๆ เรียกว่า วิทยาทาน
- เป็นความรู้ทางธรรม เช่น สอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ทำใจให้ผ่องใส เรียกว่า ธรรมทาน
การให้ธรรมะเป็นทาน ถือว่าเป็นการให้ทานที่ได้บุญสูงสุด มีคุณค่ากว่าการให้ทานทั้งปวง เพราะทำให้ผู้รับมีปัญญารู้เท่าทันกิเลส สามารถนำไปใช้ได้ไม่รู้จักจบสิ้น ทั้งชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป ส่วนทานชนิดอื่น ๆ ผู้รับได้รับแล้วไม่ช้าก็หมดสิ้นไป ดังพุทธพจน์ที่ว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ทานสูตร
- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ทักขิณาวิภังคสูตร
- พระไตรปิฎก อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปัญจมวรรค ทานสูตรอรรถกถาทานสูตร