ธงชาติเวียดนาม
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ธงชาติเวียดนาม ในปัจจุบันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีชื่อที่เรียกโดยทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า "ธงแดงดาวเหลือง" เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ในฐานะธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (ประเทศเวียดนามเหนือ) และได้กลายเป็นธงชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามและการรวมชาติระหว่างเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้
Cờ đỏ sao vàng ("ธงแดงดาวเหลือง") | |
การใช้ | ธงพลเรือน และ ธงราชการ |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 5 กันยายน พ.ศ. 2488 (เวียดนามเหนือ) 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) |
ลักษณะ | ธงแดงมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองอยู่กลาง |
การใช้ | ธงกองทัพ |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ลักษณะ | ลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่มีข้อความที่มุมธงบนว่า "quyết thắng" ("เด็ดเดี่ยวมุ่งเอาชัย") |
"Hải quân Nhân dân Việt Nam" ("ธงนาวี") | |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 15 มกราคม พ.ศ. 2557 |
ลักษณะ | เป็นผืนธงสีขาว มีตราสัญลักษณ์ของกองทัพเรือเวียดนามกลางผืนธง เหนือแถบสีฟ้าด้านล่างของธง |
ลักษณะของธงชาติเวียดนามนั้นเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตรงกลางมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองทอง สีแดงนั้นหมายถึงการต่อสู้เพื่อกู้เอกราชของชาวเวียดนาม สีเหลืองคือสีของชาวเวียดนาม ส่วนดาวห้าแฉกนั้น เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าหมายถึงชนชั้นต่างๆ ในสังคมเวียดนาม คือ นักปราชญ์ ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้า และทหาร อย่างไรก็ตาม ภายหลังการรวมชาติเวียดนามในปี พ.ศ. 2519 ความหมายในธงได้มีการอธิบายใหม่ในทางการเมืองว่า สีแดงหมายถึงการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และดาวสีทองหมายถึงการชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม[1]
ก่อนหน้านี้ในช่วงปี พ.ศ. 2488 - 2498 ดาวสีเหลืองในธงชาติเวียดนามขณะนั้นมีขนาดที่โตกว่าที่ใช้ในธงแบบปัจจุบัน
ธงนี้ออกแบบครั้งแรกโดยเหวียนฮิ้วเทียน (เวียดนาม: Nguyễn Hữu Tiến) ซึ่งเป็นนักปฏิวัติคอมมิวนิสต์ที่เข้าร่วมการต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 การต่อต้านครั้งนั้นประสบความล้มเหลว เหวียนฮิ้วเทียนจึงถูกจับกุมตัวและถูกประหารชีวิตพร้อมกับผู้นำคนอื่นๆ ที่เข้าร่วมการต่อต้านครั้งนั้นด้วย
การออกแบบ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Scheme | สีแดง | สีเหลือง |
---|---|---|
Pantone | 1788[ต้องการอ้างอิง] | Yellow 116[ต้องการอ้างอิง] |
CMYK | 0.88.88.11[ต้องการอ้างอิง] | 0.0.100.0[ต้องการอ้างอิง] |
RGB | (226,28,28)[ต้องการอ้างอิง] | (255,255,0)[ต้องการอ้างอิง] |
Hex triplet | #E21C1C[ต้องการอ้างอิง] | #FFFF00[ต้องการอ้างอิง] |
NCS | S 1085 Y80R[ต้องการอ้างอิง] | S 0570 G70Y[ต้องการอ้างอิง] |
ประวัติ
แก้สมัยจักรวรรดิเวียดนาม
แก้สีเหลืองนับเป็นสีของชาวเวียดนามมาแต่โบราณ ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในประวัติศาสตร์เวียดนามโบราณว่า วีรสตรีตระกูลจึงสองพี่น้องได้ใช้ธงสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านการปกครองของจักรวรรดิจีนราชวงศ์ฮั่นใน พ.ศ. 593 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิซา ล็อง ทรงสถาปนาราชวงศ์เหวียนแล้ว ได้ทรงเลือกใช้ธงสีเหลืองดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของจักรวรรดิเวียดนาม ในช่วงปี พ.ศ. 2345 - พ.ศ. 2363
พ.ศ. 2433 สมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย ได้มีพระราชโองการให้เปลี่ยนธงแบบเดิมที่มีอักษรจีน (จื๋อญอ) ประกอบในธงเป็นธงแบบใหม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นธงสีเหลืองกลางมีแถบริ้วสีแดงสามริ้ว ธงนี้ได้ใช้ในฐานะธงชาติเวียดนามแบบแรกสุดอย่างเป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2463 และนับเป็นธงชาติของคนเวียดนามอย่างแท้จริงธงแรกเช่นกัน เพราะธงนี้ไม่ใช่เป็นแต่เพียงธงของจักรพรรดิดังในอดีตที่ผ่านมา แต่ยังเป็นธงที่สะท้อนถึงแรงบันดาลใจและความหวังของประชาชน ในความเป็นเอกราชและการรวมชาติเวียดนามให้เป็นหนึ่งเดียวอีกด้วย
ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2459 - พ.ศ. 2468 ภายหลังจากการเนรเทศสมเด็จพระจักรพรรดิถั่ญ ท้าย และ สมเด็จพระจักรพรรดิซวี เติน ไปยังทวีปแอฟริกาโดยฝรั่งเศสแล้ว สมเด็จพระจักรพรรดิขาย ดิ่ญ ได้มีพระบรมราชโองการให้เปลี่ยนธงชาติใหม่ โดยยังคงเป็นธงพื้นสีเหลืองเช่นเดิม แต่แถบริ้วสีแดงแนวทั้ง 3 แถบได้เปลี่ยนเป็นแถบสีแดงเพียงหนึ่งเดียว แต่มีความกว้างเท่ากับแถบสีแดงทั้งสามแถบรวมกัน เพื่อสื่อความหมายถึงความเป็นเอกภาพของเวียดนามทั้งสามส่วน คือ เวียดนามเหนือ เวียดนามกลาง และเวียดนามใต้ ธงนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ธงลองตินห์ (“Long Tinh”)
สมัยเวียดนามเหนือ-เวียดนามใต้
แก้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการกู้ชาติเวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ได้รวมรวมเอาดินแดนเวียดนามตอนเหนือและตอนกลางบางส่วน (มณฑลตังเกี๋ยและมณฑลอันนัม) ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส และก่อตั้งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม หรือประเทศเวียดนามเหนือในปี พ.ศ. 2488 ส่วนดินแดนเวียดนามตอนกลางส่วนที่เหลือและเวียดนามใต้ (มณฑลโคชินจีน) ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส และใช้ชื่อประเทศชื่อว่า รัฐเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2489 (ต่อมาหลังการลงนามสนธิสัญญาเจนีวาในปี พ.ศ. 2498 จึงได้รับเอกราชและใช้ชื่อประเทศใหม่ว่า สาธารณรัฐเวียดนาม) ประเทศเวียดนามทั้งสองประเทศต่างมีธงชาติของตนเอง กล่าวคือ เวียดนามเหนือใช้ธงแดงดาวทองเป็นธงชาติ ส่วนเวียดนามใต้คงใช้ธงเหลืองสามริ้วแดงเป็นธงชาติของตนเองต่อไปจนสิ้นสุดสงครามเวียดนาม
สมัยการรวมชาติเวียดนาม
แก้หลังประเทศเวียดนามใต้ยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อขบวนการแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ (หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "เวียดกง") ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 รัฐบาลชั่วคราวของเวียดนามใต้ได้ยกเลิกธงชาติแบบเดิม และหันมาใช้ธงของขบวนการเวียดกงเป็นธงชาติแทนอยู่ระยะหนึ่ง ธงนี้เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดง ครึ่งล่างสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน กลางธงเป็นรูปดาวทอง 5 แฉก และได้ใช้มาจนเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมชาติกันอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 รัฐบาลเวียดนามจึงประการใช้ธงชาติของเวียดนามเหนือเป็นธงชาติเวียดนามตราบจนทุกวันนี้
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Meaning of Vietnam National Flag". Mat Tran To Quoc Viet Nam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-29. สืบค้นเมื่อ 2006-09-24.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ธงชาติเวียดนาม ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- The National Flag of Viet Nam: Its Origin and Legitimacy(ดูในแบบ PDFเก็บถาวร 2005-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)