ธงชาติจีน
ธงชาติจีน ในที่นี้หมายถึงธงประจำชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ธงแดงห้าดาว (จีน: 五星红旗; พินอิน: wǔ xīng hóng qí, อู่ซิงหงฉี) มีต้นแบบมาจากธงชาติจีนที่เจิงเหลียนซง นักเศรษฐศาสตร์และศิลปินชาวรุ่ยอาน ออกแบบและส่งเข้าประกวดต่อสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีน (ซึ่งเป็น 1 ในธง 3,012 แบบที่ส่งเข้าประกวดจากทั่วประเทศ) ภายหลังสภาที่ ปรึกษาทางการเมืองได้ปรับปรุงแบบธงบางประการ และได้ประกาศรับรองแบบธงเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2492 ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการในวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน พร้อมกันนั้น ยังได้มีการประกาศใช้เพลงชาติ และตราสัญลักษณ์ประจำชาติร่วมกันอีกด้วย
Wǔ Xīng Hóng Qí อู่ซิงหงฉี ("ธงแดงห้าดาว") | |
การใช้ | ธงพลเรือน ธงเรือพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 27 กันยายน พ.ศ. 2492[1] |
ลักษณะ | ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงบนด้านต้นธงมีรูปดาวสีเหลือง 5 ดวง ลักษณะเป็นรูปดาวดวงใหญ่ 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวดวงเล็กอีก 4 ดวง. |
ออกแบบโดย | เจิงเหลียนซง |
การใช้ | ธงกองทัพ |
สัดส่วนธง | 2:3 และ 4:5 |
ลักษณะ | ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปดาวสีเหลือง และเส้นตรง 3 เส้น เรียงเป็นอักษรจีนคำว่า "8" และ"1" หมายถึง วันที่ 1 สิงหาคม (เดือน 8) อันเป็นวันก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน. |
การใช้ | ธงนาวี |
สัดส่วนธง | 2:3 และ 4:5 |
ลักษณะ | ธงกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน ตอนล่างเป็นแถบสีน้ำเงิน 3 ริ้ว แถบสีขาว 2 ริ้ว หมายถึงท้องทะเล. |
ลักษณะ
แก้ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นสีแดง ที่มุมธงบนด้านต้นธงมีรูปดาวสีเหลือง 5 ดวง ลักษณะเป็นรูปดาวดวงใหญ่ 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวดวงเล็กอีก 4 ดวง
ประวัติ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
|
การออกแบบ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ไซซ์ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ยาว × กว้าง (ซม.) | 288 × 192 | 240 × 160 | 192 × 128 | 144 × 96 | 96 × 64 | 66 × 44 | 45 × 30 | 30 × 20 | 21 × 14 |
สี
แก้สีของธงชาติระบุไว้ในเอกสาร "GB 12983-2004: ตัวอย่างสีมาตรฐานของธงชาติ" และประกาศใช้โดย Standardization Administration of China สีอยู่ใน CIE Standard illuminant D65 และ CIE 1964 Supplementary Standard Colorimetric System.[2]
ผ้าวัตถุดิบ | Stimulus ValueY10 | ตำแหน่งสี | ค่าประมาณ | ||
---|---|---|---|---|---|
x10 | y10 | ||||
Synthetic fiber | สีแดง | 9.4 | 0.555 | 0.328 | All are |
สีทอง | 41.2 | 0.446 | 0.489 | ||
Silk | สีแดง | 12.3 | 0.565 | 0.325 | |
สีทอง | 32.4 | 0.450 | 0.463 | ||
Cotton cloth | สีแดง | 9.2 | 0.595 | 0.328 | |
สีทอง | 33.0 | 0.467 | 0.463 | ||
Sleeve | สีขาว | 78.0 | – | – | The stimulus value Y10 must not less than 78 |
โทนสี
แก้แดง | ทอง | |
---|---|---|
RGB | 222/41/16 |
255/222/0
|
เลขฐานสิบหก | #de2910 |
#ffde00
|
CMYK | 0/82/93/13 |
0/13/100/0
|
แพนโทน (โดยประมาณ) | 485 C | Yellow C |
ธงในราชการกองทัพ
แก้
|
ความหมาย
แก้- พื้นสีแดง หมายถึง สัญลักษณ์ของการปฏิวัติจีน
- ดวงดาวสีเหลือง 5 ดวง ซึ่งเรียงกันคล้ายกับลักษณะแผนที่ประเทศจีน หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวจีนทั้งประเทศ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน
- ดาวดวงใหญ่ หมายถึง ผู้นำแห่งกิจการงานทั้งปวง ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน
- ดาวดวงเล็ก 4 ดวง มีนัยสำคัญหลายประการ ดังที่เจิงเหลียนซง ผู้ออกแบบธงชาติ ได้อธิบายไว้ดังนี้
- ประชาชนชาวจีนซึ่งขณะนั้นมีราว 400 ล้านคน
- ชนชั้นหลักทั้ง 4 ในสังคม คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นเกษตรกร ชนชั้นนายทุนน้อย (หรือเจ้าของกิจการขนาดเล็ก) และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ
- กำลังสำคัญของประเทศ 4 ฝ่าย ได้แก่ พรรคการเมืองจากมวลชน ประชาชนทุกหมู่เหล่าในสังคม บุคคลจากทุกวงการ ชาวจีนชนเผ่าต่างๆ ทั้ง 56 ชนเผ่าและชาวจีนโพ้นทะเล
- ประวัติศาสตร์ชนชาติจีนอันยาวนานกว่า 4,000 ปี
- สีเหลือง หมายถึง ชาวจีนซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มคนผิวเหลือง และประเทศที่มีดินสีเหลืองเป็นผืนแผ่นดินส่วนใหญ่
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "1949年9月27日 中华人民共和国国旗诞生" [September 27, 1949: the Birth of PRC's Flag] (ภาษาจีน). CPC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 2009-11-04.
- ↑ 2.0 2.1 GB 12983-2004 国旗颜色标准样品 [Standard Color Sample of the National Flag] (ภาษาจีน). Standardization Administration of China. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2009-11-02.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ธงชาติจีน ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- ธงชาติจีน โดย ผู้จัดการออนไลน์
- บิดาแห่งธงชาติจีน โดย ผู้จัดการออนไลน์