ท่าอากาศยานนานาชาติ
ท่าอากาศยานนานาชาติ (อังกฤษ: International airport) เป็นรูปแบบหนึ่งของท่าอากาศยานที่มีการตรวจคนเข้าเมืองและด่านศุลกากรเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ ท่าอากาศยานนานาชาติมักจะมีขนาดใหญ่กว่าท่าอากาศยานภายในประเทศ มีทางวิ่งที่ยาวกว่า และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบถ้วนเพื่อรองรับเครื่องบินที่มีน้ำหนักมากกว่า เช่น โบอิง 747 และแอร์บัส เอ380 ที่ใช้กันทั่วไปสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศและข้ามทวีป ท่าอากาศยานนานาชาติมักมีเที่ยวบินภายในประเทศที่เดินทางเข้า–ออกท่าอากาศยาน ซึ่งสามารถช่วยเชื่อมต่อผู้โดยสารและสินค้าไปยังเที่ยวบินระหว่างประเทศและในทางกลับกันได้
ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมาอาคาร การดำเนินงาน และการจัดการในท่าอากาศยานนานาชาติมีมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ่น เป็นผลจากการเริ่มจัดหาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเที่ยวบินพลเรือนระหว่างประเทศ มาตรฐานทางเทคนิคโดยละเอียดได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและระบบการเข้ารหัสทั่วไปที่นำมาใช้เพื่อให้มีความสอดคล้องกันทั่วโลก ณ คริสต์ทศวรรษ 2020 มีท่าอากาศยานนานาชาติมากกว่า 1,200 แห่งทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง] โดยในเดือนมกราคม ค.ศ. 2023 ได้มีผู้โดยสารนานาชาติเดินทางผ่านกว่า 3.8 พันล้านคน[1]พร้อมกับสินค้า 50 ล้านตัน[ต้องการอ้างอิง]
ประวัติ
แก้สนามบินเฮาน์สโลว์ฮีธในลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นท่าอากาศยานแห่งแรกที่มีเที่ยวบินระหว่างประเทศ โดยเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1919 สนามบินปิดตัวลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1920 และทดแทนด้วยท่าอากาศยานครอยดอน[2][3] ในสหรัฐท่าอากาศยานเทศบาลดักลาสในรัฐแอริโซนาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งแรกในปี 1928[4]
ก่อนหน้าที่จะมีท่าอากาศยานนานาชาติ ช่วงแรกเที่ยวบินจะใช้สนามบิน ซึ่งมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกน้อยกว่า เนื่องจากเครื่องบินสี่เครื่องยนต์ไม่สามารถปฏิบัติการเหนือน้ำไปยังจุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ จึงมีการแพร่หลายในการใช้เรือบิน โดยในบริเวณปลายเส้นทาบินระหว่างประเทศที่ยาวที่สุด (ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเส้นทางจิงโจ้) ได้มีการจัดพื้นที่ลงจอดบนน้ำในหลายๆ พื้นที่ เช่น สุราบายา กูปัง และในโรสเบย์ เมืองซิดนีย์[5]
ท่าอากาศยานนานาชาติบางแห่งยังเป็นฐานทัพอากาศด้วย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทางเทคโนโลยี เช่น ท่าอากาศยานเกาะแคนตอนในคิริบาส โดยหลังใช้เป็นฐานทัพอากาศในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ท่าอากาศยานถูกใช้เป็นจุดแวะพักของควอนตัส ซึ่งได้นำพนักงานภาคพื้นไปประจำการที่ท่าอากาศยานในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1950[6] การเริ่มใช้อากาศยานไอพ่นอย่างโบอิง 707 ในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ที่มีพิสัยการบินมากจนสามารถทำการบินเที่ยวเดียวระหว่างออสเตรเลียหรือนิวซีแลนด์และฮาวาย ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ท่าอากาศยานจุดแวะพักในมหาสมุทรแปซิฟิกอีกแล้ว ท่าอากาศยานนานาชาติอื่นๆ เช่น ท่าอากาศยานไขตั๊กในฮ่องกงได้ปิดตัวลงและแทนที่ดวยท่าอากาศยานนี่ใหม่กว่าเมื่อถึงขีดความสามารถในการพัฒนา[7][8]
ลักษณะและการก่อสร้าง
แก้การก่อสร้างและการดำเนินงานของท่าอากาศยานนานาชาติขึ้นอยู่กับผลกระทบจากเทคโนโลยี การเมือง เศรษฐกิจ และภูมิศาสตร์ รวมถึงกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ[9][10][11][12] การออกแบบท่าอากาศยานจำเป็นต้องมีการประสานงานกับทุกภาคส่วน – สถาปนิก วิศวกร ผู้จัดการ และพนักงานท่าอากาศยานทั้งหมดจะต้องเกี่ยวข้องกับการออกแบบ[13][14] ท่าอากาศยานมักแสดงถึงความเป็นชาติ และความภาคภูมิใจในชาติ จึงมีการก่อสร้างท่าอากาศยานให้มีความยิ่งใหญ่ เช่นแผนการสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเม็กซิโกซิตีใหม่ ซึ่งเดิมจะทดแทนท่าอากาศยานเดิมเมื่อถึงขีดความสามารถการรับผู้โดยสาร[15]
ท่าอากาศยานสามารถมีหอควบคุมการบินหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นการจราจรของท่าอากาศยานและต้นทุน ท่าอากาศยานนานาชาติมักมีหอควบคุมการบินประจำท่าอากาศยาน เนื่องจากมีความหนาแน่นการจราจรที่มาก
ท่าอากาศยานนานาชาติบางแห่งจำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกภายนอกท่าอากาศยาน เช่นท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ซึ่งต้องมีระบบรถไฟความเร็วสูงและทางด่วนเพื่อเชื่อมต่อท่าอากาศยานเข้ากับตัวเมืองฮ่องกง โดยการสร้างทางด่วนนี้ประกอบด้วยสะพานสามสะพาน โดยเป็นสะพานยกระดับหนึ่งแห่ง แต่ละสะพานจะมีการจราจรทั้งรถยนต์และรถไฟ[16]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "The world's airports – the state of the industry in Jan-2023 in 11 numbers". CAPA - Centre for Aviation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-11.
- ↑ Bluffield, Robert (2009). Imperial Airways: the birth of the British airline industry 1914–1940. Hersham [England]: Ian Allan. ISBN 978-1-906537-07-4.
- ↑ Learmonth, Bob; Cluett, Douglas; Nash, Joanna (1977), A history of Croydon Airport, Sutton Libraries and Arts Services
- ↑ Blaskey, Larry (6 June 2008). "Eleanor Roosevelt's trip to Douglas remembered". Douglas Dispatch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2019. สืบค้นเมื่อ 6 October 2014.
- ↑ Stackhouse, John (1995). --from the dawn of aviation : The Qantas Story, 1920-1995. Double Bay, NSW: Focus Pub. pp. 57, 66–71. ISBN 1-875359-23-0.
- ↑ Walker, Howell. "Air Age Brings Life to Canton Island". The National Geographic Magazine: January 1955, pp. 117-132.
- ↑ Hafer, JR. "Kai Tak Airport Hong Kong". 20th Century Aviation Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2014. สืบค้นเมื่อ 20 October 2014.
- ↑ Farewell speech for Kai Tak (6 July 1998)
- ↑ Feldman, Elliot J. and Jerome Milch (1982). Technology versus democracy: the comparative politics of international airports. Boston, Massachusetts: Auburn House Pub. Co. ISBN 0-86569-063-4.
- ↑ Regulatory implications of the allocation of flight departure and arrival slots at international airports. Montreal, Canada: International Civil Aviation Organization. 2001.
- ↑ Salter, Mark B. (2008). Politics at the airport ([Online-Ausg.] ed.). Minneapolis: University of Minnesota Press. ISBN 978-0-8166-5014-9.
- ↑ Williams, Alan, 1934-, Developing strategies for the modern international airport : East Asia and beyond / by Alan Williams, Ashgate Pub. Co
{{citation}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Planning and design of airport terminal building facilities at nonhub locations". United States Federal Aviation Administration. 1980. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
- ↑ "Quality control of construction for airport grant projects". U.S. Dept. of Transportation, Federal Aviation Administration. 2007. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
- ↑ Luhnow, David (2 September 2014). "Mexico Plans New $9.2 Billion Airport". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 6 December 2014.
- ↑ Telford, Thomas (1 November 1998). "transport links". Hong Kong International Airport (Technical report). Vol. Supplement of Volume 126 (Special Issue 2 ed.). Journals Leon Heward-Mills for Institution of Civil Engineers.