ทีสปอร์ต 7
สถานีโทรทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวและกีฬา ทีสปอร์ต (อังกฤษ: T Sports) เป็นช่องโทรทัศน์ประเภทรายการกีฬาของไทย โดย การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ออกอากาศผ่านระบบโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิล และโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ทางช่องหมายเลข 7 ภายใต้ใบอนุญาตประกอบการ ประเภทบริการสาธารณะ รายการกีฬา สุขภาพและคุณภาพชีวิต
ชื่ออื่น | สถานีโทรทัศน์ทีสปอร์ต |
---|---|
รูปแบบ | เน้นรายการประเภทกีฬา สุขภาพและคุณภาพชีวิต |
ประเทศ | ไทย |
พื้นที่แพร่ภาพ | ประเทศไทย |
เครือข่าย | • ช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ • ช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและเคเบิล •ช่องโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ |
คำขวัญ | ทีวีกีฬา ตัวจริงเรื่องกีฬา |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 286 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร |
แบบรายการ | |
ภาษา | ไทย |
ระบบภาพ | 576ไอ (16:9 คมชัดปกติ) 576พี (16:9 คมชัดปกติ, ออนไลน์) |
ความเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
บุคลากรหลัก | ศุกรีย์ สุภาวรีกุล |
ประวัติ | |
เริ่มออกอากาศ | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 (16 ปี) |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
ออกอากาศ | |
ภาคพื้นดิน | |
ดิจิทัล | ช่อง 7 (มักซ์#3 : อสมท) |
เคเบิลทีวี | |
ทรูวิชั่นส์ เจริญเคเบิลทีวี | ช่อง 7 [1] |
ทีวีดาวเทียม | |
ไทยคม 6 C-Band | 3760 H 30000 5/6 |
ไทยคม 8 KU-Band | 11560 H 30000 3/4 [2] |
ทรูวิชั่นส์ พีเอสไอ จีเอ็มเอ็มแซท ดีทีวี ไอเดียแซท อินโฟแซท ไทยแซท ไอพีเอ็ม เคเอสทีวี กู๊ด ทีวี | ช่อง 7 |
สื่อสตรีมมิง | |
เอไอเอส เพลย์ 3บีบี จิกะทีวี เอ็นที ไอพีทีวี ทรูไอดีทีวี ลุกซ์ทีวี | ช่อง 7 |
ประวัติ
แก้สถานีโทรทัศน์ทีสปอร์ต เกิดขึ้นจากการที่การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ประเภทรายการกีฬา เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่กิจกรรมกีฬา และส่งเสริมให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารทางการกีฬา เสริมสร้างค่านิยมในการเล่นและดูกีฬาให้กับประชาชน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตทีดีขึ้นให้กับประชาชนทั่วประเทศ
สถานีโทรทัศน์ทีสปอร์ต ดำเนินการออกอากาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ผ่านระบบโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิล
การออกอากาศภาคพื้นดินระบบดิจิทัล
แก้เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงมติให้พิจารณาออกใบอนุญาต โดยใช้คลื่นความถี่โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะ เน้นรายการประเภทกีฬา สุขภาพและคุณภาพชีวิต ทางช่องหมายเลข 7 [3]
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ทีสปอร์ตได้ลงนามในสัญญาเช่าโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สิโรตม์ รัตนามหัทธนะ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท ในขณะนั้น [4] [5]
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17.00 น. ทีสปอร์ต ได้เริ่มต้นการทดลองออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลครั้งแรก ภายใต้ชื่อ ทีสปอร์ต 7 (อังกฤษ: T Sports 7) โดยเริ่มต้นจากการถ่ายทอดสดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ทีสปอร์ตในระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน ได้ทำการทดลองออกอากาศในระบบดิจิทัลความคมชัดมาตรฐาน (SD) เป็นระยะเวลา 6 เดือน [6] โดยออกอากาศระบบดิจิทัลทางช่องหมายเลข 7 ตั้งแต่เวลา 6.00 - 24.00 น.
เมื่อวันที่ 30 กันยายน ปีเดียวกัน เวลา 23.00 น. สถานีโทรทัศน์ทีสปอร์ตในระบบทีวีดาวเทียมได้ยุติออกอากาศอย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากการปรับแผนงบประมาณมาสนับสนุนช่องทีวีดิจิทัลแทน ส่งผลให้ต้องยุติออกอากาศผ่านดาวเทียมแบบกะทันหัน[7] ต่อมาวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทีสปอร์ต ได้รับใบอนุญาตประกอบการกิจการโทรทัศน์ ประเภทบริการสาธารณะ อย่างเป็นทางการ จาก กสทช. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว[8]
ฝ่ายข่าว
แก้นอกจากการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ แล้ว ทีสปอร์ต 7 ยังนำเสนอรายการที่อัปเดตข่าวกีฬาชนิดต่าง ๆ ซึ่งผลิตโดย บริษัท เมนสแตนด์ ครีเอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด[9] โดยเริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 มาจนถึงปัจจุบัน[10]
ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรข่าวที่มีชื่อเสียง
แก้- วรันธร สมกิจรุ่งโรจน์ (พิชซี่)
- ณัฐชา เสนาบุตร (โอปอ)
- ภัคจิรา จิระวัฒนะภัณฑ์ (แฟร์)
- กุลญา กระจ่างกุล (ปาล์ม)
- ชไมพร เห็นประเสริฐ (ยุ้ย)
- พีระณัฐ จำปาเงิน (โทน)
- เจษฎา ศรีวิเศษ (เจษ)
- วิรวิชญ์ เจริญเชื้อ (ข้าว)
- มนุชา เจอมูล (นาน)
- จิตกร ศรีคำเครือ (ยักษ์)
- กิตติกร อุดมผล (กบ)
- ขจรยศ โชคธนเศรษฐ์ (จอน)
- วัชรินทร์ จัตุชัย (เอ๋)
- วรปัฐ อรุณภักดี (เจ)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ อัปเดตช่องทางการรับชม ช่อง T Sports 7 สามารถรับชมผ่านระบบ TrueVisions และ TrueID ได้แล้ววันนี้
- ↑ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์
- ↑ กกท. เปิดแอป T Sports 7 Application ดูฟรีเพิ่มช่องทางเข้าถึงคอนเทนต์กีฬา
- ↑ T SPORTS 7 ทีวีดิจิทัลน้องใหม่ นำร่องออกอากาศบนโครงข่าย อสมท
- ↑ กกท.จัดกีฬาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกระตุ้นเศรษฐกิจนำร่อง 3 จังหวัดโซนอีสาน
- ↑ ทีวีดิจิทัลรายที่ 20 “T Sports” ช่องหมายเลข 7 รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ
- ↑ ข่าวการยุติออกอากาศทีวีดาวเทียมของ ทีสปอร์ตจากเพจ ยามเฝ้าจอ Link
- ↑ "ทีวีดิจิทัลรายที่ 20 "T Sports" ช่องหมายเลข 7 รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการ - TV Digital Watch".
- ↑ แสงสุวรรณ์, สุรพันธ์ (2021-09-08). "Main Stand ในวันที่สื่อกีฬาออนไลน์ลงสนามดิจิทัลทีวี". THE MODERNIST. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-18. สืบค้นเมื่อ 2022-11-18.
- ↑ "Main Stand รุกแพลตฟอร์มโทรทัศน์ ผลิต 9 รายการ ลง T-Sports ขับเคลื่อนกีฬาให้เป็นมิติสำคัญในชีวิตของคนไทย ออนแอร์ 20 ส.ค.นี้". เฟซบุ๊ก. 2021-08-20. สืบค้นเมื่อ 2022-11-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)