ทางเดินอากาศหายใจ
ทางเดินอากาศหายใจ[1] (อังกฤษ: respiratory tract, airway) หรือ ทางเดินหายใจ, ทางหายใจ เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย ทางเดินอากาศหายใจของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง (Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม
ทางเดินอากาศหายใจ | |
---|---|
Conducting passages. | |
รายละเอียด | |
หลอดเลือดแดง | tracheal branches of inferior thyroid artery |
หลอดเลือดดำ | brachiocephalic vein, azygos vein accessory hemiazygos vein |
ตัวระบุ | |
FMA | 265130 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
ทางเดินอากาศหายใจ มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามขนาดและตำแหน่ง ได้แก่
- หลอดลมใหญ่ (Trachea) เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากกล่องเสียงยาวลงไปจนถึงจุดที่แยกเข้าสู่ปอดด้านซ้ายและด้านขวา
- หลอดลมของปอด (Main bronchus) เป็นแขนงของหลอดลมใหญ่ ซึ่งอยู่ในแต่ละข้างของปอด เริ่มต้นต่อจากหลอดลมใหญ่ลึกเข้าไปในเนื้อปอด หลอดลมเหล่านี้เมื่ออยู่ลึกเข้าไป ก็จะมีการแตกแขนงแยกย่อยลงไปอีกตามตำแหน่งของเนื้อปอด เช่น หลอดลมของปอดกลีบบน (upper lobe bronchus) หลอดลมของปอดกลีบล่าง (lower lobe bronchus) หลอดลมแขนง (segmental bronchus) เป็นต้น
- หลอดลมฝอย (Bronchiole) เป็นแขนงย่อยของหลอดลมของปอด หลอดลมฝอยเหล่านี้บางส่วนนอกจากจะสามารถนำก๊าซเข้าสู่ปอดได้แล้ว ยังสามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย แต่ไม่เป็นหน้าที่หลักเหมือนถุงลม
เนื่องจากหลอดลมมีหน้าที่สำคัญในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติของหลอดลมก็จะทำให้การระบบการระบายก๊าซของร่างกายเสียไปด้วย โรคของหลอดลมที่พบได้บ่อย ได้แก่ โรคหืด (Asthma) และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease) เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน