ทอล์กกิงเฮดส์
ทอล์กกิงเฮดส์ (อังกฤษ: Talking Heads) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติอเมริกันที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1975 ที่นครนิวยอร์ก และมีผลงานจนถึง ค.ศ. 1991[9] สมาชิกในวงได้แก่เดวิด เบิร์น (ร้องนำและกีตาร์) คริส ฟรันทซ์ (กลองชุด) ทีนา เวย์มัท (เบส) และเจอร์รี แฮร์ริสัน (คีย์บอร์ดและกีตาร์) ทอล์กกิงเฮดส์มีส่วนร่วมจุดกระแสดนตรีแนวนิวเวฟโดยการนำลักษณะของดนตรีแนวต่าง ๆ ได้แก่พังก์ร็อก อาร์ตร็อก ฟังก์ และเวิลด์มิวสิกมาผสมผสาน และเป็นที่รู้จักว่าเป็น "วงที่ได้รับเสียงวิจารณ์ทางบวกมากที่สุดวงหนึ่งในยุค '80"[3]
ทอล์กกิงเฮดส์ | |
---|---|
ทอล์กกิงเฮดส์ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: เดวิด เบิร์น, เจอร์รี แฮร์ริสัน, คริส ฟรันทซ์ และทีนา เวย์มัท | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
รู้จักในชื่อ | ชรังเคนเฮดส์, เดอะเฮดส์ |
ที่เกิด | นครนิวยอร์ก สหรัฐ |
แนวเพลง | |
ช่วงปี |
|
ค่ายเพลง | |
อดีตสมาชิก |
ทอล์กกิงเฮดส์เกิดจากกลุ่มนักเรียนศิลปะที่เบนเข็มไปยังดนตรีพังก์ร็อกแบบนิวยอร์กในช่วงทศวรรษ 1970 โดยผลงานอัลบั้มแรกเผยแพร่เมื่อ ค.ศ. 1977 โดยใช้ชื่อ ทอล์กกิงเฮดส์: 77 และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี[10] ก่อนที่จะร่วมกับโปรดิวเซอร์ไบรอัน อีโนและมีผลงานอีกสามอัลบั้มได้แก่ มอร์ซองส์อะเบาต์บิลดิงส์แอนด์ฟุด (ค.ศ. 1978) เฟียร์ออฟมิวสิก (ค.ศ. 1979) และรีเมนอินไลต์ (ค.ศ. 1980) ซึ่งได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกอย่างมากเช่นกัน[3] ก่อนจะหยุดพักไปช่วงหนึ่ง หลังจากนั้นทอล์กกิงเฮดส์ได้รับความนิยมสูงสุดใน ค.ศ. 1983 จากเพลง "เบิร์นนิงดาวน์เดอะเฮาส์" ในอัลบั้ม สปีกกิงอินทังส์ และออกภาพยนตร์คอนเสิร์ต สต็อปเมกกิงเซนส์ กำกับโดยโจนาธาน เดมมี[3] และยังคงออกอัลบั้มอีกหลายอัลบั้มรวมทั้ง ลิตเติลครีเอเจอส์ (ค.ศ. 1985) ซึ่งทำยอดขายสูงสุด ก่อนที่จะยุบวงใน ค.ศ. 1991 ฟรันทซ์ เวย์มัท และแฮร์ริสันยังคงออกแสดงร่วมกันโดยใช้ชื่อ ชรังเคนเฮดส์ (อังกฤษ: Shrunken Heads) และออกอัลบั้ม โนทอล์กกิง จัสต์เฮด ในนาม เดอะเฮดส์ ใน ค.ศ. 1996
ทอล์กกิงเฮดส์ได้รับเกียรติให้เข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลใน ค.ศ. 2002 ผลงานสี่อัลบั้มติดอันดับในรายการ 500 อันดับอัลบั้มที่ดีที่สุดตลอดกาลโดยนิตยสารโรลลิงสโตน นอกจากนี้ หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลได้จัดให้ผลงานเพลง "ไลฟ์ดูริงวอร์ไทม์" และ "วันซ์อินอะไลฟ์ไทม์" ติดอันดับในรายการ 500 เพลงที่ทำให้ร็อกแอนด์โรลเป็นรูปร่าง[11] นอกจากนี้ ทอล์กกิงเฮดส์ยังอยู่ในอันดับที่ 64 ในรายการ 100 อันดับศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาลโดยสถานีโทรทัศน์วีเอชวัน[12] และอันดับที่ 100 ในรายการ 100 อันดับศิลปินยอดเยี่ยมตลอดกาลโดยนิตยสารโรลลิงสโตน[13]
ประวัติ
แก้ช่วงแรก (ค.ศ. 1973 – 1977)
แก้เดวิด เบิร์นและคริส ฟรันทซ์ นักศึกษาสองคนจากโรงเรียนดีไซน์โรดไอแลนด์ได้ก่อตั้งวงดนตรี "ดิอาร์ทิสติกส์" ขึ้นใน ค.ศ. 1973 โดยเบิร์นเป็นนักร้องนำและเล่นกีตาร์ ส่วนฟรันทซ์เป็นมือกลอง[14] ทีนา เวย์มัท แฟนสาวของฟรันทซ์ซึ่งเป็นนักศึกษาร่วมสถาบันมักจะอาสาขับรถรับส่งให้วง วงดิอาร์ทิสติกส์ยุบลงในปีถัดมา และทั้งสามคนได้ย้ายจากรัฐโรดไอแลนด์ไปยังนครนิวยอร์ก และพักอาศัยในห้องลอฟต์เดียวกัน[15] หลังจากที่พวกเขาหามือเบสไม่ได้ ฟรันทซ์จึงเสนอให้เวย์มัทหัดเล่นเบสโดยฟังจากอัลบั้มของซูซี กวาโตร[16]
ทอล์กกิงเฮดส์ขึ้นแสดงในชื่อทอล์กกิงเฮดส์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1975 โดยเป็นวงแสดงเปิดรายการให้กับวงราโมนส์ที่สโมสรดนตรีซีบีจีบี[9] เวย์มัทกล่าวว่าชื่อทอล์กกิงเฮดส์มาจากคำศัพท์เฉพาะในวงการโทรทัศน์ที่ใช้เรียกการถ่ายเฉพาะส่วนศีรษะและไหล่ของบุคคลที่กำลังพูด[17] ปลายปีเดียวกันพวกเขาอัดเทปตัวอย่างส่งไปยังซีบีเอสแต่ไม่ผ่านการคัดเลือก อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้ส่งไปยังไซร์เออเรเคิดส์และไซร์เออได้ตอบรับในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1976 โดยซิงเกิลแรก "เลิฟ → บิลดิงออนไฟร์" ออกในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1977 ทอล์กกิงเฮดส์ได้เพิ่มเจอร์รี แฮร์ริสัน อดีตสมาชิกวงเดอะโมเดิร์นเลิฟเวอส์ของโจนาทาน ริชแมนเข้ามาเป็นสมาชิกคนที่สี่ในตำแหน่งคีย์บอร์ด กีตาร์ และร้องร่วม[18] ในช่วงระหว่างนี้เบิร์นขอให้เวย์มัทออดิชันเพิ่มอีกสามครั้งเพื่อรักษาตำแหน่งในวง[19][20]
อัลบั้มแรก ทอล์กกิงเฮดส์: 77 ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี และซิงเกิล "ไซโคคิลเลอร์" ติดอันดับเป็นครั้งแรก[21] หลายคนคิดว่าเพลงนี้เกี่ยวข้องกับบุตรแห่งแซม ฆาตกรต่อเนื่องซึ่งก่อเหตุสะเทือนขวัญในนครนิวยอร์กในช่วงเวลาก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตาม เบิร์นกล่าวว่าเพลงดังกล่าวเขียนไว้ก่อนหน้าหลายปีแล้ว[22] เวย์มัทและฟรันทซ์แต่งงานกันใน ค.ศ. 1977[23]
ร่วมงานกับไบรอัน อีโน (ค.ศ. 1978 – 1980)
แก้สตูดิโออัลบั้ม มอร์ซองส์อะเบาต์บิลดิงส์แอนด์ฟุด (ค.ศ. 1978) เป็นผลงานร่วมกันครั้งแรกระหว่างทอล์กกิงเฮดส์และโปรดิวเซอร์ไบรอัน อีโน ซึ่งเคยมีผลงานร่วมกับศิลปินรายอื่นได้แก่ร็อกซีมิวสิก, เดวิด โบอี, จอห์น เคล และโรเบิร์ต ฟริปป์[24] นอกจากนี้ อีโนยังเคยตั้งชื่อผลงานเพลงหนึ่งของเขาใน ค.ศ. 1977 ว่า "คิงส์เลดแฮต" (อังกฤษ: King's Lead Hat) ซึ่งมาจากชื่อวงทอล์กกิงเฮดส์สลับอักษรกัน สไตล์ของอีโนและทอล์กกิงเฮดส์เข้ากันได้เป็นอย่างดี และพวกเขาร่วมกันทดลองแนวเพลงต่าง ๆ ตั้งแต่โพสต์พังก์ ไซเคเดลิกฟังก์ ไปจนถึงดนตรีจากทวีปแอฟริกาซึ่งได้รับอิทธิพลจากเฟลา คูติและพาร์เลียเมนต์-ฟังกาเดลิก[2][25][7] และระหว่างบันทึกอัลบั้มนี้พวกเขายังได้ร่วมงานกับคอมพาสพอยต์สตูดิโอส์ในกรุงแนสซอ ประเทศบาฮามาส อัลบั้ม มอร์ซองส์อะเบาต์บิลดิงส์แอนด์ฟุด ยังรวมคัฟเวอร์จากเพลง "เทกมีทูเดอะริเวอร์" ของอัล กรีนด้วย อัลบั้มนี้ทำให้ทอล์กกิงเฮดส์ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี และติดอันดับ บิลบอร์ด ท็อป 30 เป็นครั้งแรกด้วย[7]
พวกเขาร่วมงานกันต่อในอัลบั้มถัดไป เฟียร์ออฟมิวสิก (ค.ศ. 1979) ซึ่งผสมผสานดนตรีแนวโพสต์พังก์ร็อกที่มืดมนเข้ากับดนตรีแนวฟังกาเดเลีย และสอดแทรกเนื้อหาจากสภาพบ้านเมืองยุคปลายทศวรรษ 1970[7] ผู้สื่อข่าวด้านดนตรี ไซมอน เรย์โนลส์ อ้างว่า เฟียร์ออฟมิวสิก เป็นตัวแทนของผลงานระหว่างอีโน-ทอล์กกิงเฮดส์ "ณ จุดที่ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเที่ยงธรรมที่สุด"[26] ซิงเกิล "ไลฟ์ดูริงวอร์ไทม์" เป็นที่มาของวลี "This ain't no party, this ain't no disco."[27] ซิงเกิลดังกล่าวพูดถึงมัดด์คลับและซีบีจีบีซึ่งเป็นไนต์คลับยอดนิยมในนครนิวยอร์กสมัยนั้น[28]
รีเมนอินไลต์ (ค.ศ. 1980) ซึ่งเป็นอัลบั้มถัดมาได้รับอิทธิพลอย่างหนักจากดนตรีแนวแอโฟรบีตของเฟลา คูติ ผสมผสานดนตรีแบบจังหวะผสมจากแอฟริกาตะวันตก ดนตรีแบบอาหรับจากแอฟริกาเหนือ ดิสโกฟังก์ และเสียงที่ถูก "ค้นพบ"[29] การผสมผสานในลักษณะนี้ทำให้เบิร์นนำดนตรีเวิลด์มิวสิกมาปรับใช้ในผลงานถัดมา[30] เนื่องจากดนตรีที่ซับซ้อน ทอล์กกิงเฮดส์จึงต้องเดินทางไปแสดงร่วมกับนักดนตรีรายอื่นรวมทั้งเอเดรียน เบลิวและเบอร์นี วอร์เรลล์ โดยเริ่มจากเทศกาลฮีตเวฟในเดือนสิงหาคมปีนั้น[31] และรวมทั้งในภาพยนตร์คอนเสิร์ต สต็อปเมกกิงเซนส์ ในช่วงเดียวกัน เวย์มัทและฟรันทซ์ก็ยังตั้งวงย่อยทอมทอมคลับ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากดนตรีแนวฮิปฮอป[32] ในขณะที่แฮร์ริสันออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นครั้งแรกในชื่อ เดอะเรดแอนด์เดอะแบล็ก[33] ส่วนเบิร์นและอีโนได้ออกอัลบั้มร่วมกันในชื่อ มายไลฟ์อินเดอะบุชออฟโกสส์ ซึ่งผสมผสานเวิลด์มิวสิก และร่วมกับนักดนตรีนานาชาติและนักดนตรีแนวโพสต์พังก์[34] ทั้งหมดออกในสังกัดไซร์เออ
"วันซ์อินอะไลฟ์ไทม์" ซึ่งเป็นซิงเกิลนำของ รีเมนอินไลต์ ในช่วงแรกไม่ได้รับความนิยมมากนักในสหรัฐ แต่ต่อมาได้รับความนิยมติด 20 อันดับแรกในสหราชอาณาจักรและได้รับความนิยมต่อเนื่องมาอีกหลายปีเนื่องจากมิวสิกวิดีโอของเพลง ซึ่งถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยมตลอดกาลโดยนิตยสารไทม์[35][36]
ความนิยมสูงสุดและแยกวง (ค.ศ. 1981 – 1991)
แก้หลังจากออกผลงานสี่อัลบั้มในช่วงเวลาประมาณสี่ปี ทอล์กกิงเฮดส์ก็พักงานชั่วคราวประมาณสามปี แม้ว่าในระหว่างนั้นฟรันทซ์และเวย์มัทจะยังบันทึกผลงานเพลงในฐานะ "ทอมทอมคลับ" ก็ตาม ในช่วงนั้นทอล์กกิงเฮดส์ได้ออกผลงานอัลบั้มบันทึกการแสดง เดอะเนมออฟดิสแบนด์อิสทอล์กกิงเฮดส์ ซึ่งบันทึกการแสดงในสหรัฐและยุโรปในฐานะวงกลุ่มแปดร่วมกับศิลปินรับเชิญ และยุติการดำเนินงานร่วมกับไบรอัน อีโน[37] อีโนไปเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับยูทูหลังจากนั้น[24]
อัลบั้มถัดมาได้แก่ สปีกกิงอินทังส์ ออกใน ค.ศ. 1983 โดยเพลง "เบิร์นนิงดาวน์เดอะเฮาส์" จากอัลบั้มนี้กลายเป็นเพลงเดียวของวงที่ติด 10 อันดับแรกในชาร์ตเพลงสหรัฐ[38] เนื่องจากมิวสิกวิดีโอที่ฉายวนเรื่อย ๆ ทางช่องเอ็มทีวี[39] ทัวร์คอนเสิร์ตหลังจากนั้นถูกบันทึกในภาพยนตร์สารคดี สต็อปเมกกิงเซนส์ ของโจนาทาน เดมมี ซึ่งต่อมาได้บันทึกลงในอัลบั้มบันทึกการแสดงสดชื่อเดียวกัน[40] สปีกกิงอินทังส์เป็นอัลบั้มสุดท้ายที่ทอล์กกิงเฮดส์ออกทัวร์คอนเสิร์ต[41]
เดวิด เบิร์น ให้สัมภาษณ์ตนเองใน สต็อปเมกกิงเซนส์[42]
ทอล์กกิงเฮดส์มีผลงานต่อมาอีกสามอัลบั้ม ได้แก่ ลิตเติลครีเอเจอส์ (ค.ศ. 1985) ซึ่งมีซิงเกิลยอดนิยมได้แก่ "แอนด์ชีวอส" และ "โรดทูโนแวร์"[43] ทรูสตอรีส์ (ค.ศ. 1986) ซึ่งเป็นคัฟเวอร์ของเพลงประกอบภาพยนตร์ชื่อเดียวกันของเบิร์นซึ่งทอล์กกิงเฮดส์ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวด้วย[44] และเนกเคด (ค.ศ. 1988) แนวเพลงใน ลิตเติลครีเอเจอส์ ออกไปทางป็อปร็อกแบบอเมริกันซึ่งต่างจากอัลบั้มก่อนหน้านี้[45] ทรูสตอรีส์ ก็มีลักษณะไปในทางเดียวกับ ลิตเติลครีเอเจอส์ ซึ่งผลงานเพลง "ไวลด์ไวลด์ไลฟ์" จากอัลบั้มนี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน อีกเพลงหนึ่งในอัลบั้มนี้ได้แก่ "เรดิโอเฮด" ใช้หีบเพลงชักเป็นหลัก[46] ในขณะที่อัลบั้ม เนกเคด มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง เพศ และความตาย และอิทธิพลจากดนตรีแบบแอฟริกันซึ่งคล้ายกับ รีเมนอินไลต์ ก็กลับมามีบทบาทในอัลบั้มนี้อีกครั้ง[47] ในช่วงนี้เบิร์นเริ่มมีอิทธิพลต่อแนวดนตรีของวงเป็นอย่างมาก และหลังจากที่ เนกเคด ออกสู่สาธารณะ ทอล์กกิงเฮดส์ก็เข้าสู่ช่วงพักอีกครั้ง[3]
ทอล์กกิงเฮดส์ประกาศยุบวงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991[3] ฟรันทซ์กล่าวว่าเขาทราบจากบทความหนังสือพิมพ์ ลอสแอนเจลีสไทม์ส ว่าเบิร์นออกจากวง และกล่าวว่าทอล์กกิงเฮดส์ไม่เคยยุบวง เบิร์นเพียงแค่ออกจากวงเท่านั้น[48] เพลงสุดท้ายของวงได้แก่ "แซ็กซ์แอนด์ไวโอลินส์" ซึ่งเป็นเพลงที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง อันทิลดิเอนด์ออฟเดอะเวิลด์ โดยวิม เว็นเดิร์ส ซึ่งออกฉายก่อนหน้านั้นในปีเดียวกัน เบิร์นยังคงมีผลงานเดี่ยวอีกสองอัลบั้มได้แก่ เรย์ โมโม ใน ค.ศ. 1989 และเดอะฟอเรสต์ ใน ค.ศ. 1991[30] ในขณะที่ทั้งทอมทอมคลับและแฮร์ริสันก็มีผลงานของตนเองเช่นกัน โดยทอมทอมคลับมีอัลบั้มได้แก่ บูมบูมชิบูมบูม และ ดาร์กสนีกเลิฟแอ็กชัน[49] ในขณะที่แฮร์ริสันมีผลงานอัลบั้ม แคชวลก็อดส์ และ วอล์กออนวอเทอร์ ทอมทอมคลับและแฮร์ริสันออกทัวร์ร่วมกันใน ค.ศ. 1990[50]
หลังแยกวง และรวมวงครั้งสุดท้าย (ค.ศ. 1992 – 2002)
แก้ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เวย์มัท ฟรันทซ์ และแฮร์ริสันออกทัวร์คอนเสิร์ตร่วมกันโดยใช้ชื่อ "ชรังเคนเฮดส์"[51] และออกผลงานอัลบั้ม โนทอล์กกิง จัสต์เฮด ใน ค.ศ. 1996 ในนาม "เดอะเฮดส์" ซึ่งในอัลบั้มนี้มีนักร้องนำรับเชิญหลายคนได้แก่แกวิน ไฟรเดย์ (เดอะเวอร์จินพรูนส์), เด็บบี แฮร์รี (บลอนดี), จอห์เนตต์ นาโปลีตาโน (คอนกรีตบลอนด์), แอนดี พาร์ทริดจ์ (เอ็กซ์ทีซี), กอร์ดอน แกโน (ไวโลเลนต์เฟมส์), ไมเคิล ฮัตเชนซ์ (อินเอกซ์เซส), เอ็ด โควัลต์ชิก (ไลฟ์), ชอว์น ไรเดอร์ (แฮปปีมันเดส์), ริชาร์ด เฮลล์ และมาเรีย แม็กกี[52] โดยนาโปลีตาโนเป็นนักร้องนำในทัวร์คอนเสิร์ต เบิร์นยื่นฟ้องร้องขอให้อดีตสมาชิกอีกสามคนหยุดใช้ชื่อ "เดอะเฮดส์" โดยมองว่าเป็นความพยายามที่จะหารายได้จากชื่อ "ทอล์กกิงเฮดส์"[53] ทอล์กกิงเฮดส์กลับมารวมกันชั่วคราวใน ค.ศ. 1999 เพื่อโปรโมตครบรอบ 15 ปีของ สต็อปเมกกิงเซนส์ แต่ไม่ได้แสดงร่วมกัน[54]
แฮร์ริสันผันตัวไปเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินต่าง ๆ ได้แก่ไวโอเลนต์เฟมส์ (เดอะไบลด์ลีดดิงเดอะเนกเคด), ไฟน์ยังแคนนิบอลส์ (เดอะรอว์แอนด์เดอะคุกต์), เจนเนอรัลพับลิก (รับอิตเบตเตอร์), แครชเทสต์ดัมมีส์ (ก็อดชัฟเฟิลด์ฮิสฟีต), ไลฟ์ (เมนทัลจูเลอรี, โทรวิงคอปเปอร์ และ เดอะดิสแทนส์ทูเฮียร์), โนเดาต์ (เพลง "นิว" จากอัลบั้ม รีเทิร์นออฟแซตเทิร์น)[55] ในขณะที่ฟรันทซ์และเวย์มัทก็เป็นโปรดิวเซอร์ให้กับศิลปินอีกหลายกลุ่ม รวมทั้งแฮปปีมันเดส์และซิกกี มาร์ลีย์ และยังคงมีผลงานร่วมกันในฐานะทอมทอมคลับ[56]
ทอล์กกิงเฮดส์ได้รับเชิญเข้าสู่หอเกียรติยศร็อกแอนด์โรลใน ค.ศ. 2002 โดยในพิธีพวกเขากลับมารวมกันอีกครั้งและแสดงเพลง "ไลฟ์ดูริงวอร์ไทม์" "ไซโคคิลเลอร์" และ "เบิร์นนิงดาวน์เดอะเฮาส์" ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2002 ร่วมกับเบอร์นี วอร์เรลล์และสตีฟ สเกลส์ซึ่งเคยแสดงร่วมกันในทัวร์คอนเสิร์ต[57] เบิร์นให้สัมภาษณ์ว่าคงเป็นไปได้ยากที่จะกลับมารวมกันอีกครั้งเนื่องจากทั้งเรื่องบาดหมางและแนวดนตรีที่ต่างกันเกินไปแล้ว[58] ส่วนเวย์มัทให้สัมภาษณ์ว่าเบิร์นเป็นคนที่ "ไร้ความสามารถในการรักษามิตรภาพ"[58] และกล่าวว่าเขาไม่ได้รักเธอ ฟรันทซ์ หรือแฮร์ริสัน[16]
อิทธิพลทางดนตรีและศิลปะ
แก้ออลมิวสิกระบุว่าทอล์กกิงเฮดส์ วงดนตรีที่ได้รับความนิยมสูงสุดวงหนึ่งในยุค 1970–80[3] ตลอดเวลาจนถึงแยกวง "ได้บันทึกทุกอย่างตั้งแต่อาร์ตฟังก์ไปจนถึงเวิลด์บีตแบบจังหวะผสมและกีตาร์ป็อปแบบเรียบง่าย"[3] แนวอาร์ตป็อปของทอล์กกิงเฮดส์มีอิทธิพลต่อเนื่องยาวนาน[59] พวกเขามีส่วนนิยามดนตรีแนวนิวเวฟในสหรัฐร่วมกับดีโว ราโมนส์ และบลอนดี[60] ในขณะเดียวกัน อัลบั้ม รีเมนอินไลต์ และอัลบั้มอื่น ๆ ในช่วงเดียวกันก็นำดนตรีร็อกแบบแอฟริกันมาสู่โลกตะวันตกด้วยเช่นกัน[61] ภาพยนตร์คอนเสิร์ต สต็อปเมกกิงเซนส์ ซึ่งกำกับโดยโจนาทาน เดมมีก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ได้รับยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์คอนเสิร์ตที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง[62] และได้รับเลือกเข้าสู่หอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติของสหรัฐใน ค.ศ. 2021[63]
ทอล์กกิงเฮดส์ยังมีอิทธิพลต่อศิลปินอีกหลายกลุ่ม เช่นเอ็ดดี เวดเดอร์,[64] โฟลส์,[65] เดอะวีกเอนด์,[66] แวมไพร์วีกเอนด์,[67] พริมัส,[68] เบลล์เอกซ์วัน,[69] เดอะไนน์ทีนเซเวนตีไฟฟ์,[70] เดอะทิงทิงส์,[71] เนลลี เฟอร์ทาโด,[72] เคชา,[73] เซนต์วินเซนต์,[74] แดนนี บราวน์,[75] เทรนต์ เรซเนอร์,[76] ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์[77] และเรดิโอเฮดซึ่งตั้งชื่อวงตามเพลง "เรดิโอเฮด" จากอัลบั้ม ทรูสตอรีส์[78][79] ปาโอโล ซอร์เรนตีโนซึ่งได้รับรางวัลภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 86 จากผลงานภาพยนตร์เรื่อง ลากรันเดเบลเลซซา ได้กล่าวขอบคุณทอล์กกิงเฮดส์และคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขาสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้[80]
อ้างอิง
แก้- ↑ Cateforis, Theo (2011). Are We Not New Wave?: Modern Pop at the Turn of the 1980s. University of Michigan Press. pp. 2, 43, 73. ISBN 0-472-03470-7.
- ↑ 2.0 2.1 Ricchini, William (November 12, 1996). "Napolitano Brings Out Best Of Heads". The Philadelphia Inquirer. สืบค้นเมื่อ April 24, 2015.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Erlewine, Stephen Thomas. "Talking Heads: Biography". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
- ↑ Jack, Malcolm (September 21, 2016). "Talking Heads – 10 of the best". The Guardian.
- ↑ Holden, Stephen (February 28, 1999). "MUSIC; They're Recording, but Are They Artists?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 17, 2013.
- ↑ Marks, Craig; Weisbard, Eric (1995). Spin Alternative Record Guide. Vintage Books.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) p. 163.
- ↑ "Head Games: 'Talking Heads: Chronology'" (PDF). PopMatters. February 22, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ September 14, 2016.
- ↑ 9.0 9.1 Talking Heads Rock and Roll Hall of Fame, retrieved November 23, 2008
- ↑ Demorest, Stephen (November 3, 1977). "Talking Heads '77". Rolling Stone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ August 3, 2019.
- ↑ "The Songs That Shaped Rock and Roll". The Rock and Roll Hall of Fame and Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2010. สืบค้นเมื่อ January 12, 2008.
- ↑ "The Greatest – Ep. 215". vh1.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-10. สืบค้นเมื่อ April 29, 2015.
- ↑ "100 Greatest Artists of All Time". Rolling Stone. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-11. สืบค้นเมื่อ January 8, 2016.
- ↑ Gittins, Ian, Talking Heads: Once in a Lifetime: the Stories Behind Every Song, Hal Leonard Corporation, 2004, p. 140. ISBN 0-634-08033-4, ISBN 978-0-634-08033-3.
- ↑ Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) p. 159.
- ↑ 16.0 16.1 Tina Talks Heads, Tom Toms, and How to Succeed at Bass Without Really Trying Gregory Isola, Bass Player, retrieved December 6, 2008.
- ↑ Weymouth, Tina (1992). In Sand in the Vaseline. CD liner notes, p. 12. New York: Sire Records Company
- ↑ Greene, Andy. "Flashback: Talking Heads Perform 'Psycho Killer' at CBGB in 1975". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ April 23, 2014.
- ↑ Courogen, Carrie (September 15, 2017). "40 Years Later, Talking Heads' Most Valuable Member Is Still Its Most Under-Recognized". PAPER (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 26, 2018.
- ↑ Jacques, Adam (March 17, 2013). "How We Met: Chris Frantz & Tina Weymouth". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 3, 2020.
- ↑ Ruhlmann, William. "Talking Heads 77". AllMusic. สืบค้นเมื่อ April 23, 2014.
- ↑ Ian Gittins (2004). Talking Heads: Once in a Lifetime: The Stories Behind Every Song. Hal Leonard. p. 30. ISBN 978-0-634-08033-3.
- ↑ Clarke, John. "Rockers Chris Frantz and Tina Weymouth Talk Marriage". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-07. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
- ↑ 24.0 24.1 "Brian Eno | Credits". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Pilchak, Angela M. (2005). Contemporary Musicians. Vol. 49. Gale. p. 77. ISBN 978-0-7876-8062-6.
- ↑ Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) pp. 163–164.
- ↑ Janovitz, Bill. "Life During Wartime – Song Review". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Robbins, Ira. "20 Years Later, CBGB Ain't No Disco: Clubs: A look back as the Bowery bar concludes a monthlong celebration of its commitment to underground rock's trends". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) p. 165.
- ↑ 30.0 30.1 Ankeny, Jason. "David Byrne | Biography". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Robins, Jim (September 6, 1980). "Expanded Talking Heads Climax Canadian New Wave Festival". The Michigan Daily.
- ↑ Boehm, Mike (September 10, 1992). "x-Heads Say They Got Byrned: Split Still Miffs Frantz, Weymouth, Even Though Tom Tom Club Keeps Them Busy". Los Angeles Times.
- ↑ Palmer, Robert (November 18, 1981). "The Pop Life". The New York Times.
- ↑ Bush, John. "My Life in the Bush of Ghosts". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) p. 169.
- ↑ Sanburn, Josh (July 26, 2011). "The 30 All-TIME Best Music Videos". Time. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
- ↑ Simon Reynolds. Rip It up and Start Again: Postpunk 1978–1984. Penguin Books (2005) pp. 169–170.
- ↑ DeGagne, Mike. "Burning Down the House – Talking Heads – Song Review". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Johnston, Maura. "Sick Of It All (16) Battles Talking Heads (8) As SOTC's March Madness Takes A Trip To CBGB". Village Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-26. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Light, Alan (January 25, 2010). "All-TIME 100 Albums". Time. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Milward, John. "The Many Faces And Artistic Endeavors Of The Talking Heads David Byrne And His Mates In The Band Are Keeping Busy – Together, With 'Naked', And On Their Own". Philly.com. สืบค้นเมื่อ April 25, 2014.
- ↑ Harvey, Eric. "David Byrne: Live From Austin TX". Pitchfork Media. สืบค้นเมื่อ May 5, 2014.
- ↑ "Little Creatures – Talking Heads". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
- ↑ Maslin, Janet. "True Stories (1986) DAVID BYRNE IN 'TRUE STORIES'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
- ↑ Ruhlmann, William. "Little Creatures". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
- ↑ Hastings, Michael. "Talking Heads – True Stories". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
- ↑ Pareles, Jon (March 20, 1988). "Talking Heads get 'Naked'". Observer-Reporter.
- ↑ Boehm, Mike (September 10, 1992). "x-Heads Say They Got Byrned: Split Still Miffs Frantz, Weymouth, Even Though Tom Tom Club Keeps Them Busy". Los Angeles Times.
- ↑ Ruhlmann, William. "Tom Tom Club | Biography". Allmusic. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
- ↑ Christensen, Thor (May 22, 1990). "Harrison starts to find own voice". The Milwaukee Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-12.
- ↑ Wilonsky, Robert (1999-10-21). "Heads up". Dallas Observer. สืบค้นเมื่อ 2020-08-01.
- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "No Talking Just Head – The Heads". Allmusic. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
- ↑ Levine, Robert (June 26, 1997). "Byrne-ing Down the House". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ October 31, 2009 – โดยทาง DavidByrne.com.
- ↑ Sragow, Michael. "Talking Heads talk again". Salon. สืบค้นเมื่อ 3 December 2021.
- ↑ "Jerry Harrison | Credits". Allmusic. สืบค้นเมื่อ May 1, 2014.
- ↑ Ruhlmann, William. "Tom Tom Club – Biography". Allmusic. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
- ↑ Greene, Andy (October 23, 2012). "23 October 2012". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-14. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
- ↑ 58.0 58.1 Blackman, Guy (February 6, 2005). "Byrning down the house". The Age. Australia. สืบค้นเมื่อ October 3, 2009.
- ↑ "Talking Heads | Biography, Albums, Streaming Links". AllMusic. สืบค้นเมื่อ June 21, 2021.
- ↑ Gendron, Bernard. "Origins of the First Wave: The CBGB Scene (1974–75)". Between Montmartre and the Mudd Club: Popular Music and the Avant-Garde. University of Chicago Press. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
- ↑ Pareles, Jon (November 8, 1988). "Review/Music; How African Rock Won the West, And on the Way Was Westernized". New York Times. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
- ↑ "Stop Making Sense (1984)". Rotten Tomatoes. Fandango Media. สืบค้นเมื่อ April 9, 2018.
- ↑ Hussey, Allison (2021-12-14). "Talking Heads' Stop Making Sense Added to National Film Registry". Pitchfork.com. สืบค้นเมื่อ 2021-12-17.
- ↑ SPIN staff (July 15, 2003). "My Life in Music: Eddie Vedder". SPIN.
- ↑ "Foals Total Life Forever Review". BBC. สืบค้นเมื่อ November 15, 2013.
- ↑ Calum Slingerland (February 6, 2016). "The Weeknd's New Album Is Inspired by Bad Brains, Talking Heads and the Smiths". Exclaim!. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
- ↑ Burrows, Tim (May 8, 2008). "Vampire Weekend: fresh blood on campus". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ May 11, 2014.
- ↑ Primus press release. Retrieved August 12, 2012.
- ↑ Matthew Magee (July 27, 2003). "Clear as a Bell X1". Sunday Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2011. สืบค้นเมื่อ March 4, 2011.
- ↑ Faughey, Darragh (December 11, 2012). "The 1975 – Interview". GoldenPlec. สืบค้นเมื่อ February 11, 2016.
- ↑ Walden, Eric (March 27, 2015). "Concert preview: Ting Tings feeling a bit less 'Super Critical' now". The Salt Lake Tribune. สืบค้นเมื่อ November 27, 2015.
- ↑ "NELLY FURTADO – Loose – The Story". Universal Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2015. สืบค้นเมื่อ December 2, 2015.
- ↑ Garland, Emma (January 8, 2017). "Kesha's MySpace Profile from 2008 is Better Than DJ Khaled's Snapchat". Noisey. Vice Media. สืบค้นเมื่อ January 20, 2017.
- ↑ Graves, Shahlin (May 26, 2012). "Interview: ANNIE CLARK a.k.a. ST. VINCENT on 'Strange Mercy'". coupdemainmagazine.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2013. สืบค้นเมื่อ March 25, 2017.
- ↑ Moore, Sam (June 15, 2016). "Danny Brown talks Talking Heads and Radiohead influence". NME.
- ↑ Reznor, Trent (September 26, 2020). "Trent Reznor on Talking Heads – Remain in Light (1980)". Vinyl Writers. สืบค้นเมื่อ December 17, 2020.
- ↑ "Franz Ferdinand's Alex Kapranos On The Importance Of Structure". Npr.org. สืบค้นเมื่อ June 21, 2021.
- ↑ About Radiohead เก็บถาวร 2010-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, biography 1992–1995
- ↑ David Byrne interviews Thom Yorke for Wired (November 11, 2007)
- ↑ Vivarelli, Nick (March 3, 2014). "Italy Cheers Foreign Oscar Victory For Paolo Sorrentino's 'Beauty'". Variety. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.