ทองแดง (สุนัข)

สุนัขทรงเลี้ยงในรัชกาลที่ 9

คุณทองแดง (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558) เป็นสุนัขทรงเลี้ยงตัวที่ 17[3]: 200  ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)

คุณ
ทองแดง สุวรรณชาด
ประติมากรรมทองแดง ผลงานการปั้นของชิน ประสงค์ ข้าราชการบำนาญกรมศิลปากร
สปีชีส์สุนัข
สายพันธุ์สุนัขพันทาง
เพศเมีย
เกิด7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ตาย26 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (17 ปี)
วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย
ที่ไว้ซากอนุสาวรีย์คุณทองแดง, ศูนย์รักสุนัขหัวหิน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2541–2558
เป็นที่รู้จักสำหรับสุนัขทรงเลี้ยงในรัชกาลที่ 9[1][2]
เจ้าของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ตั้งแต่ พ.ศ. 2541)
ทายาททองชมพูนุท
ทองเอก
ทองม้วน
ทองทัต
ทองพลุ
ทองหยิบ
ทองหยอด
ทองอัฐ
ทองนพคุณ

ประวัติ

แก้
 
งานปั้นทองแดง (ขวา) และโจโฉ (ซ้าย) ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9

ทองแดงเป็นลูกของแดง[4]: 17  สุนัขจรจัดบริเวณซอยศูนย์แพทย์พัฒนา ถนนพระราม 9 เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541[3]: 200  รัชกาลที่ 9 ทรงนำมาเลี้ยงหลังจากเสด็จฯ ไปเปิดศูนย์แพทย์พัฒนา และนายแพทย์คนหนึ่งนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย[3]: 200 [4]: 13  ทองแดงเกิดก่อนลูก ๆ ของมะลิ 1 วัน ลูก ๆ ของมะลิเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541[3]: 200  และทรงยกทองแดงให้มะลิเลี้ยงดู[5]: 158  ทองแดงมีพี่น้องรวม 7 ตัว ชาวบ้านตั้งชื่อให้ว่า ทองแดง เพศเมีย, คาลัว เพศเมีย, หนุน เพศเมีย, ทองเหลือง เพศผู้ ได้ไปอยู่บ้านของข้าราชบริพารคนหนึ่ง, ละมุน เพศเมีย, โกโร เพศเมีย, โกโส เพศเมีย[4]: 14 

ทองแดงมีลักษณะพิเศษต่างจากลูกสุนัขตัวอื่น คือ มีสายสร้อยรอบคอครึ่งเส้น มีถุงเท้าขาวทั้ง 4 ขา มีหางม้วนขดเป็นวง ปลายหางดอกสีขาว และมีจมูกแด่น[3]: 200  ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ขณะมีอายุได้ 5 สัปดาห์ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน[3]: 200 

รัชกาลที่ 9 ทรงค้นในหนังสือพบว่า ทองแดงมีลักษณะคล้ายคลึงกับสุนัขพันธุ์บาเซนจี สุนัขพันธุ์โบราณ มีถิ่นกำเนิดทางแอฟริกาใต้ นิยมใช้งานในการล่าสัตว์ แต่ทองแดงตัวใหญ่กว่าบาเซนจีทั่วไป จึงทรงเรียกทองแดงว่าเป็นสุนัขพันธุ์ไทยซูเปอร์บาเซนจี[3]: 200  ก่อนหน้านี้ทรงเรียกว่า เป็นสุนัขพันธุ์เทศ (ย่อมาจาก เทศบาล)[3]: 200 

วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เวลา 23.10 น. ทองแดงเสียชีวิตด้วยโรคชรา[6]: 472  ที่วังไกลกังวล ร่างอยู่ที่โรงพยาบาลสัตว์เกษตรศาสตร์ หัวหิน รวมอายุได้ 17 ปี 1 เดือน 19 วัน[7]

ลูก

แก้

ทองแดงมีลูก 9 ตัวกับทองแท้ สุนัขพันธุ์บาเซนจี ทุกตัวเกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2543[8]: 80  รัชกาลที่ 9 ทรงตั้งชื่อให้ด้วยชื่อขนมที่มีคำว่า ทอง และพระราชทานนามสกุลว่า สุวรรณชาด[9]: 410  และยังเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการในพระปรมาภิไธย[9]: 410  โปรดเกล้าฯ ให้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ ขนมลูก ๆ ทองแดง ออกเผยแพร่[10]

  • ทองชมพูนุท เพศเมีย น้ำหนัก 360 กรัม คลอดเอง
  • ทองเอก เพศผู้ น้ำหนัก 310 กรัม คลอดเอง
  • ทองม้วน เพศผู้ น้ำหนัก 330 กรัม คลอดเอง
  • ทองทัต เพศผู้ น้ำหนัก 350 กรัม คลอดเอง
  • ทองพลุ เพศผู้ น้ำหนัก 300 กรัม ต้องฉีดยาช่วย มีลูกกับหิรัญวารี
    • นิลเอก
    • นิลพานร
    • นิลพัท
    • นิลขัน
    • นิลนนท์
    • นิยา
  • ทองหยิบ เพศผู้ น้ำหนัก 350 กรัม คลอดเอง
  • ทองหยอด เพศเมีย น้ำหนัก 320 กรัม คลอดเอง มีลูกกับน้ำชา
    • ข้าวโพดเทียน
    • ข้าวตอกดอกไม้
    • ข้าวหลามตัด
    • ข้าวคลุกกะปิ มีลูกกับบิ๊กฟลาวเวอร์
      • วัง
      • น่าน
    • ข้าวเหนียวมะม่วง
    • ข้าวแดงแกงร้อน มีลูกกับปะโตเลมีย์
      • แกงมัสมั่น
      • แกงเหลือง
      • แกงนพเก้า
    • ข้าวตังทรงเครื่อง
    • ข้าวเกรียบว่าว
  • ทองอัฐ เพศเมีย น้ำหนัก 290 กรัม คลอดเอง
  • ทองนพคุณ เพศผู้ น้ำหนัก 360 กรัม คลอดเอง

การป้องกันตามกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์

แก้

ฐนกร ศิริไพบูลย์ คนงานโรงงานอายุ 27 ปี[11] ถูกจับตามความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยใน พ.ศ. 2558 ด้วยข้อหาโจมตีพระมหากษัตริย์ผ่านโพสต์"เสียดสี" เกี่ยวกับทองแดงในเฟสบุ๊ก[12] อานนท์ นำภา ทนายของเขากล่าวให้ International New York Times ว่า ข้อหานี้ "ไม่ได้ให้รายละเอียดการดูถูกสัตว์อย่างเจาะจง"[13] International New York Times ในกรุงเทพลบเรื่องนี้ออกจากหนังสือพิมพ์ในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เพียง 12 วันก่อนที่ทองแดงเสียชีวิต[13] หลังถูกจับกุม 90 วัน เขาถูกปล่อยตัวด้วยวงเงินประกัน ถ้าถูกตัดสินว่าผิด ฐนกรมีโอกาสถูกจำคุกสูงสุด 37 ปี[14] ไม่มีใครทราบที่ตั้งและสถานะคดีของเขานับตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561

รายงานจากบีบีซี ฝ่ายอัยการกล่าวว่าฐนกรได้โพสต์ภาพสุนัขหลายภาพในเฟสบุ๊กเพื่อล้อเลียนกษัตริย์ และถูกตั้งข้อหาเพิ่มจากการกด "ไลก์" ภาพตัดต่อของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งโพสต์โดยผู้ใช้คนอื่น[11]

การดัดแปลงเป็นสื่อ

แก้

รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์ เรื่อง ทองแดง (The Story of Tongdaeng) ซึ่งมี 84 หน้า ออกเผยแพร่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยฉบับแรกขายหมดอย่างรวดเร็วทั้ง 100,000 เล่มในประเทศไทย[15] เนื่องจากมีความต้องการสูงมาก หนังสือนี้จึงกลายเป็นของขวัญล้ำค่า[16] และตีพิมพ์ใหม่หลายครั้ง[16]

ต่อมามีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง คุณทองแดง ดิ อินสไปเรชั่นส์ ซึ่งเผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558[17]

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง ประจำรัชกาลที่ 9
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 นนทพร อยู่มั่งมี และคณะ. (2560). "พระเมรุมาศบุษบกประธาน (ชั้นชาลาชั้น 4): ประติมากรรมประดับพระจิตกาธาน", ใน สู่ฟ้าเสวยสวรรค์. กรุงเทพฯ: มติชน. 316 หน้า. ISBN 978-974-02-1577-6
  4. 4.0 4.1 4.2 ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2545). เรื่องของทองแดง พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง. 83 หน้า. ISBN 978-974-2726-26-3
  5. ธีรนุช โชคสุวณิช และคณะ. (2549). พระบรมธรรมิกราชกับอักษรศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์. 336 หน้า. ISBN 978-974-9990-29-2
  6. ชวกิจ หันประดิษฐ, ศูนย์ข้อมูลมติชน. (2559). "ธันวาคม", ใน บันทึกประเทศไทย: ลำดับข่าวเด็ด เหตุการณ์สำคัญประจำปี ๒๕๕๘. เล่มที่ 8. กรุงเทพฯ: มติชน. 498 หน้า. ISBN 978-974-0214-67-0
  7. คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรฯ แถลง สุนัขหลวง 'คุณทองแดง' เสียชีวิตแล้ว
  8. นิตยสารพลอยแกมเพชร, 18(405): (2552, มกราคม 15).
  9. 9.0 9.1 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. (2551). สารานุกรมพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในรอบ ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 487 หน้า. ISBN 978-974-4179-14-2
  10. เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ และดรุณี จักรพันธุ์, หม่อมหลวง. (2545). ขนมลูกๆ ทองแดง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยในวังหญิง. 23 หน้า. ISBN 974-272-451-2
  11. 11.0 11.1 Head, Jonathan (December 16, 2015). "Defaming a dog: The ways to get arrested for lese-majeste in Thailand". BBC. สืบค้นเมื่อ December 29, 2015.
  12. Bhutia, Jigmey. "Thai man faces 37 years jail for 'insulting' King Bhumibol Adulyadej through his dog". ibtimes.co.uk. International Business Times. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
  13. 13.0 13.1 Holmes, Oliver. "Thai man faces jail for insulting king's dog with 'sarcastic' internet post". theguardian.com. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
  14. "Dissing the king's dog is a crime in Thailand". The Economist. 19 December 2015. สืบค้นเมื่อ 21 December 2015.
  15. * Seth Mydans, For Dogged Devotion to Etiquette, a Kingly Tribute เก็บถาวร 2016-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, International Herald Tribune, 26 December 2002. Accessed 30 December 2015.
  16. 16.0 16.1 Campbell, Charlie (November 4, 2015). "See Portraits of Thailand's King Bhumibol Adulyadej Displayed All Over Bangkok". Time. สืบค้นเมื่อ December 30, 2015.
  17. Panya, Duangkamol. "Who let the dogs out?". bangkokpost.com. Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. เรื่อง ทองแดง: ฉบับการ์ตูน. อมรินทร์, กรุงเทพ. พ.ศ. 2547. ISBN 974-272-917-4
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. เรื่อง ทองแดง. อมรินทร์. ISBN 974-272-626-4
  • วิลาศ มณีวัต. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับ "คุณ ๆ" สี่ขา. ดอกหญ้า. ISBN 974-689-122-7