ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน เป็นนายแพทย์ชาวไทย รู้จักในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ทำหน้าที่สื่อสารต่อประชาชนในสภาวะสถานการณ์การระบาดทั่วของโคโรนาไวรัสในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์[2]กรรมการแพทยสภาและกรรมการอิสระ ธนาคารออมสิน[3]อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก[4] เเละเคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน | |
---|---|
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ใน พ.ศ. 2563 | |
อธิบดีกรมการแพทย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2567 (0 ปี 49 วัน) | |
ก่อนหน้า | อัมพร เบ็ญจพลพิทักษ์ |
อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม 2567 – 30 กันยายน 2567 (0 ปี 271 วัน) | |
ก่อนหน้า | ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ |
ถัดไป | สมฤกษ์ จึงสมาน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2508 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
เชื้อชาติ | ไทย |
คู่สมรส | วิไลรัตน์ วิษณุโยธิน |
บุตร | ธรรศ วิษณุโยธิน ธนวินท์ วิษณุโยธิน |
บุพการี | เว้งกวง แซ่โต๋ว เพ็ญนภา แซ่โต๋ว |
การศึกษา | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
อาชีพ | แพทย์ |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | สิน (ชื่อเล่น)[1] |
ประวัติ
แก้ทวีศิลป์ เป็นชาวตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2508 บิดาชื่อ เว้งกวง แซ่โต๋ว มารดาชื่อ เพ็ญนภา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยเป็นลูกคนที่ 2 เป็นน้องชายนาย ทวีศักดิ์ วิษณุโยธิน เจ้าของธุรกิจเอบีพี กรุ๊ป และเป็นพี่ชาย นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา และ รศ.นพ.ทวีโชค วิษณุโยธิน หัวหน้าสาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนางสาวระวีวรรณ วิษณุโยธิน ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย เปิดร้านโชห่วยอยู่หน้าตลาดเทศบาล 2 จังหวัดนครราชสีมา บิดาประสบอุบัติเหตุจนต้องตัดขา ทุกคนในบ้านจึงช่วยทำงาน รวมถึงทวีศิลป์ที่ต้องช่วยเลี้ยงหมู พับถุงขาย กรอกน้ำกรด ทำขนมผิง ฯลฯ
เขาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบุญวัฒนา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป็นการสอบโควตา[5] หลังจากเรียนจบแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อปี 2532 เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลจิตเวช นครราชสีมา เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นก็ได้เข้าเรียนที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และได้เข้าทำงาน ณ ที่ดังกล่าว และทำหน้าที่สอนนักศึกษาแพทย์ไปด้วย
จนปี 2537 ก็ตัดสินใจไปเรียนต่อเพิ่มเติมที่ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์แอทชิคาโก ชิคาโก สหรัฐอเมริกา ทางด้านประสาทจิตเวชศาสตร์[6] ช่วงที่อยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เริ่มทำหน้าที่ตอบคำถามเรื่องจิตเวชผ่านสื่อต่าง ๆ เช่นรายการล้อมรั้วด้วยรักทางวิทยุ INN รายการโทรทัศน์หลายรายการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เขาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
จนราวปี พ.ศ. 2546 – 2547 มีข้าราชการอาวุโส สังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ย้ายมาอยู่กับทางกระทรวงสาธารณสุข เริ่มจากการเป็นโฆษกกรมสุขภาพจิต แล้วขึ้นเป็นผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตและสังคม พร้อมดำรงตำแหน่งโฆษกกระทรวงสาธารณสุข[7] ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2552-2556) และผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (2556-2560)
วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จากนั้นวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโฆษก ศบค.[8]ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นแพทย์ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กระทั่งวันที่ 6 ตุลาคม 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1454/2566 แต่งตั้งให้นายแพทย์ทวีศิลป์ เป็นรักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2566 จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ[9] หลังจากเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติให้เห็นชอบนายแพทย์ทวีศิลป์ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างเนื่องจากเกษียณอายุราชการ
ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับวิไลรัตน์ วิษณุโยธิน เป็นกุมารแพทย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ ธรรศและธนวินท์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2557 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
ผลงาน
แก้U-life สายด่วนสุขภาพจิต ออกอากาศครั้งแรกทาง UBC ต่อมาเป็น TNN24 ปี2543-2554 โดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในพระราชูปถัมภ์ฯ
Health Station รายการสดออกอากาศทาง ITV
อมยิ้ม ออกอากาศทาง ไทยทีวีช่อง3
ภาพยนตร์
แก้ปี | เรื่อง | บทบาท | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
2546 | องค์บาก | หมอศักดิ์ | รับเชิญ | [13] |
2551 | ช็อกโกแลต | หมอรักษาเชน | รับเชิญ | [14] |
อ้างอิง
แก้- ↑ thansettakij.com
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 269 ง 27 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ "ครม.อนุมัติแต่งตั้ง "หมอทวีศิลป์" นั่งบอร์ดธนาคารออมสิน". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2022-05-03.
- ↑ https://thestandard.co/cabinet-taweesin-thai-med/
- ↑ "ประวัติ "นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน" จากโฆษกกรมสุขภาพจิตสู่ โฆษกศบค. รับมือ โควิด-19". สนุก.คอม. 30 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)}} - ↑ "วันวานก่อนวันนี้.."โฆษกโควิด" "นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน"". เดลินิวส์. 6 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ชีวิตบทหนึ่งของ น.พ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน". นิตยสารแม่และเด็ก M&C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน" กับบทท้าทาย นั่งเก้าอี้ "โฆษกศบค."". สยามรัฐ. 4 เมษายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สธ. เซ็นคำสั่งให้ บิ๊ก ขรก.11 ราย นั่ง “รักษาราชการแทน” รองปลัด-อธิบดี-เลขาฯ เริ่ม 9 ต.ค.นี้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๕๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘๕, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
- ↑ เปิดภาพ 17 ปีแห่งความหลัง "หมอทวีศิลป์" เล่นหนังองค์บาก ฉากพูดประโยคคลาสสิก
- ↑ หล่อเหมือนเดิม! เผยภาพ “นพ.ทวีศิลป์” เคยแสดงภาพยนตร์เรื่อง “ช็อคโกแลต” ปี 2551