ไบแอธลอน (อังกฤษ: Biathlon) เป็นกีฬาที่เกิดขึ้นจากกีฬาสองสาขา อย่างไรก็ตาม ไบแอธลอนมักจะหมายถึงเฉพาะกีฬาฤดูหนาวที่รวมสกีครอสคันทรีกับยิงปืนไรเฟิล[1][2] ส่วนไบแอธลอนที่นิยมรูปแบบอื่น ได้แก่ ไบแอธลอนฤดูร้อน ซึ่งเป็นการวิ่งแข่งครอสคันทรีกับยิงปืนไรเฟิล[3] และไบแอธลอนสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการรวมระหว่างการวิ่งกับกีฬาว่ายน้ำ[4]

ทวิกีฬา
เหล่านักกีฬาไบแอธลอนในพื้นที่ยิงปืนของการแข่งขัน
สมาพันธ์สูงสุดสหภาพไบแอธลอนนานาชาติ
ลักษณะเฉพาะ
ผู้เล่นในทีมผู้เข้าแข่งขันเดี่ยวหรือทีมผลัด
แข่งรวมชายหญิงใช่
อุปกรณ์สกี, ไม้สกี, ปืนไรเฟิล
จัดแข่งขัน
โอลิมปิกค.ศ. 1924 (ทหารลาดตระเวน)
ค.ศ. 1960 (อย่างเป็นทางการ)

ประวัติ

แก้

กีฬานี้มีต้นกำเนิดในการออกกำลังกายสำหรับทหารนอร์เวย์ ในฐานะของการฝึกอบรมทางเลือกสำหรับการทหาร ไทรซิลไรเฟิลแอนด์สกีคลับ ซึ่งเป็นหนึ่งในสโมสรสกีแรกที่รู้จักของโลก ได้รับการจัดตั้งขึ้นที่ประเทศนอร์เวย์ใน ค.ศ. 1861 เพื่อส่งเสริมการป้องกันประเทศในระดับท้องถิ่น[5]

มีการเรียกกันว่าทหารลาดตระเวน โดยเป็นการรวมกันระหว่างการเล่นสกีและการยิงปืนซึ่งมีการแข่งขันกันในโอลิมปิกฤดูหนาวใน ค.ศ. 1924 และหลังจากนั้นได้มีการสาธิตใน ค.ศ. 1928, 1936 และ 1948 แต่หลังจากนั้นไม่ได้รับการยอมรับในโอลิมปิก มีบางประเทศเป็นส่วนน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับกติกา แต่ในช่วงกลางทศวรรษ 1950 ไบแอธลอนได้รับการบรรจุในวงการกีฬาฤดูหนาวของโซเวียตและสวีเดน และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ความนิยมครั้งใหม่ได้ช่วยให้เกิดความพยายามที่จะให้ไบแอธลอนได้รับการบรรจุในโอลิมปิกฤดูหนาว

ส่วนการแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งแรกของไบแอธลอนได้จัดขึ้นใน ค.ศ. 1958 ที่ประเทศออสเตรีย และใน ค.ศ. 1960 ได้นำมาบรรจุไว้ในกีฬาโอลิมปิกในที่สุด และที่แอลเบิร์ทวิลล์ใน ค.ศ. 1992 ได้มีการอนุญาตให้ผู้หญิงเข้าแข่งขันไบแอธลอนเป็นครั้งแรก[6]

การแข่งขันใน ค.ศ. 1958-1965 ใช้ชนวนกลางกำลังสูง เช่น .30-06 สปริงฟิลด์ และ 7.62×51 มม.นาโต้ เป็นต้น ก่อนจะมาเป็นกระสุนชนวนริมไรเฟิล .22 เป็นมาตรฐานในปี ค.ศ. 1978 โดยกระสุนได้รับการบรรจุในเข็มขัดรอบเอวของผู้เข้าแข่งขัน รายการเดี่ยวคือบุคคลชาย 20 กม. ที่ครอบคลุมส่วนแยกต่างหากสี่ส่วนและการยิงที่ระยะ 100, 150, 200 และ 250 ม. ซึ่งระยะเป้าหมายลดลงเป็น 150 ม.และมีเพิ่มการแข่งแบบผลัดใน ค.ศ. 1966 และระยะการยิงก็ลดลงเหลือ 50 ม. ใน ค.ศ. 1978 กับเป้าเชิงกลที่ได้รับการเปิดตัวในโอลิมปิกฤดูหนาว 1980 ที่เลกเพลซิด[7]

ดูเพิ่ม

แก้

กีฬาหลากหลายอื่น:

อ้างอิง

แก้
  1. แมคดัลนา นูเนอร์ คว้าทองแรกให้เยอรมนี แวนคูเวอร์เกมส์[ลิงก์เสีย] (ไทย)
  2. biathlon - ดิกชันนารี อังกฤษ - ไทย Dictionary English - Thai (ไทย)
  3. Summer Biathlon
  4. "Take Up Modern Pentathlon - Guide by Sam Weale". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
  5. The History of Biathlon - Minnesota Biathlon
  6. "History - International Biathlon Union - IBU". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-04. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
  7. "Biathlon at the 1980 Lake Placid Winter Games". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้