ถูปวงศ์ เป็นคัมภีร์พุทธศาสนาว่าด้วยตำนานการสร้างพระสถูปเจดีย์ทั้งในอินเดียและลังกา เป็นตำนานเมืองและศาสนสถานเชื่อมโยงเรื่องราวเข้ากับพุทธประวัติ[1] คัมภีร์รจนาโดยพระวาจิสสรเถระ พระเถระชาวลังกา[2] ในยุคประมาณ พ.ศ. 1775–1779[3] ในสมัยของพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 3 ประเทศศรีลังกา โดยท่านได้รับการอาราธนาให้รจนาจากพระเถระชาวศรีลังกาในสมัยนั้น คือ พระสุมังคลเถระ พระพุทธมิตตเถระ พระมหากัสสปะเถระพระธรรมกิตติเถระ และพระวาณิชภาณุ ท่านได้อาศัยคัมภีร์อธิบายวินัยฉบับโบราณที่เขียนด้วยภาษาสิงหล รวมถึงอรรถกถาสมันตปาสาทิกา และฎีกาสารัตถทีปนีเป็นต้นแบบ

ถูปวงศ์
ผู้ประพันธ์พระวาจิสสรเถระ
ประเทศลังกา
ประเภทคัมภีร์พุทธศาสนา
วันที่พิมพ์ยุคประมาณ พ.ศ. 1775–1779

ในประเทศไทยมีต้นฉบับคัมภีร์ถูปวงศ์เป็นฉบับใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี อยู่ในหอสมุดแห่งชาติ 2 ฉบับ คือฉบับสังเขปและฉบับพิสดาร ฉบับสังเขปพบเพียง 2 ผูก คือผูกที่ 1 และผูกที่ 2 ไม่จบความ ส่วนฉบับพิสดารมี 5 ผูก จบบริบูรณ์ ฉบับหลังนี้กรมศิลปากรอนุญาตให้พิมพ์เป็นหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนางอนุ ทองไข่มุกต์ เมื่อ พ.ศ. 2511[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "จดหมายข่าว - ราชบัณฑิตยสถาน" (PDF). สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
  2. เพ็ญสุภา สุขคตะ. "ปริศนาโบราณคดี : พระอุปคุต VS พระบัวเข็ม ตกลงองค์เดียวกัน หรือคนละองค์? (2)". มติชนสุดสัปดาห์.
  3. พระเทพวัชรบัณฑิต. "เจดีย์ในพระพุทธศาสนา" (PDF). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  4. "พระคัมภีร์ถูปวงศ์: ตำนานว่าด้วยการสร้างพระสถูป". นนทชัย. p. 5.