ถวัติ ฤทธิเดช
ถวัติ ฤทธิเดช (พ.ศ. 2437 — 5 มกราคม พ.ศ. 2493)[1] เจ้าของนามปากกา นายอาลี[2] กับ นายมูซอร์ [2][3] เป็นราษฎรสามัญชนที่มีบทบาทอย่างสูงต่อสังคมการเมืองไทยในช่วง พ.ศ. 2466 — 2478 ถึงขั้นที่กล่าวได้ว่าเขาเป็นหนึ่งในกำลังหลักของ "การเมืองพลเมือง" ในเวลานั้น[4] หนึ่งบุคคลร่วมยุคสมัยเดียวกันกับ นรินทร์กลึง
ถวัติ ฤทธิเดช | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2437 เมืองสมุทรสงคราม ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 5 มกราคม พ.ศ. 2493 (56 ปี) จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย |
นามปากกา | นายอาลี นายมูซอร์ |
อาชีพ | ข้าราชการ, นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์ |
คู่สมรส | ช้อย ฤทธิเดช |
บุตร | สาวิตร ฤทธิเดช |
ประวัติ
แก้ถวัติ ฤทธิเดช เกิด พ.ศ. 2437 บิดาชื่อ นายวร ฤทธิเดช เป็นกำนันและเป็นชาวสวนฐานะดีแห่ง อำเภอบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม มารดาชื่อ นางต้อม ฤทธิเดช แต่เสียชีวิตตั้งแต่ถวัติยังเล็ก เป็นบุตรจำนวนพี่น้อง 4 คน เป็นชาย 2 หญิง 2 กำพร้ามารดา แต่น้องสาวมารดาชื่อ นางต่อม ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้ามารับเลี้ยงดูแทน[5] ตัวถวัติเองเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว เริ่มต้นการศึกษาที่ อำเภอบางช้าง พออายุครบบวชจึงมาบวชเรียนอยู่ที่วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ (บางข้อมูลว่าบวชที่วัดเทพศิรินทราวาส[1]) ต่อมาได้เป็นผู้สอนพระธรรมวินัยแก่ภิกษุสามเณรทั่วไป หลังจากสึกออกมาแล้วพักอยู่ที่บ้านเจ้าคุณมหาโยธา และต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนอยู่ที่กรมอู่ทหารเรือเป็นเวลา 4 ปี ถวัติเกิดความเบื่อหน่ายต่อชีวิตราชการจึงลาออกมาเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามสักขี เมื่อปี พ.ศ. 2465 เมื่อทำหนังสือพิมพ์สยามสักขี ทนการกดขี่ไม่ได้ จึงออกมาตั้งหนังสือพิมพ์กรรมกร มีจุดมุ่งหมายเพื่อสู้ชีวิตที่ดีกว่าของชนชั้นกรรมาชีพ[6][1]
หนังสือพิมพ์เพื่อกรรมกร มีนักเขียนที่เป็นปัญญาชน เขียนอยู่ด้วย หนึ่งในนั้นคือ ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร ที่ใช้นามปากกาว่าหมอโพล้ง น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์มีอายุได้ 3 ปี ต้องปิดตัวเอง ต่อมาได้ออกหนังสือพิมพ์ชื่อ ปากกาไทย เพื่อเป็นปากเสียงให้ชนชั้นกรรมกรเช่นกัน พร้อมทั้งตั้งสถานทวยราฎร์ขึ้น ถวัติใช้บ้านพักเป็นสำนักงาน แต่สถานทวยราษฎร์ก็เลิกกิจการในที่สุด[1][6]
ชีวิตครอบครัว
แก้ถวัติ สมรสกับ นางช้อย ฤทธิเดช มีบุตรด้วยกัน นามว่า สาวิตร ฤทธิเดช[7] ถวัติยังได้ก่อตั้ง “สมาคมอนุกูลกรรมกร” เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กรรมกรโดยทั่วไป ทำให้กรรมกรมาขอความช่วยเหลือเสมอ แต่เขาดำรงชีพด้วยการเขียนบทความขายและนำเงินส่วนนี้มาช่วยเหลือกรรมกร การดำรงชีวิตดังกล่าวทำให้ฐานะของครอบครัวยากจนลงเป็นลำดับ จนกระทั่งนำสมบัติทั้งของตนและภรรยาออกขายเพื่อยังชีพ และช่วยเหลือกรรมกรที่มาขอความช่วยเหลือ เขาต้องเขียนหนังสือถึงตี 4 ตี 5 ตรากตรำไม่ได้พักผ่อน เมื่อขึ้นไปทำธุระที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ติดเชื้อมาลาเรีย และรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิระเพียง 5 วัน ก็ถึงแก่กรรม เมื่ออายุ 56 ปี[1]
แนวคิดและการเคลื่อนไหวทางการเมือง
แก้ก่อนปี 2475 ปัญญาชนเสรีนิยมส่วนหนึ่งไปสร้างฐานทางการเมืองในหมู่คนงานในนาม “คณะกรรมกร” นำโดย ถวัติ ฤทธิเดช, ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร, ถวัลย์ ชาติอาษา, ขุนสมาหารหิตะคดี (โประ โปรคุปต์) คณะกรรมกร ได้เป็นกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ “กรรมกร” ที่ออกเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2465 โดยมีเหตุจูงใจจากการที่ได้เห็นสภาพการเอารัดเอาเปรียบที่นายจ้างกระทำต่อลูกจ้าง และไม่เห็นว่าจะมีใครช่วยเหลือได้ คณะกรรมกร จึงมีความประสงค์ที่จะเป็นปากเป็นเสียงของมหาชน และพวกกรรมกรสยามเพื่อที่จะทำลายสภาพการเอารัดเอาเปรียบที่ลูกจ้างถูกกระทำอยู่ในขณะนั้น[8]
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2474 ต่อจากฉบับของ ทองเจือ จารุสาธร กล่าวว่า “…รัฐบาลได้ช่วยชาวนาด้วยวิธีอย่างไรยังไม่มีใครทราบบัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยว่าประชาชนพลเมืองก็ควรหาหนทางช่วยตนเองด้วย โดยที่ไม่คิดที่จะพึ่งรัฐบาลอีกต่อไป…” ถวัติ ฤทธิเดช ถวายฎีกา[9][10]
ถวัติยังคิดว่าประชาชนมีสิทธิในการตรวจสอบพระราชกรณียกิจ โดยฎีกาฉบับที่มีเนื้อหาน่าสนใจอีกฉบับ คือฎีกาที่ถวัติเขียนขึ้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2474 เพื่อความโปร่งใสงบประมาณแผ่นดิน[11]
ถวัติ มีบทบาทครั้งสำคัญ ด้วยการเข้าร่วมเปลี่ยนแปลงระบอบปกครอง การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และเป็นกองกำลังเข้าร่วมกันต่อต้าน กบฏบวรเดช[12]
ถวัติ ฤทธิเดชถือเป็นองค์กรแรงงานระดับชาติที่พยายามเรียงร้อยแรงงานทุกภาคส่วนเข้ามาอยู่ร่วมกัน ถวัติและคณะของเขามีท่าทีชัดเจนสนับสนุนเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ถึงขั้นประกาศตัวตอบโต้กับรัชกาลที่ 7 อย่างเปิดเผยในกรณีนี้[13]
จึงได้เกิดเหตุการณ์ นายถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมกรรถรางประกาศจะฟ้องร้องต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าพระปกเกล้าฯ หมิ่นประมาทตนใน ‘พระบรมราชวินิจฉัยเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม’ ที่มีข้อความตอนหนึ่งว่า “…การที่กรรมกรรถรางหยุดงานนั้น หาใช่เกิดการหยุดเพราะความเดือดร้อนจริงจังอันใดไม่ ที่เกิดเป็นดังนี้นั้นก็เพราะมีคนยุให้เกิดการหยุดงานขึ้น เพื่อจะได้เป็นโอกาสให้ตั้งสมาคมคนงาน และตนจะได้เป็นหัวหน้า และได้รับเงินเดือนกินสบายไปเท่านั้น…”[14]
เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2476 ถวัติเป็นตัวแทนของคนยากจนต่อสู้กับความอยยติธรรมภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการเขียนฎีกา ทั้งที่เป็นความคิดของเขาเองและที่ราษฎรผู้เดือดร้อนมาขอร้องให้เขาเขียนให้ นอกจากบทบาทนักหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าแล้ว เขายังมีบทบาทเป็นผู้นำแรงงาน และเป็นผู้นำในการนัดหยุดงานครั้งแรกของคนงานในระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของประเทศไทย ถวัติเป็นเป็นสามัญชนคนแรกของไทยที่ฟ้องร้องพระเจ้าอยู่หัว (ในขณะนั้นคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ว่า ดูหมิ่นประชาชน[15]
ปรากฏว่า ข่าวถวัติจะฟ้องพระปกเกล้าต่อสภาสร้างความร้อนใจให้กับบางคนอย่างมาก คนแรกคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ วันที่ 18 กันยายน เขาเขียนจดหมายถึงพระยาพหล นายกรัฐมนตรีฉบับหนึ่ง ดังนี้
"ด้วยมีหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ลงข่าวเรื่องนายถวัติ ฤทธิเดช ฟ้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าเห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นในบัดนี้ น่าจะเป็นทางเพาะภัยให้แก่พระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดจนบ้านเมืองได้อย่างไม่เคยพบเห็น ระวางนี้ ได้ให้กรมอัยการตรวจอยู่แล้ว ข้าพเจ้าขอโอกาสที่จะได้นำมากราบเรียนในวันนี้เวลาบ่าย"[16]
ก็จบลงด้วยรัฐบาลได้ให้นายถวัติกับพวกทำหนังสือกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษอย่างเป็นทางการ เมื่อรัฐบาลนำขึ้นกราบบังคมทูลและทรงลงพระปรมาภิไธยอภัยโทษแล้ว อัยการก็ถอนฟ้อง ปิดคดีไป[17][18]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 เมื่อครั้งเหตุการณ์กบฏบวรเดช ถวัติและกลุ่มกรรมกรร่วมเป็นกองกำลังหนุนช่วยปราบปรามกบฏจนสำเร็จ ภายหลังเหตุการณ์ รัฐบาลพระยาพหลฯ ได้มอบเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้กับผู้ที่เข้าร่วมสนับสนุนรัฐบาลปราบปรามกบฏบวรเดช ซึ่งถือเป็นการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งกลุ่มกรรมกร และถวัติ ก็ได้รับมอบเหรียญฯ นี้ด้วย[2]
เมื่อครั้นสงครามโลกครั้งที่สอง ถวัติ มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทยสายแรงงาน ให้พ้นอิธิพลการปกครองของกองทัพญี่ปุ่น และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยไม่ให้เป็นผู้แพ้สงคราม[19][20]
ถวัติ ฤทธิเดช ถือเป็นอีกคนหนุ่มผู้ไม่ยอมจำนน เขาเคยถูกจับกุมหลายหนจากการเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและความไม่เป็นธรรม จึงไม่แปลกเลยที่นามของนายถวัติและนายวาศย่อมตราตรึงในความคำนึงของนายปรีดี พนมยงค์[12]
ในวัฒนธรรมนิยมสมัยใหม่
แก้ในวาระครบรอบ 90 ปี อภิวัฒน์สยาม[21] ประวัติศาสตร์จากฝั่งของ ‘แรงงาน’ ผู้เป็นรากฐานของสังคม และนี่คือเรื่องราวที่ถูกทำให้ลืม ของ ‘ถวัติ ฤทธิเดช’ สามัญชนคนสำคัญ” ถ้อยคำคมคายข้างต้น คือข้อความตอนต้นเรื่องของ ‘สามัญปฏิวัติ’[22] การ์ตูนชีวประวัติของถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในช่วงการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ผลงานจากเจ้าของนามปากกา LINER (เกศนคร พจนวรพงษ์)[23][21]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สมาน สุดโต (1 พฤษภาคม 2554). "ถวัติ ฤทธิเดช วีรบุรุษกรรมกรที่ถูกลืม". โพสต์ทูเดย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-24. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 ถวัติ ฤทธิเดช : กรรมกรที่ก้าวหน้า กับ มโนทัศน์ของปรีดี พนมยงค์ และนโยบายคณะราษฎรต่อกรรมกรไทย สถาบันปรีดี สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565
- ↑ ถวัติ ฤทธิเดช นามปากกาภาพปกหนังสือพิมพ์กรรมกร
- ↑ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, แรงงานวิจารณ์เจ้า: ประวัติศาสตร์ราษฎรผู้หาญกล้าท้าทายสมบูรณาญาสิทธิ์ไทย, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ, สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุงใหม่) สิงหาคม 2547.
- ↑ ประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทย หนังสือเล่ม Sangsit Phiriyarangsan หน้า 126
- ↑ 6.0 6.1 ถวัติ ฤทธิเดช[ลิงก์เสีย] - ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า
- ↑ ประวัติการต่อสู้ของกรรมกรไทย หนังสือเล่ม Sangsit Phiriyarangsan หน้า 117 & 136
- ↑ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย เก็บถาวร 2021-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2557
- ↑ สารคดี "ปรีดี พนมยงค์" นาทีที่ 7:23 - 7:37
- ↑ "ปัญหาเศรษฐกิจสมัยยุคราชกาลที่ 8 ชาวเกษตรกรได้มีความขัดสนเป็นอย่างมาก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-05.
- ↑ "ถวัติ ฤทธิเดช" : ปัญญาชนนอกระบบ นักวิพากษ์สถาบัน ประชาไท สืบค้นเมื่อ 31–07–2006
- ↑ 12.0 12.1 ‘ถวัติ ฤทธิเดช’ กับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในความคำนึงของ ‘ปรีดี พนมยงค์’ สถาบันปรีดี พนมยงค์ สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564
- ↑ ได้เวลาทบทวนนิยาม “ขบวนการแรงงาน” ในประเทศไทย ประชาไท สืบค้นเมื่อ 8–1–2021
- ↑ พระราชอำนาจในระบอบประชาธิปไตย: ว่าด้วย ‘ความล่วงละเมิดมิได้’ ของพระมหากษัตริย์ The.101.World สืบค้นเมื่อ 30 Apr 2021
- ↑ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, 110 ปี ถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมกรคนแรก, ศิลปวัฒนธรรม วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 25 ฉบับที่ 7
- ↑ ถวัติ ฤทธิ์เดชกับคดีพระปกเกล้า สถาบันพระปกเกล้า สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564
- ↑ คดีประวัติศาสตร์ ราษฎรฟ้อง ร.๗ หมิ่นประมาท! อัยการสมัยคณะราษฎรฟ้องกลับ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ-กบฏ!! ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563
- ↑ เคยทำกันมาแล้ว..ฟ้องพระมหากษัตริย์ฐาน “หมิ่นประมาทราษฎร” ! กลับถูกฟ้องฐานกบฏ!! ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2566
- ↑ ขบวนการเสรีไทย สันติภาพ และ พระเจ้าช้างเผือก สถาบันปรีดี สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2564
- ↑ ประวัติศาสตร์ขบวนการเสรีไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 สถาบันปรีดี สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2564
- ↑ 21.0 21.1 Prachatai Live: 'สามัญปฏิวัติ' เมื่อผู้อยู่เบื้องหลังปฏิวัติ 2475 ไม่ได้มีเพียงชนชั้นนำ ประชาไท สืบค้นเมื่อ 2022-06-23
- ↑ ประวัติศาสตร์ไม่เคยถูกเล่าจากฝั่งแรงงาน ชวนอ่าน ‘สามัญปฏิวัติ’ การ์ตูนชีวประวัติของถวัติ ฤทธิเดช Thematter สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2022
- ↑ เมื่อชนชั้นนำเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ ‘สามัญปฏิวัติ’ จึงบังเกิด คุยกับ ไนล์ - เกศนคร พจนวรพงษ์ ผู้วาดการ์ตูนบอกเล่าประวัติศาสตร์แรงงานไทย GroundControlTH สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2022
บรรณานุกรม
แก้- สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, กรณี ถวัติ ฤทธิเดช ฟ้อง พระปกเกล้า, ศิลปวัฒนธรรม, พฤษภาคม 2548, หน้า 100-120 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
- ประชาไท, ‘ถวัติ ฤทธิเดช’ : ปัญญาชนนอกระบบ นักวิพากษ์สถาบัน, ประชาไท, 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2549