พลตำรวจโท ตระกูล ทาอาษา (ชื่อเล่น ปุ๊: 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 – 9 กุมภาพันธ์ 2563) หรือที่รู้จักในชื่อ ผู้กองปุ๊ นายตำรวจชาวไทยซึ่งเสียชีวิตระหว่างการปะทะจาก เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563

ตระกูล ทาอาษา
เกิด12 พฤษภาคม พ.ศ. 2527
อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
เสียชีวิต9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (35 ปี)
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นปุ๊
ปีปฏิบัติงาน2550–2563
ผลงานเด่นวีรบุรุษจาก เหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563
คู่สมรสสัตวแพทย์หญิง ณัฐกานต์ คุรุพันธ์ (หมอจุ๋ม)
บิดามารดา
  • ก๋วน ทาอาษา (บิดา)
  • เพียรศรี ทาอาษา (มารดา)
ตระกูล ทาอาษา
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แผนก/สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
ชั้นยศ พลตำรวจโท

ประวัติ

แก้

ตระกูลเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ที่ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรชายของ นายก๋วน และ นางเพียรศรี ทาอาษา มีน้องชายคือ ยุทธนา ทาอาษา

ตระกูลเสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ระหว่างการปะทะกันใน เหตุกราดยิงที่เทอร์มินอล 21 โคราช

ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าพระราชทานยศ พลตำรวจโท เป็นกรณีพิเศษแก่ ร้อยตำรวจเอก ตระกูล ทาอาษา โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ณ วัดดงมะตื๋น อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

การศึกษา

แก้
  • ระดับประถมศึกษา - โรงเรียนบ้านดงมะตื๋น
  • ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 - โรงเรียนวัดห้วยเคียน
  • ระดับ ปวช. - โรงเรียนโปลิเทคนิคเชียงราย
  • หลักสูตรนักเรียนนายสิบตำรวจ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9 จังหวัดยะลา

หลักสูตรพิเศษ

แก้
  •   หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย (นเรศวร 261) รุ่นที่ 14 บก.สอ.บช.ตชด.
  • หลักสูตรทำลายวัตถุระเบิด กองสรรพาวุธ รุ่น 13
  •   หลักสูตรการกระโดดร่มแบบกระตุกเอง บก.สอ.บช.ตชด.

ตำแหน่ง

แก้
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 - ผบ.1 ร้อย รพ.ศ. 2 กก.1 บก.สอ.บช.ตชด. (ยศสิบตำรวจตรี)
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2552 - ผู้บังคับหมู่กองกำกับการ 1 บก.สอ.บช.ตชด.
  • 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - รองสารวัตรงานธุรการ กองกำกับการสุนัขและม้าตำรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ (บก. สปพ.) (ยศร้อยตำรวจตรี)
  • 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 - รองสารวัตรงานสายตรวจ/อารักขา กองกำกับการสุนัขตำรวจ
  • ผู้บังคับหมวด (สบ 1) กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 กองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
  • 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - ร้อยตำรวจตรี
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2556 - ร้อยตำรวจโท [1]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2559 - ร้อยตำรวจเอก [2]
  • 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 - พลตำรวจโท (เป็นกรณีพิเศษ) [3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๑๙๓)
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร (หน้า ๓๕๔)
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจเป็นกรณีพิเศษ
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๕๗, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘๘, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔๘, ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕

บรรณานุกรม

แก้