ตระกูลภาษามายา
ตระกูลภาษามายา เป็นตระกูลของภาษาที่พูดกันในมีโซอเมริกาและทางตอนเหนือของอเมริกากลาง พูดโดยชาวมายาอย่างน้อย 6 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในกัวเตมาลา เม็กซิโก เบลีซ และฮอนดูรัส ใน ค.ศ. 1996 กัวเตมาลาได้รับรองภาษาตระกูลมายา 21 ภาษาด้วยชื่ออย่างเป็นทางการ[2] และเม็กซิโกรับรองอีกแปดภาษาภายในอาณาเขตของประเทศ[notes 1]
มายา | |
---|---|
ภูมิภาค: | มีโซอเมริกา: ตอนใต้ของเม็กซิโก; กัวเตมาลา; เบลีซ; ภาคตะวันตกของฮอนดูรัสและเอลซัลวาดอร์; ประชากรผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นขนาดเล็กโดยเฉพาะในสหรัฐและแคนาดา |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลภาษาหลักของโลก |
ภาษาดั้งเดิม: | มายาดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-2 / 5: | myn |
กลอตโตลอก: | maya1287[1] |
ที่ตั้งของประชากรที่พูดภาษามายา |
ตระกูลภาษามายาเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาที่ได้รับการศึกษามากที่สุดในทวีปอเมริกา ภาษามายาสมัยใหม่สืบทอดมาจากภาษามายาดั้งเดิมซึ่งคาดว่าพูดกันมาอย่างน้อย 5,000 ปีมาแล้ว ภาษามายาดั้งเดิมแตกสาขาออกเป็นอย่างน้อยหกสาขา ได้แก่ Huastecan, Quichean, Yucatecan, Qanjobalan, Mamean และ Chʼolan-Tzeltalan โดยได้รับการสืบสร้างขึ้นใหม่บางส่วนตามระเบียบวิธีเปรียบเทียบ
ในสมัยก่อนโคลัมบัสของประวัติศาสตร์มีโซอเมริกา ภาษาตระกูลมายาบางภาษาเขียนด้วยอักษรมายาซึ่งเป็นตัวหนังสือคำ อักษรนี้เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยคลาสสิกของอารยธรรมมายา (ประมาณ ค.ศ. 250–900) คลังของจารึกมายาที่ยังหลงเหลืออยู่มากกว่า 5,000 จารึกบนอาคาร อนุสาวรีย์ เครื่องปั้นดินเผา และหนังสือพับจากกระดาษเปลือกไม้[3] ร่วมกับวรรณกรรมมากมายในภาษาตระกูลมายาที่เขียนด้วยอักษรละตินหลังจากถูกสเปนยึดครอง เป็นพื้นฐานความเข้าใจของประวัติศาสตร์สมัยก่อนโคลัมบัสในทวีปอเมริกาในปัจจุบัน
หมายเหตุ
แก้- ↑ รัฐบาลกัวเตมาลาถือว่า Achiʼ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Kʼicheʼ ถ้านับ Achiʼ ด้วย จะมีภาษาตระกูลมายาที่ยังพูดกันอยู่ 30 ภาษา
อ้างอิง
แก้- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Mayan". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ Spence et al. 1998.
- ↑ Kettunen & Helmke 2020, p. 6.