ดรูปัล (อังกฤษ: Drupal; สัท. /ˈdruː-pʌl/) เป็นเฟรมเวิร์กสำหรับมอจูลในการสร้างเว็บไซต์และระบบจัดการเนื้อหาเว็บในลักษณะโอเพนซอร์ซ เขียนขึ้นด้วยภาษาพีเอชพี โดยเริ่มพัฒนาใน พ.ศ. 2543 และกลายมาเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี พ.ศ. 2544[4] ดรูปัลถูกใช้งานเป็นระบบเบื้องหลังของเว็บไซต์หลายเว็บทั่วโลก ตั้งแต่เว็บไซต์ขนาดเล็กจนถึงเว็บไซต์หน่วยงานขนาดใหญ่ รวมถึงเว็บไซต์ราชการหลายแห่ง[5][6] และได้รับรางวัลชนะเลิศซอฟต์แวร์ระบบจัดการเนื้อหาเว็บยอดเยี่ยมแห่งปี ในปี 2550 และ 2551[7]

Drupal
ผู้ออกแบบDries Buytaert
วันที่เปิดตัวJanuary 2001 (2001-01)
รุ่นเสถียร
7.34[1] / 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 (2014-11-19)
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนPHP
ระบบปฏิบัติการหลายระบบปฏิบัติการ
ขนาด11.7 MB (uncompressed core)[2]
ภาษาMultilingual
ประเภทContent management framework, Content Management System , Community และ Blog software
สัญญาอนุญาตGPLv2 or later[3]
เว็บไซต์www.drupal.org

ระบบศูนย์กลางของดรูปัลที่รู้จักในชื่อ "ดรูปัลคอร์" (Drupal core) เป็นส่วนที่รวมการทำงานพื้นฐานของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ซึ่งได้แก่การลงทะเบียนผู้ใช้ การบริหารระบบ การจัดการเมนู ฟีด บล็อก ฟอรั่ม และการสร้างหน้าตาพื้นฐาน โดยในการทำงานของดรูปัลนั้น มักจะทำงานร่วมกับมอจูลตัวอื่นที่เพิ่มเข้ามาตามความต้องการของผู้ใช้งาน ดรูปัลสามารถติดตั้งได้ในพีเอชพี (รุ่น 4.3.5+) และฐานข้อมูล MySQL หรือ PostgreSQL[8] รุ่นที่รองรับปัจจุบันคือ ดรูปัล 6.x และ 7.x และรุ่นในอนาคต 8.x อยู่ในระหว่างการทดสอบและพัฒนา

ดรูปัลมีการนำเฟรมเวิร์กตัวอื่นมาร่วม อาทิ jQuery และ Symfony

ประวัติ

แก้

ดรูปัลเริ่มต้นเขียนขึ้นโดย ดรีส เบยทาร์ท (Dries Buytaert) โปรแกรมเมอร์ชาวเบลเยียมในปี พ.ศ. 2543 และได้กลายมาเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี 2544 โดยชื่อของ Drupal เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่รับจากภาษาดัตช์คำว่า "Druppel" ที่หมายถึง "หยดน้ำ" โดยชื่อที่ดรีส์ต้องการตั้งคือ "dorp" (หมายถึง หมู่บ้าน ในภาษาดัตช์) ซึ่งกล่าวถึงชุมชนผู้ใช้งาน แต่ได้สะกดผิดเป็น drop ในขณะที่ตรวจสอบ และคิดว่าชื่อนี้ฟังดูดีกว่า[4]

ระหว่างช่วง พฤษภาคม 2550-เมษายน 2551 ดรูปัลได้ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 1.4 ล้านครั้ง และถูกนำไปใช้งานในเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ดรูปัลได้รับรางวัลชนะเลิศระบบจัดการเนื้อหาเว็บยอดเยี่ยมสำหรับระบบพีเอชพี ในปี 2550 และ 2551 ซึ่งจัดอันดับโดยแพกต์พับลิชิง (Packt Publishing) [7]

การทำงาน

แก้

ดรูปัลทำงานโดยบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ใช้เป็นโปรแกรมเบื้องหลังของเว็บไซต์ในการจัดการระบบและฐานข้อมูลโดยความสามารถหลักทำงานผ่านดรูปัลคอร์ และความสามารถอื่นเพิ่มเติมทำงานผ่านมอจูลที่ติดตั้งเพิ่ม และธีมสำหรับการจัดการการแสดงผล ดรูปัลรองรับการทำงานในภาษาอื่นนอกเหนือภาษาอังกฤษจำนวนมากกว่า 44 ภาษา[9] นอกจากมอจูลและธีมที่เปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์แล้ว ดรูปัลเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปร่วมพัฒนาและแปลภาษา

ดรูปัลคอร์ (Drupal core)
เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งพื้นฐานที่พร้อมใช้งานในการสร้างเว็บไซต์ ที่รวมถึงความสามารถในการบริหารผู้ใช้งาน การลงทะเบียน การจัดหมวดหมู่ ระบบค้นหา และความสามารถพื้นฐานของการจัดหน้าตาเว็บ หรือบล็อก
มอจูล (module)
เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งเพิ่มเติม เพิ่มความสามารถเข้าไปเพิ่มจากคำสั่งพื้นฐานที่มี ซึ่งในเว็บไซต์ทั่วไปที่ใช้งานดรูปัลมักจะมีการติดตั้งมอจูลเพิ่มเสมอ โดยตัวอย่างความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาได้แก่ ระบบอีคอมเมิร์ซ ระบบการแสดงภาพสไลด์โชว์ การเชื่อมต่อกับระบบอื่น
ธีม (theme)
เป็นชุดของคำสั่งที่ควบคุมการแสดงผลทั้งในส่วนของเนื้อหาและหน้าตา โดยหน้าตาของเว็บจะจัดการผ่านซีเอสเอส แสดงลักษณะของตำแหน่ง สี และการจัดวางเนื้อหา และส่วนจัดการเนื้อหาทำงานผ่านเทมเพลต ที่แสดงผลตามความต้องการของผู้ใช้คร่อมทับการแสดงผลหลักของระบบผ่านภาษาพีเอชพี

ชุมชน

แก้

ดรูปัลมีการใช้งานในหลายเว็บไซต์ทั่วโลก ทั้งในเว็บไซต์ขนาดเล็กจนถึงเว็บไซต์ขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์รางวัลพูลิตเซอร์[10] (เว็บไซต์องค์กร) Popular Science (เว็บไซต์ข่าว) Yahoo! Research (เว็บไซต์หน่วยงาน) Ubuntu.org (เว็บไซต์ชุมชน) MTV United Kingdom และ Sony Music (เว็บไซต์บันเทิง) มหาวิทยาลัยแอมเฮิรตซ์ (เว็บไซต์สถานศึกษา) [5][6] Recovery.org (เว็บไซต์หน่วยงานราชการ) [11] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (เว็บไซต์องค์กร) [12] FukDuk (เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ไทย) [13]

ดรูปัลมีผู้ใช้งานทั่วโลก โดยมีผู้ลงทะเบียนในเว็บไซต์ Drupal.org กว่า 350,000 ชื่อบัญชี โดยมีมากกว่า 2,000 คนที่ลงชื่อเป็นนักพัฒนาอาสาสมัคร[14] โดยทางดรูปัลมีการจัดสัมมนาหลายครั้ง ในชื่อ ดรูปัลคอน (DrupalCon) โดยในปี 2551 จัดขึ้นที่บอสตัน มีผู้เข้ามาร่วมงานกว่า 800 คน และในปี 2552 จัดขึ้นที่ วอชิงตัน ดี.ซี. มีผู้เข้าชมกว่า 1,400 คน[15][16] และปารีส ในประเทศไทยมีการจัด ดรูปัลแคมป์บางกอก ในปี 2551[17]

ดรูปัลถูกวิจารณ์ว่าเป็นระบบที่ซับซ้อนและยากต่อการเรียนรู้ในช่วงเริ่มต้น โดยดรูปัลเป็นซอฟต์แวร์ที่มีเส้นโค้งการเรียนรู้ที่สูงชัน[18] ส่งผลให้ผู้ใช้ใหม่เลิกสนใจดรูปัลและหันไปใช้ซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานง่ายแทนที่ โดยดรีส์ผู้ก่อตั้งดรูปัลได้กล่าวว่าระบบการใช้งานที่ยากนี้จะถูกปรับปรุงในรุ่น ดรูปัล 7 ที่จะออกมา โดยซอฟต์แวร์จะไม่ถูกเปิดให้ใช้งานจนกว่า 90% ของปัญหาด้านนี้จะถูกแก้ไข[19]

อ้างอิง

แก้
  1. "Download page". drupal.org. สืบค้นเมื่อ 2014-11-19.
  2. "drupal 7.34". drupal.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-19. สืบค้นเมื่อ 2014-11-19.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ licensingfaq
  4. 4.0 4.1 "ประวัติอย่างเป็นทางการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
  5. 5.0 5.1 "Drupal case studies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-18. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  6. 6.0 6.1 "45 Drupal Sites Which You May Not Have Known Were Drupal Based". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-04. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  7. 7.0 7.1 "Drupal ชนะเลิศ CMS 2551". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-01. สืบค้นเมื่อ 2008-10-30.
  8. "Drupal System Requirements". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  9. Drupal Translations
  10. รายละเอียดเว็บไซต์พูลิตเซอร์
  11. Obama using Drupal
  12. Thaihealth.or.th[ลิงก์เสีย]
  13. "FuKDuK.tv V.2 - turn fukduk to Web2.0 (Drupal+AJAX)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2009-02-22.
  14. "Drupal.org stats". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  15. Washington Post. Rediscovering the Internet
  16. Drupalcon D.C.
  17. "Drupalcamp Bangkok". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-16. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  18. Harnessing Drupal for Citizen Journalism
  19. "Starting to work on Drupal 7"

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แก้
  • Douglass, Robert T., Mike Little, and Jared W. Smith. Building Online Communities With Drupal, phpBB, and WordPress. New York: Springer Verlag/Apress, 2005. ISBN 1590595629.
  • Gillmor, Dan. We the Media: Grassroots Journalism by the People for the People. Sebastopol, Calif.: O’Reilly, 2004. ISBN 0-596-00733-7.
  • Graf, Hagen. Drupal. Community-Websites entwickeln und verwalten mit dem Open Source-CMS. Munich: Addison-Wesley, 2006. ISBN 3827323215. (เยอรมัน)
  • Mercer, David. Drupal: Creating Blogs, Forums, Portals, and Community Websites. Birmingham, England: Packt Publishing, 2006. ISBN 1904811809.
  • Peacock, Michael. Selling Online with Drupal e-Commerce. Birmingham, England: Packt Publishing, 2008. ISBN 978-1-847194-06-0
  • Shreves, Ric. Drupal 5 Themes. Birmingham, England: Packt Publishing, 2007. ISBN 1847191827.
  • Trippi, Joe. The Revolution Will Not Be Televised: Democracy, the Internet, and the Overthrow of Everything. New York: ReganBooks, 2004. ISBN 0-06-076155-5.
  • VanDyk, John K., and Matt Westgate. Pro Drupal Development. New York: Springer Verlag/Apress, 2007. ISBN 1590597559.
  • VanDyk, John K. Pro Drupal Development, Second Edition. New York: Springer Verlag/Apress, 2008. ISBN 1430209895.
  • Herremans, D. Drupal 6: Ultimate Community Site Guide. Switzerland, 2009. ISBN 978-2-8399-0490-2.
  • Mansfield, Niall. Practical Drupal. Cambridge: UIT Cambridge Ltd, 2008. ISBN 095445295X.
  • Mercer, David. Drupal 6. Birmingham, England: Packt Publishing, 2008. ISBN 1847192971.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

ชุมชน

แก้