ดราฌา มิฮาอิลอวิช
ดราก็อลยุบ "ดราฌา" มิฮาอิลอวิช[a] (เซอร์เบีย: Драгољуб Дража Михаиловић; 27 เมษายน ค.ศ. 1893 – 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1946) เป็นนายพลชาวเซิร์บแห่งยูโกสลาเวียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์อย่างเด็ดเดี่ยว เขาได้ล่าถอยกองกำลังไปยังภูเขาที่อยู่ใกล้กับกรุงเบลเกรด เมื่อเยอรมันได้เข้ารุกรานยูโกสลาเวียในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 และได้จัดตั้งกลุ่มกองโจรที่รู้จักกันในนาม"กลุ่มแยกตัวของเชทนิกส์แห่งกองทัพยูโกสลาเวีย"
ดราฌา มิฮาอิลอวิช | |
---|---|
มิฮาอิลอวิชในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง | |
ชื่อเกิด | ดราก็อลยุบ มิฮาอิลอวิช |
ชื่อเล่น | "ลุงดราฌา" |
เกิด | 27 เมษายน ค.ศ. 1893 Ivanjica, ราชอาณาจักรเซอร์เบีย |
เสียชีวิต | 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1946 เบลเกรด เซอร์เบีย สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย | (53 ปี)
รับใช้ | ราชอาณาจักรเซอร์เบีย (1910–18) ราชอาณาจักรเซอร์เบีย, โครเอเชีย และสโลวีเนีย (1918–29) ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย (1929–45) |
แผนก/ | |
ประจำการ | 1910–45 |
ชั้นยศ | พลเอกแห่งกองทัพ[1] |
บังคับบัญชา | ขบวนการเชทนิกส์ |
การยุทธ์ | |
บำเหน็จ |
|
องค์กรนี้ได้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามว่า เชทนิกส์ แม้ว่าชื่อขององค์กรจะถูกเปลี่ยนในเวลาต่อมาเป็นกองทัพยูโกสลาเวียในปิตุภูมิ(JVUO, ЈВУО) ก่อตั้งขึ้นเป็นขบวนการต่อต้านยูโกสลาเวียกลุ่มแรก ที่เป็นฝ่ายจงรักภักดีต่อกษัตริย์และชาตินิยม เป็นฝ่ายปรปักษ์กับอีกฝ่าย กลุ่มพลพรรคของยอซีป บรอซ ตีโตที่เป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในช่วงแรก, ทั้งสองกลุ่มต่างได้ปฏิบัติการในแบบคู่ขนาน แต่เมื่อถึงปลายปี ค.ศ. 1941 ได้เริ่มต้นในการต่อสู้กับอีกฝ่ายในความพยายามที่จะเข้าควบคุมยูโกสลาเวียในช่วงหลังสงคราม กลุ่มเชทนิกส์ส่วนมากต่างให้ความร่วมมือหรือจัดตั้งความตกลงชั่วคราว (modus vivendi) กับฝ่ายอักษะ การให้ความร่วมมือของมิฮาอิลอวิชเองกับ Milan Nedić และ Dimitrije Ljotić ที่สงครามได้ยุติลง ภายหลังสงคราม, มิฮาอิลอวิชถูกจับกุมโดยฝ่ายคอมมิวนิสต์ เขาถูกนำตัวขึ้นศาลและถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหากบฏต่อแผ่นดินและอาชญากรรมสงครามโดยเจ้าหน้าที่คอมมิวนิสต์แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และต้องโทษประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าแบบชุดทีมในเบลเกรด ลักษณะและขอบเขตของความรับผิดชอบของเขาจากการให้ความร่วมมือและการสังหารหมู่ต่อเผ่าพันธุ์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 มิฮาอิลอวิชได้รับการกู้ชื่อเสียงภายหลังจากการพิจารณาคดีใหม่โดยศาลสูงสุดแห่งความยุติธรรม (Supreme Court of Cassation) ศาลอุทธรณ์สูงสุดในเซอร์เบีย
เชิงอรรถ
แก้หมายเหตุ
แก้- ↑ ผู้สนับสนุนของเขาเรียกว่า ลุงดราฌา (Чича Дража
อ้างอิง
แก้- ↑ Tomasevich 1975, p. 271.
- ↑ Draža Mihailović – Na krstu sudbine – Pero Simić: Laguna 2013
- ↑ Miloslav Samardzic: General Mihailović Draža i opšta istorija četničkog pokreta Draža General Mihailović and the general history of the Chetnik movement. 2 vols 4 Ed Novi pogledi, Kragujevac, 2005
- ↑ Draža Mihailović – Na krstu sudbine – Pero Simić: Laguna 2013
- ↑ Draža Mihailović – Na krstu sudbine – Pero Simić: Laguna 2013