ซันซาแห่งพรอว็องส์
ซันซาแห่งพรอว็องส์ (อังกฤษ: Sanchia of Provence; ค.ศ. 1228 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1261) เป็นบุตรสาวคนที่สามของราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งโพรว็องส์ กับเบียทริซแห่งซาวัว ซันซาถูกบรรยายไว้ว่า "งามเกินจะหาใดเทียบ"
ซันซาแห่งพรอว็องส์ | |
---|---|
ซันซาแห่งพรอว็องส์ | |
ราชินีของชาวโรมัน | |
ดำรงพระยศ | 13 มกราคม ค.ศ. 1257 – 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1261 |
ราชาภิเษก | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1257 |
ประสูติ | ค.ศ. 1228 |
สวรรคต | 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1261 (พระชันษา 32-33 ปี) ปราสาทเบอร์เคมสเต็ด, ฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ |
ฝังพระศพ | เฮลส์แอบบีย์, กลอสเตอร์เชียร์ |
คู่อภิเษก | ริชาร์ด เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์คนที่ 1 |
พระราชบุตร | เอ็ดมุนด์ เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์คนที่ 2 ริชาร์ดแห่งคอร์นวอลล์ |
ราชวงศ์ | บาร์เซโลนา |
พระราชบิดา | ราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งพรอว็องส์ |
พระราชมารดา | เบียทริซแห่งซาวัว |
ชีวประวัติ
แก้พี่น้องหญิงของซันซา มาร์การิดา, เอเลนอร์ และเบียทริซ เป็นพระมเหสีของหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส, เฮนรี่ที่ 3 แห่งอังกฤษ และชาร์ลที่ 1 แห่งซิซิลี ตามลำดับ ซันซาถูกกล่าวว่าดูนุ่มนวลว่าและน่ารักกว่าพี่สาว มาร์การิดาและเอเลนอร์
เคานเตสแห่งคอร์นวอลล์
แก้เอเลนอร์แห่งพรอว็องส์เป็นคนจัดแจงการเสกสมรสระหว่างพระขนิษฐาของพระองค์ ซันซา กับพระอนุชาของพระสวามี ริชาร์ด เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์คนที่ 1 ที่ภรรยาคนแรก อิซาเบล มาร์แชล เพิ่งตายไป ในตอนนั้น ซันซาถูกหมั้นมายกับเรย์มงด์ที่ 7 แห่งตูลูส แต่บทบาทที่อ่อนแอของเขาในการต่อสู้ที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นข้ออ้างที่ดีพอสำหรับการล้มเลิกสัญญา เอเลนอร์กับน้าชายของซันซา ปิแอร์ ถูกส่งไปเจรจาเรื่องการแต่งงานใน ค.ศ. 1242 น้าชายอีกคน ฟิลิป คุ้มกันความปลอดภัยของซันซาไปที่ราชสำนักอังกฤษในแกสโคนี ที่นั่น ทั้งคู่ได้เจอกับเอเลอนอร์และเฮนรี่ และพระธิดาคนใหม่ของทั้งคู่ เบียทริซ การเสกสมรสเกิดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์ในวันที่ 23 พฤศจิกายน[1]
ริชาร์ด แม้จะเป็นชายที่ร่ำรวยที่สุดในอาณาจักรอังกฤษและอาจจะในยุโรปด้วย แต่ก็เป็นแค่เจ้าชาย ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ เบียทริซแห่งซาวัว มารดาของเจ้าสาว มาที่อังกฤษเพื่อดูบุตรสาวคนที่สามแต่งงาน แต่บิดาของพระองค์ ราโมน บารังเกที่ 4 ถูกสถานะที่ยากลำบากกักตัวไว้ ภรรยาของเขาได้แก้ปัญหาด้วยการยืมเงิน 4,000 มาร์กจากเฮนรี่ที่ 3 ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานส่วนใหญ่เอามาจากเงินภาษีที่เรียกเก็บจากชาวยิวในประเทศ เป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ชาวยิวแต่ละคนได้รับหมายให้บริจาคเงินก้อนโต
แนวคิดเรื่องงานเฉลิมฉลองที่สุรุ่ยสุร่ายเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่าจานสามหมื่นใบถูกจัดเตรียมไว้ใช้ในงานเลี้ยงมื้อเย็น การแต่งงานกับเจ้าชายเชื้อพระวงศ์จากฝรั่งเศสและอังกฤษของสี่สาวพี่น้องจากพรอว็องส์พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศจนนำไปสู่สนธิสัญญาปารีส[2]
ราชินีของชาวโรมัน
แก้ริชาร์ดได้รับเลือกใน ค.ศ. 1256 ให้เป็นกษัตริย์แห่งเยอรมนีโดยเสียงส่วนใหญ่ของเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกทั้งเจ็ด มีพระยศคือกษัตริย์ของชาวโรมัน ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการได้รับพระนาม จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จากพระสันตะปาปา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1257 ราชทูตที่มาแจ้งข่าวการได้รับเลือกของริชาร์ดได้รับการต้อนรับในห้องโถงยาวที่ริชาร์ดกับซันซากำลังทานมื้อเย็นที่หรูหราและกล่าวกันว่า "ริชาร์ดยืนขึ้นเพื่อฟังสิ่งที่กลุ่มชายจากโบฮีเมียต้องพูดและจบลงด้วยการระเบิดน้ำตาออกมา จะทรงรับมงกุฎไว้ พระองค์กล่าว แต่ไม่ใช่ด้วยความละโมบหรือความทะเยอทะยาน เป้าหมายเดียวของพระองค์คือการช่วยฟื้นฟูความรุ่งเรืองให้รัฐเยอรมัน ความปรารถนาจากใจจริงของพระองค์คือเพื่อปกครองอย่างเป็นธรรมและดีงาม ชัดเจนสำหรับคณะผู้แทนจากเยอรมัน และผู้ติดตามกับข้าทาสจำนวนมากที่มาออกันในห้องโถงเพื่อรับฟัง ว่าพระองค์มีความสุขกับการได้เติมเต็มความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของตน เห็นได้ค่อนข้างชัดเช่นกันว่าซันซาเองก็ปลื้มปิติเกินกว่าจะตีค่าได้ ตอนนี้พระองค์จะได้เป็นราชินีเช่นเดียวกับพี่สาวทั้งสองที่คอยอุปถัมภ์พระองค์"
ซันซาได้รับการสวมมงกุฎราชินีของชาวโรมันพร้อมกับพระสวามีเมื่อ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1257 ที่มหาวิหารอาเคนในเยอรมนี พระองค์กับพระสวามีใช้เวลาสิบห้าเดือนต่อมาเดินทางไปในพื้นที่รอบๆไมนทซ์ ทั้งคู่รีบเดินทางกลับอังกฤษในตอนที่สถานการณ์ทางการเมืองที่นั่นเสื่อมถอยลง ซันซาเริ่มล้มป่วยในฤดูใบไม้ผลิของค.ศ. 1260 และสิ้นพระชนม์ในปีต่อมา ต่อหน้าพระโอรส เอ็ดมุนด์
พระโอรสธิดา
แก้ซันซามีพระโอรสสองคนกับริชาร์ดแห่งคอร์นวอลล์
- ริชาร์ดแห่งคอร์นวอลล์ (กรกฎาคม ค.ศ. 1246 - 15 สิงหาคม ค.ศ. 1246)
- เอ็ดมุนด์ เอิร์ลแห่งคอร์นวอลล์คนที่ 2 (ค.ศ. 1249-1300) แต่งงานกับมาร์การิดา เดอ แคลร์ (ตายค.ศ. 1312) ไม่มีบุตร
ริชาร์ดยังมีบุตรชายชื่อริชาร์ดกับภรรยาลับ โจแอน เดอ แวลตอต์ ที่บางครั้งถูกนำมาสับสนกับพระโอรสของซันซา
ซันซาสิ้นพระชนม์เมื่อ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1261 ที่ปราสาทเบอร์เคนสเต็ด และถูกฝังเมื่อ 15 พฤศจิกายน[3] ในเฮลส์แอบบีย์
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูล
แก้Cox, Eugene L. (1974). The Eagles of Savoy. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0691052166.
Sanders, I.J. (1951). "The Texts of the Peace of Paris, 1259". The English Historical Review. Oxford University Press. 66 (258): 81–97. doi:10.1093/ehr/lxvi.cclviii.81.