ซาโมซา
ซาโมซา (อักษรโรมัน: samosa; /səˈmoʊsə/) เป็นขนมทำจากแป้งอบหรือทอดสอดไส้ โดยใส้ทำมาจากวัตถุดิบหลายชนิด เช่น มันฝรั่ง, หอมใหญ่ และ ถั่วเขียว ใส่เครื่องเทศ ซาโมซามีหลายรูปแบบ ทั้งสามเหลี่ยม โคน จันทร์ครึ่งเสี้ยว[2][3][4] โดยทั่วไปนิยมทานซาโมซาเคียงกับชัตนีย์ ซาโมซาอาจมีที่มาตั้งแต่สมัยยุคกลางหรือก่อนหน้านั้น[2] ซาโมซาเป็นอาหารจานนิยมของเอเชียใต้, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง, แอฟริกาตะวันออก เป็นต้น
ซาโมซา เสิร์ฟเคียงชัตนีย์และพริกเขียว ในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย | |
ชื่ออื่น | Sambusa, samusa,[1] Siṅgaṛā/Siṅāṛā |
---|---|
ประเภท | แป้งสอดไส้ |
มื้อ | อองเทร, จานเคียง, ขนม |
ภูมิภาค | เอเชียใต้, ตะวันออกกลาง, แอฟริกาตะวันออก, เอเชียกลาง, ฯลฯ |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | ร้อน |
ส่วนผสมหลัก | แป้งและผัก, เครื่องเทศ |
คำว่า samosa มาจากภาษาฮินดี สโมสา ('samosa' ฮินดี: समोसा),[5] ซึ่งสามารถย้อนรากไปได้ถึงภาษาปาห์ลาวีคำว่า sanbosag (سنبوسگ)[6] ซึ่งแปลว่า "ขนมแป้งรูปสามเหลี่ยม"[7] นอกจากนี้ยังมีขนมแป้งคล้ายกัน เรียกว่า sambusak ในภาษาอาหรับ ในตำราอาหารอาหรับยุคกลางบางครั้งสะกดว่า sambusaj[8] ส่วนในแอฟริกาใต้นิยมใช้คำสะกดว่า samoosa[9]
ซาโมซามีที่มาจากเอเชียกลาง[10][11] ปรากฏการกล่าวถึงซาโมซาเก่าที่สุดในบทกวียุคอับซาซิด โดยกวี Ishaq al-Mawsili เขียนเชิดชู sanbusaj ส่วนสูตรอาหารพบในตำราอาหารของอาหรับยุคศตวรรษที่ 10-13 ภายใต้ชื่อต่าง ๆ เช่น sanbusak, sanbusaq และ sanbusaj ซึ่งล้วนเป็นคำที่มีรากมาจากคำภาษาเปอร์เซีย sanbosag ในอิหร่าน ซาโมซาเป็นที่นิยมจนถึงศตวรรษที่ 16 แต่ในศตวรรษที่ 20 ความนิยมมีอยู่แค่ในบางแคว้นเท่านั้น (เช่น sambusas ใน Larestan)[2] Abolfazl Beyhaqi (995–1077) นักประวัติศาสตร์ชาวอิหร่านระบุถึงซาโมซาในหนังสือประวัติศาสตร์ Tarikh-e Beyhaghi[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ "samosa". Oxford English Dictionary (2nd ed.). Oxford University Press. 1989.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Davidson, Alan (1999). The Oxford Companion to Food. Oxford University Press. ISBN 0-19-211579-0.
- ↑ Arnold P. Kaminsky; Roger D. Long (23 September 2011). Middle East Today: An Encyclopedia of Life in the Republic. ABC-CLIO. p. 151. ISBN 978-0-313-37462-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
- ↑ Reza, Sa’adia (18 January 2015). "Food's Holy Triangle". Dawn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2018. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
- ↑ "Samosa".
- ↑ Lovely triangles เก็บถาวร 8 มกราคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Hindustan Times, 23 August 2008.
- ↑ Nişanyan - Türkçe Etimolojik Sözlük: Samsa. accessed: 26 April 2021.
- ↑ Rodinson, Maxime, Arthur Arberry, and Charles Perry. Medieval Arab cookery. Prospect Books (UK), 2001. p. 72.
- ↑ "Samoosas in South African Cuisine". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 May 2019.
- ↑ Indigenous Culture, Education and Globalization: Critical Perspectives from Asia, Springer, 23 October 2015, p. 130, ISBN 9783662481592, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2019, สืบค้นเมื่อ 5 January 2019
- ↑ "TBI Food Secrets: Unravelling the Fascinating History of the Samosa, India's Favourite Street Snack". The Better India (ภาษาอังกฤษ). 2017-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
- ↑ Beyhaqi, Abolfazl, Tarikh-e Beyhaghi, p. 132.