ช่วงอายุปีอาเซนเซียน
ช่วงอายุปีอาเซนเซียน (อังกฤษ: Piacenzian) คือช่วงอายุใหม่สุดหรือหินช่วงอายุบนสุดของไพลโอซีนในธรณีกาลสากล กินเวลาตั้งแต่ 3.6 ± 0.005 ล้านปีถึง 2.588 ± 0.005 ล้านปี อยู่ถัดจากช่วงอายุแซนเคลียนและอยู่ก่อนหน้าช่วงอายุเจลาเซียน (ส่วนหนึ่งของสมัยไพลสโตซีน)
ช่วงอายุปีอาเซนเซียน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3.600 – 2.58 ล้านปีก่อน | |||||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | |||||||||||
| |||||||||||
นิรุกติศาสตร์ | |||||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ทางการ | ||||||||||
ข้อมูลการใช้ | |||||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | ||||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | ||||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีกาลของ ICS | ||||||||||
การนิยาม | |||||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | ช่วงอายุ | ||||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินช่วงอายุ | ||||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | ||||||||||
คำนิยามขอบล่าง | ฐานของการกลับขั้วแม่เหล็กเกาส์/กิลเบิร์ต (C2An/C2Ar) | ||||||||||
ขอบล่าง GSSP | ชั้นหินปันตา ปิกโกลา ปอร์โตเอมเปโดเกล แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี 37°17′20″N 13°29′36″E / 37.2889°N 13.4933°E | ||||||||||
การอนุมัติ GSSP | มกราคม 2540[4] | ||||||||||
คำนิยามขอบบน |
| ||||||||||
ขอบบน GSSP | ชั้นหินมอนเตซานิโกลา เมืองเจลา แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี 37°08′49″N 14°12′13″E / 37.1469°N 14.2035°E | ||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 2539 (ในฐานะฐานของช่วงอายุเจลาเซียน)[5] |
ช่วงอายุนี้อยู่ร่วมสมัยกันอย่างคร่าว ๆ กับช่วงอายุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกยุโรป MN 16 คาบเกี่ยวกับช่วงอายุชาปัดมาลาลันตอนปลายและช่วงอายุอูเกียนตอนต้นของช่วงอายุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกอเมริกาใต้ และอยู่ภายในช่วงอายุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกอเมริกาเหนือแบลงกัน นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับหินช่วงอายุแอสเชียน เรโดเนียน เรอูเบเรียน และ โรมาเนียน ซึ่งเป็นหินช่วงอายุท้องถิ่นของยุโรป เจ้าหน้าที่บางคนกล่าวว่าหมวดหินเรดแครกและหินช่วงอายุวัลโทเนียนนั้นอยู่ตอนปลายของช่วงอายุปีอาเซนเซียน[6][7] ในขณะที่ส่วนอื่นจะมองว่าอยู่ในช่วงต้นสมัยไพลสโตซีน[8][9]
ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงอายุนี้คล้ายกับปัจจุบัน ทำให้ในยุคนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 2–3 °ซ และระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณยี่สิบเมตร ซึ่งเป็นอุปมานสำคัญสำหรับการทำนายอนาคตของโลก[10]
นิยาม
แก้ช่วงอายุปีอาเซนเซียนถูกนำมาใช้โดยวรรณกรรมวิทยาศาสตร์โดยคาร์ล มาเยร์-อายมาร์ นักลำดับชั้นหินชาวสวิสในปี ค.ศ. 1858 โดยตั้งตามชื่อเมืองปีอาเซนซาในประเทศอิตาลี
ฐานของช่วงอายุนี้อยู่ที่ฐานของหินรุ่นแม่เหล็ก C2An (ฐานของหินรุ่นเกาส์และที่การสูญพันธุ์ของฟอรามินิเฟอราชนิดแพลงก์ตอน Globorotalia margaritae และ Pulleniatina primalis) และมี GSSP สำหรับหินช่วงอายุปีอาเซนเซียนอยู่ที่ปุนตาปิกโกลาในแคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี[11]
ขอบบนของช่วงอายุปีอาเซนเซียน (ฐานของหินยุคควอเทอร์นารีและหินสมัยไพลสโตซีน) ถูกนิยามว่าเป็นการลำดับชั้นสนามแม่เหล็กบรรพกาลโดยเป็นฐานของหินรุ่นมาสึยามะ (C2r) (ที่การสลับเกาส์–มาสึยามะ) และหินช่วงอายุไอโซโทป 103 เหนือจุดนี้ขึ้นไปเป็นการสูญพันธุ์ของซากดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กเนื้อปูน ได้แก่ Discoaster pentaradiatus และ Discoaster surculus[12]
ภูมิอากาศ
แก้ช่วงอายุปีอาเซนเซียนเป็นช่วงอายุสุดท้ายก่อนการเปลี่ยนสภาพโดยธารน้ำแข็งยุคควอเทอร์นารีจะเริ่มต้นขึ้นในซีกโลกเหนือ พืดน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาขยายออกมาน้อยกว่าในปัจจุบัน และระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 20 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอุ่นกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 2–3 °ซ ระหว่างยุคอบอุ่นกลางช่วงอายุปีอาเซนเซียน ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดอยู่ที่ประมาณ 389 ppm (ช่วง 381–427 ppm โดยมีความมั่นใจร้อยละ 95) ซึ่งใกล้เคียงกับในช่วงปี ค.ศ. 2010 ดังนั้นช่วงอายุนี้จึงสามารถใช้ในเชิงอุปมาของภูมิอากาศและระดับน้ำทะเล เพื่อคาดการณ์ว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะคงที่ในระดับหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็ง KM5c ในช่วงยุคอบอุ่นกลางช่วงอายุปีอาเซนเซียน ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการปรับวงโคจรใกล้เคียงกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีการกระจายทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับรังสีอาทิตย์บนผิวโลก[10]
ภูมิอากาศของช่วงอายุปีอาเซนเซียนจะเริ่มเแป็นช่วงที่ค่อนข้างอุ่นและชื้นในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากช่วงเวลาเย็นตัวลงของช่วงอายุแซนเคลียน การสะสมของตะกอนและมอลลัสกาของช่วงอายุนี้นั้นสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ทำให้เกิดใต้ทะเลทาไมอามี (Tamiami Subsea) และใต้ทะเลแจ็คสัน (Jackson Subsea) ของรัฐฟลอริดา, ใต้ทะเลดับลิน (Duplin Subsea) โดยทั่วไปของรัฐเซาท์แคโรไลนา และใต้ทะเลยอร์กทาวน์ (Yorktown Subsea) ของเอาเทอร์แบงส์และในแผ่นดินรัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยมีการกำหนดอายุตามสกุลและสปีชีส์ของมอลลัสกาที่พบ[13]
ต้นกำเนิดของสกุลโฮโม
แก้ตอนปลายของช่วงอายุปีอาเซนเซียนอาจเป็นช่วงเวลาที่สกุลโฮโมพัฒนาขึ้นมาจากสกุลออสตราโลพิเทคัส อันเป็นสกุลบรรพบุรุษ[14] ขณะที่ซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักที่ระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นมนุษย์ โฮโมแฮบิลิส นั้นมีอายุอยู่ในช่วงหลังจากสิ้นสุดช่วงอายุปีอาเซนเซียน (2.58 ล้านปีก่อน) แล้ว โดยเป็นกระดูกขากรรไกรที่มีลักษณะเฉพาะของการเปลี่ยนผ่านจาก ออสตราโลพิเทคัส ไปเป็น โฮโมแฮบิลิส ถูกค้นพบในสามเหลี่ยมแอฟาร์ในปี ค.ศ. 2015 โดยชาลาชิว เซโยอุม นักศึกษาชาวเอธิโอเปีย โดยเรียกบริเวณแหล่งค้นพบว่าแหล่งเลดี-เกรารู ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำมิลเลและแม่น้ำอาวัชในภาคแอฟาร์ ประเทศเอธิโอเปีย (ใกล้กับพิกัด 11°22′N 40°52′E / 11.36°N 40.86°E)[15][16] ตามหลักฐานทางธรณีวิทยาจากภาคแอฟาร์ บุคคลดังกล่าวนั้นจะมีชีวิตอยู่ในช่วงหลังจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศฉับพลันครั้งใหญ่ ซึ่งพื้นที่ป่าและทางน้ำถูกแทนที่อย่างรวดเร็วด้วยพื้นที่แห้งแล้งสะวันนา ในเรื่องของภาคแอฟาร์และตามที่ในวารสารไซเอินซ์นั้นระบุไว้ว่า "ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังได้บันทึกการหมุนเวียนของสัตวชาติ ซึ่งบ่งบอกถึงแหล่งที่อยู่อาศัยอันแห้งแล้งและเปิดกว้างมากกว่าที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในภาคนี้ จึงเป็นการสนับสนุนอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับสมมติฐานที่กล่าวว่าบทบาทของสิ่งแวดล้อมนั้น บังคับให้วงศ์ลิงมนุษย์วิวัฒนาการขึ้นในเวลานี้" การตีความนี้สอดคล้องกับสมมติฐานที่เน้นว่าทุ่งหญ้าสะวันนาในฐานะสภาพแวดล้อมของบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นตัวกำหนดการวิวัฒนาการของสกุลโฮโมและลิงอื่น ๆ ในยุคแรก[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ Krijgsman, W.; Garcés, M.; Langereis, C. G.; Daams, R.; Van Dam, J.; Van Der Meulen, A. J.; Agustí, J.; Cabrera, L. (1996). "A new chronology for the middle to late Miocene continental record in Spain". Earth and Planetary Science Letters. 142 (3–4): 367–380. Bibcode:1996E&PSL.142..367K. doi:10.1016/0012-821X(96)00109-4.
- ↑ Retallack, G. J. (1997). "Neogene Expansion of the North American Prairie". PALAIOS. 12 (4): 380–390. doi:10.2307/3515337. JSTOR 3515337. สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
- ↑ "ICS Timescale Chart" (PDF). www.stratigraphy.org.
- ↑ Castradori, D.; D. Rio; F. J. Hilgen; L. J. Lourens (1998). "The Global Standard Stratotype-section and Point (GSSP) of the Piacenzian Stage (Middle Pliocene)" (PDF). Episodes. 21 (2): 88–93. doi:10.18814/epiiugs/1998/v21i2/003. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
- ↑ Rio, Domenico; R. Sprovieri; D. Castradori; E. Di Stefano (1998). "The Gelasian Stage (Upper Pliocene): A new unit of the global standard chronostratigraphic scale". Episodes. 21 (2): 82–87. doi:10.18814/epiiugs/1998/v21i2/002.
- ↑ "Red Crag Formation". British Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 5 August 2016.
- ↑ "Global Chronostratigraphical Correlation Table for the Last 2.7 Million Years. v.2011". University of Cambridge. สืบค้นเมื่อ 5 August 2016.
- ↑ "The Naze citation" (PDF). Sites of Special Scientific Interest. Natural England. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 5 August 2016.
- ↑ Allaby, Michael (2013). Oxford Dictionary of Geology & Earth Sciences (4th ed.). Oxford University Press. p. 626. ISBN 978-0-19-96530 6-5.
- ↑ 10.0 10.1 de la Vega, E.; Chalk, T. B.; Wilson, P. A.; Bysani, R. P.; Foster, G. L. (2020). "Atmospheric CO2 during the Mid-Piacenzian Warm Period and the M2 glaciation". Scientific Reports. 10 (1): 11002. doi:10.1038/s41598-020-67154-8. PMC 7347535.
- ↑ Castradori et al. (1998)
- ↑ Gadstein et al. (2005), p. 28; Rio et al. (1998)
- ↑ Petuch, Edward J., Ph.D. Florida Atlantic University, Department of Geodsciences. Cenozoic Seas: The View From Eastern North America. CRC Press, Dec. 29, 2003. ISBN 0-8493-1632-4.
- ↑ Pallab Ghosh (4 March 2015). "'First human' discovered in Ethiopia". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 March 2015.
- ↑ "Oldest known member of human family found in Ethiopia". New Scientist. 4 March 2015. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
- ↑ Ghosh, Pallab (4 March 2015). "'First human' discovered in Ethiopia". bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 7 March 2015.
- ↑ Erin N. DiMaggio EN; Campisano CJ; Rowan J; Dupont-Nivet G; Deino AL; และคณะ (2015). "Late Pliocene fossiliferous sedimentary record and the environmental context of early Homo from Afar, Ethiopia". Science. 347 (6228): 1355–9. doi:10.1126/science.aaa1415. PMID 25739409.