ชุบชีวิตลาซารัส (คาราวัจโจ)
ชุบชีวิตลาซารัส (ภาษาอังกฤษ: The Raising of Lazarus) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยคาราวัจโจจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลีที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เรจิโอนาเล, เมสสินาในประเทศอิตาลี ภาพ “ชุบชีวิตลาซารัส” เขียนเสร็จราวปี ค.ศ. 1609
ชุบชีวิตลาซารัส | |
---|---|
ศิลปิน | คาราวัจโจ |
ปี | ราว ค.ศ. 1609 |
ประเภท | จิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ |
สถานที่ | พิพิธภัณฑ์เรจิโอนาเล, เมสสินา |
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1608 คาราวัจโจหนีจากมอลตาที่ที่ถูกจำขังโดยไม่ทราบข้อหาไปพำนักอยู่ที่ซิซิลีกับเพื่อนศิลปินมาริโอ มินนิติ (Mario Minniti) จากความช่วยเหลือของมินนิติคาราวัจโจก็ได้รับงานสำคัญหลายชิ้นรวมทั้งภาพนี้สำหรับวัดที่เมสสินา ที่ถูกนำเสนอให้กับพ่อค้าผู้มั่งคั่งจากเจนัว จิโอวานนิ บัตติสตา เดลัซซาริเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1609 ค่าจ้างสำหรับงานชิ้นนี้เป็นจำนวนหนึ่งพันสคุดิซึ่งมากกว่าสองเท่าของจำนวนที่คาราวัจโจได้รับก่อนหน้านั้น
พระวรสารนักบุญจอห์นกล่าวถึงนักบุญลาซารัสพี่ของมาร์ธาและนักบุญแมรี แม็กดาเลนที่ล้มป่วย, เสียชีวิต, ถูกฝัง และในที่สุดก็ถูกชุบชีวิตโดยพระเยซู ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับภาพอื่นของคาราวัจโจที่เขียนในช่วงเดียวกันที่ฉากหลังเป็นเพียงผนังว่างๆ ที่ทำให้ผู้อยู่ในภาพดูเล็กลงมาก ปฏิกิริยาต่อกันและกันของคนในภาพมีความรู้สึกร่วมกันในทางอารมณ์โดยมีช่องว่างใหญ่อยู่ด้านบนซึ่งต่างจากการเน้นนาฏกรรมอย่างใกล้เคียงเช่นที่เคยทำกันมาก่อน และตามแบบฉบับของคาราวัจโจแสงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างนาฏกรรมที่ทำให้เห็นรายละเอียดเช่นมือของลาซารัส มือหนึ่งปล่อยและหงายขึ้นเหมือนจะรับและอีกมือหนึ่งยื่นไปทางพระเยซู และใบหน้าที่ตื่นตระหนกของผู้เห็นเหตุการณ์
เรื่องที่เล่ากันว่าคาราวัจโจให้คนขุดร่างคนที่เพิ่งถูกฝังขึ้นมาเป็นแบบเขียนเป็นเรื่องที่ “น่าจะไม่ใช่เรื่องจริง แต่ก็ไม่เกินเลยเกินกว่าความเป็นไปได้”[1] ตัวแบบบางคนกล่าวกันว่าเป็นผู้คนในชุมชนนั้น แต่คาราวัจโจก็ใช้ความทรงจำ การวางรูปทั้งหมดมีพื้นฐานมาจากภาพพิมพ์ลายแกะโดยจูลีโอ โรมาโน และภาพพระเยซูเป็นภาพกลับด้านกับภาพพระเยซูในภาพ “พระเยซูเรียกนักบุญแม็ทธิว” ภาพเขียนอยู่ในสภาพที่ไม่ดีนักและได้รับการซ่อมอย่างมากและอาจจะเป็นไปได้ว่าบางส่วนเขียนโดยผู้ช่วย
สิ่งที่น่าสังเกตในภาพนี้อีกอย่างหนึ่งคือความแตกต่างระหว่างร่างที่อ่อนระทวยของมาร์ธาและแมรี แม็กดาเลนผู้ที่เต็มไปด้วยความระทมกับร่างที่แข็งของลาซารัสพี่ชาย ในพระวรสารมาร์ธาๆ กล่าวเตือนพระเยซูว่าลาซารัสตายมาได้สี่วันแล้วและคงจะมีกลิ่น แต่ในภาพนี้ไม่มีใครที่แสดงท่าขยะแขยงกับกลิ่น เพราะปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้น
งานเขียนเกี่ยวกับศาสนาของคาราวัจโจมักจะเน้นความทุกข์, ความทรมานและความตาย
อ้างอิง
แก้- ↑ John Gash, Caravaggio (2003), ISBN 1-904449-22-0
- Peter Robb, M (1998), ISBN 0-312-27474-2, ISBN 0-7475-4858-7
- Helen Langdon, Caravaggio: A Life (1998), ISBN 0-374-11894-9
ดูเพิ่ม
แก้