ชื่น ระวิวรรณ
นายชื่น ระวิวรรณ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอดีตรัฐมนตรีของไทยที่ไม่ได้ประจำกระทรวง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย 6 สมัย
ชื่น ระวิวรรณ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม – 8 เมษายน พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร | |
ดำรงตำแหน่ง 8 เมษายน – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล ถนอม กิตติขจร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2457 |
เสียชีวิต | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 (79 ปี) |
พรรคการเมือง | ชาติไทย |
การทำงาน
แก้ชื่น ระวิวรรณ เข้าสู่งานการเมืองในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองคาย และได้รับเลือกตั้งอีก 4 สมัยต่อเนื่องมา คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[1] (สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500[2] และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 (สังกัดพรรคสหประชาไทย)
ชื่น ระวิวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] โดยมีพลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และสิ้นสุดลง เนื่องจากคณะทหารได้ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร
ในปี พ.ศ. 2501 ชื่น ระวิวรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร สั่งราชการกระทรวงเกษตร[4] ต่อมาในเดือนเมษายนของปีเดียวกันจึงปรับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[5] ซึ่งมีนายวิบูลย์ ธรรมบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ และสิ้นสุดลง เพราะนายกรัฐมนตรีกราบถวายบังคมลาออก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 และในวันนั้นเองได้มีคณะปฏิวัติอันมี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้า ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ และสถาบันทั้งหลายอยู่ในความควบคุมของคณะปฏิวัติตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป[6]
ชื่น ระวิวรรณ กลับสู่การเมืองอีกครั้ง โดยได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ในนามพรรคชาติไทย
นายชื่น มีบุตรชายได้แก่ พิชัย ระวิวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 14 และบุตรีได้แก่ ทองมาก รามสูตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 12
สถานที่
แก้- ห้องชื่น ระวิวรรณ โรงพยาบาลหนองคาย[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งรัฐมนตรีสั่งราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (นายเสวตร เปี่ยมพงษ์สานต์ นายชื่น ระวิวรรณ พลตรี เนตร เขมะโยธิน นายทิม ภูริพัฒน์ นายอารีย์ ตันติเวชกุล)
- ↑ ครม.28[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ข่าวประชาสัมพันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-24. สืบค้นเมื่อ 2018-07-18.