ชีวิตของพระเยซู
ชีวิตของพระคริสต์ (อังกฤษ: Life of Christ) เป็นฉากชุดจากชีวิตบนโลกของพระเยซูที่เป็นหัวเรื่องที่ใช้ในการเขียนภาพชุดในศิลปะศาสนาคริสต์ มักจะเป็นชุดเอกลักษณ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุดชีวิตของพระนางพรหมจารี จำนวนฉากก็ต่างกันไปตามแต่เนื้อที่ใช้วาดภาพ ลักษณะการสร้างงานก็อาจจะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมแผง หน้าต่างประดับกระจกสี เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร พรมทอแขวนผนัง งานสลักหิน งานแกะงาช้างและอื่น ๆ บางฉากก็เป็นภาพเขียนเดี่ยว ๆ เช่น “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” ที่นิยมเขียนกันมาก
ชุดที่นิยมเขียนกันก็ได้แก่ชุดที่เกี่ยวกับการประสูติและพระทรมานของพระเยซู ที่นำไปสู่การตรึงพระเยซูที่กางเขนและการคืนพระชนม์ แต่ภาพเขียนที่เกี่ยวกับการเทศนาก่อนที่จะถึงเหตุการณ์ในวาระสุดท้ายของพระองค์แทบจะไม่เขียนกันในยุคกลางด้วยเหตุผลหลายอย่าง[1]
ฉากที่นิยมเขียนกันมาก
แก้ฉากหลัก ๆ ก็ได้แก่:[2]
ประสูติและปฐมวัย
แก้ฉากในรายการนี้อาจจะใช้เป็นฉากในภาพชุด “ชีวิตของพระนางพรหมจารี”:
- “แม่พระรับสาร” (Annunciation) - ภาพกาเบรียลทูตสวรรค์แจ้งสารการมาประสูติของพระเยซู
- “การประสูติของพระเยซู” (Nativity)
- “การนมัสการของโหราจารย์” (Adoration of the Magi)
- “พระเยซูเข้าสุหนัต” (Circumcision of Christ)
- “การถวายพระกุมารในพระวิหาร” (Presentation of Jesus)
- “การหนีไปอียิปต์” (Flight to Egypt) หรือ “การประหารทารกผู้วิมล” (Massacre of the Innocents)
- “พระเยซูในหมู่นักปราชญ์” (Finding in the Temple) ซึ่งเป็นฉากสุดท้ายเมื่อยังทรงพระเยาว์ที่กล่าวถึงในพระวรสารในสารบบ
ปฏิบัติพระภารกิจ
แก้- “พระเยซูทรงรับบัพติศมา” (Baptism of Jesus)
- “ปาฏิหาริย์จับปลา” (Miraculous Draught of Fish) มักจะเป็นส่วนหนึ่งของภาพเกี่ยวกับชีวิตของอัครสาวก
- “พระเยซูผจญมาร” (Temptation of Christ) มักจะแบ่งเป็นสามตอน
- “งานแต่งงานที่คานา” (Wedding at Cana) เป็นฉากปาฏิหาริย์ฉากแรกที่กล่าวถึงในพระวรสาร และเป็นฉากเดียวที่มีพระแม่มารีอยู่ในฉากด้วย
- “Samaritan woman at the well”
- “พระเยซูทรงจำแลงพระกาย” (Transfiguration of Jesus)
- “การคืนชีพของลาซารัส” (Raising of Lazarus)
พระทรมาน
แก้- “พระเยซูอำลามารดา” (Christ taking leave of his Mother) เป็นหัวข้อที่เริ่มเขียนกันในปลายยุคกลาง - ไม่กล่าวถึงในพระวรสารฉบับใด
- “วันอาทิตย์ใบลาน” (Palm Sunday)
- “พระเยซูกำจัดคนแลกเงิน” (Jesus and the money changers) มักจะนิยมเขียนเป็นภาพเดี่ยวตั้งแต่สมัยเรเนอซ็องท์เป็นต้นมา
- “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” (Last Supper) และ พระเยซูล้างเท้าอัครทูต (Washing of feet)
- “พระเยซูในสวนเกทเสมนี” (Agony in the Garden)
- “พระเยซูถูกจับ” (Arrest of Jesus)
- “พระเยซูถูกพิพากษา” (Sanhedrin Trial of Jesus)
- “พระเยซูต่อหน้าปีลาต” (Christ before Pontius Pilate )
- “พระเยซูถูกเฆี่ยน” (Flagellation of Christ)
- “พระเยซูทรงมงกุฏหนาม” (The Crowning with Thorns)
- “คนนี้ไงล่ะ” (Ecce homo)
- “พระเยซูทรงแบกกางเขน” (Christ carrying the Cross)
- “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” (Crucifixion of Jesus) มักจะแบ่งเป็นฉากย่อย ๆ
- “การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน” (Deposition of Christ)
- “โทมนัสกับร่างพระเยซู” (Lamentation of Christ)
- “สรงน้ำมันหอมพระเยซู” (Epitaphios หรือ Anointing of Christ)
- “การบรรจุพระศพพระเยซู” (Entombment of Christ)
- “การเสด็จสู่แดนผู้ตาย” (Harrowing of Hell) ไม่ได้อยู่ในพระวรสาร
- “การคืนพระชนม์ของพระเยซู” (Resurrection of Jesus)
- “อย่าหน่วงเหนี่ยวเราไว้” (Noli me tangere)
- “พระเยซูพบเอ็มมาอุส” (Meeting Emmaus หรือ Supper at Emmaus)
- “ความกังขาของนักบุญทอมัส” (Doubting Thomas)
- “พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์” (Ascension of Jesus)
อ้างอิง
แก้ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ภาพชุดชีวิตของพระเยซูจากสมัยโรมาเนสก์ “หนังสือสวดมนต์เซนต์อัลบัน” เก็บถาวร 2006-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ภาพชุดชีวิตของพระเยซูในวัดประจำท้องถิ่นในอังกฤษ
- วิทยานิพนธ์ภาพชุดชีวิตของพระเยซูพระคัมภีร์อาวิลา โดยมอนิคา แอนน์ วอล์คเคอร์-วาดิลโล เก็บถาวร 2021-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ขนาดไฟล์ 6.5MB)
- ภาพชุดชีวิตของพระเยซูโดยดือเรอร์ เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก พิพิธภัณฑ์ศิลปะฮาร์วาร์ด
- รูปสัญลักษณ์ในคริสต์ศาสนา จากมหาวิทลัยแห่งรัฐออกัสตา