มณฑลชิงไห่
มณฑลชิงไห่ (จีน: ) เป็นมณฑลหนึ่งในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมณฑลที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 และมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 3 มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด คือ ซีหนิง
มณฑลชิงไห่ 青海省 | |
---|---|
การถอดเสียงชื่อมณฑล | |
• ภาษาจีน | ชิงไห่เฉิ่ง (青海省 Qīnghǎi Shěng) |
• อักษรย่อ | QH / ชิง (青 Qīng) |
ภูมิภาค Hoh Xil แหล่งมรดกโลก | |
แผนที่แสดงที่ตั้งของมณฑลชิงไห่ | |
พิกัด: 35°N 96°E / 35°N 96°E | |
ตั้งชื่อจาก | มาจากชื่อทะเลสาบชิงไห่ (แปลจากภาษามองโกล Köke Nayur) 青 ชิง - เขียว/น้ำเงิน 海 ไห่ - ทะเล ทะเลสีเขียว/น้ำเงิน |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | ซีหนิง |
จำนวนเขตการปกครอง | 8 จังหวัด, 43 อำเภอ, 429 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | หวาง เจี้ยนจุน (王建军) |
• ผู้ว่าการ | หลิว หนิง (刘宁) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 720,000 ตร.กม. (280,000 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 4 |
ความสูงจุดสูงสุด | 6,860 เมตร (22,510 ฟุต) |
ประชากร (ค.ศ. 2010)[2] | |
• ทั้งหมด | 5,626,722 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 30 |
• ความหนาแน่น | 7.8 คน/ตร.กม. (20 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 30 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | ฮั่น – 54% ทิเบต – 21% หุย – 16% ถู่ – 4% มองโกล – 1.8% ซาลาร์ – 1.8% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลาง, Amdo Tibetan, ภาษามองเกอร์, Oirat Mongolian, ภาษาซาลาร์ และ Western Yugur |
รหัส ISO 3166 | CN-QH |
GDP (ค.ศ. 2017)[3] | 264.28 พันล้านเหรินหมินปี้ 39.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 30) |
• ต่อหัว | 44,348 เหรินหมินปี้ 6,568 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 23) |
HDI (ค.ศ. 2018) | 0.686[4] ปานกลาง · อันดับที่ 28 |
เว็บไซต์ | http://www.qh.gov.cn/ (อักษรจีนตัวย่อ) |
มณฑลชิงไห่มีชื่อย่อ คือ ชิง (青) คำว่า "ชิงไห่" แปลว่าทะเลสีเขียว ซึ่งเป็นชื่อของทะเลสาบชิงไห่ทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดของจีนที่อยู่ในเขตมณฑลนี้ มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม 721,000 ตารางกิโลเมตร
ภูมิศาสตร์
แก้มณฑลชิงไห่มีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และมณฑลกานซู่ ประเทศจีน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตปกครองตนเองทิเบต และมณฑลเสฉวน ประเทศจีน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลกานซู่ ประเทศจีน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และเขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนของ "หลังคาโลก" (ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต) อยู่เหนือระดับน้ำทะเลราว 1,650-6,860 เมตร พื้นที่เป็น เขาสูง ทะเลสาบ ทุ่งหญ้าและทะเลทราย
เป็นสภาพอากาศแบบภาค พื้นทวีป มีฤดูหนาวยาวนาน แต่ไม่หนาวมาก ฤดูร้อนสั้นและเย็นสบาย อุณหภูมิระหว่างท้องที่ต่าง ๆ แตกต่างกันมาก ทรัพยากร แร่ธาตุที่ค้นพบปริมาณ สะสมแล้วมี 105 ชนิด ในนั้น 50 ชนิดติดอันดับ 1 ใน 10 ของประเทศ ได้แก่ โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม
ประชากร
แก้ประชากร 5,390,000 (อันดับที่ 30) ความหนาแน่น 7.48/ก.ม.² จีดีพี 46.57 พันล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 29) ต่อประชากร 8640 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น
เศรษฐกิจ
แก้การเติบโตในภาคอุตสาหกรรม คิดเป็น 17.1% เกษตรกรรม พื้นที่เพาะปลูกลดลง 12.9%
อ้างอิง
แก้- ↑ "Qinghai Province". Qinghai Province Department of Commerce. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2013.
- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census [1] (No. 2)". National Bureau of Statistics of China. 29 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2013. สืบค้นเมื่อ 4 August 2013.
- ↑ 青海省2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Qinghai Province on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Qinghai Province. 2018-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-22. สืบค้นเมื่อ 2018-06-22.
- ↑ "Sub-national HDI – Subnational HDI – Global Data Lab". globaldatalab.org. สืบค้นเมื่อ 2020-04-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มณฑลชิงไห่
- คู่มือการท่องเที่ยว Qinghai จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ทางการ