ชาลส์ ฟรานซิส "ชัก" ฟีนีย์ (เกิด 23 เมษายน 2474 – 9 ตุลาคม 2566)[2] เป็นนักธุรกิจและนักการกุศลชาวไอร์แลนด์-อเมริกัน และผู้จัดตั้งมูลนิธิการกุศล The Atlantic Philanthropies ซึ่งเป็นมูลนิธิส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดในโลกมูลนิธิหนึ่ง เขากลายเป็นมหาเศรษฐีโดยเป็นผู้ร่วมจัดตั้งบริษัท Duty Free Shoppers Group (ปัจจุบัน DFS) แนวคิดเกี่ยวกับการขายสินค้าปลอดภาษีชั้นดีกับคนเดินทางเป็นเรื่องที่ยังไม่นิยมเมื่อนายฟีนีย์พร้อมกับเพื่อนได้จัดตั้ง DFS ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2503 DFS เริ่มกิจการในฮ่องกง (ซึ่งก็ยังมีสำนักงานใหญ่ในที่นั้น) แล้วภายหลังจึงขยายไปยังยุโรปและทวีปอื่น ๆ ความก้าวหน้าสำคัญครั้งแรกสุดของบริษัทเกิดขึ้นในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 เมื่อบริษัทได้สัมปทานแบบผูกขาดในการขายสินค้าปลอดภาษีในรัฐฮาวาย ทำให้สามารถขายสินค้าต่อผู้เดินทางชาวญี่ปุ่น บริษัทในที่สุดก็ขยายเป็นร้านสินค้าปลอดภาษีนอกสนามบินและร้านสรรพสินค้าในเมือง (Galleria) ขนาดใหญ่ จนกลายเป็นห้างขายของสำหรับคนเดินทางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 2539 บริษัทสินค้าฟุ่มเฟือยฝรั่งเศสหลุยส์ วิตตอง ได้ซื้อหุ้นของนายฟีนีย์ในราคา 1,630 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 41,335 ล้านบาทปีนั้น หรือ 86,877 ล้านบาทกลางปี 2559) ในเดือนมีนาคม 2554 นิตยสาร Irish America ได้เพิ่มรายชื่อเขาในทำเนียบผู้มีชื่อเสียงของนิตยสาร (Irish America magazine's Hall of Fame)[3] ในปี 2540 นิตยสารไทม์ บันทึกไว้ว่า "คุณความดีของนายฟีนีย์สามารถจัดเป็นอันดับยอด ๆ ของคนอเมริกันที่ยังมีชีวิตอยู่"[4]

ชัก ฟีนีย์
(Chuck Feeney)
เกิดชาลส์ ฟรานซิส ฟีนีย์
23 เมษายน ค.ศ. 1931(1931-04-23)
เมืองเอลิซาเบธ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต9 ตุลาคม ค.ศ. 2023(2023-10-09) (92 ปี)[1]
ซานฟรานซิสโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
พลเมืองไอร์แลนด์-อเมริกัน (2 สัญชาติ)
การศึกษามหาวิทยาลัยคอร์เนล คณะบริหารโรงแรม
อาชีพนักธุรกิจและนักการกุศล
มีชื่อเสียงจากองค์กรการกุศล The Atlantic Philanthropies
คู่สมรสแดเนียล (หย่า) ; เฮลกา
บุตรจูเลียต, แคโรลีน, ไดแอน, เลสลี, และแพทริก
รางวัลCornell Icon of Industry Award, Honorary Doctorate of Laws from all universities in Ireland, North and South, Republic of Ireland’s Presidential Distinguisted Service Award for Irish Abroad, UCSF Medal, Irish-America Magazine’s Hall of Fame, The Forbes 400 Lifetime Achievement Award For Philanthropy.

ชีวิตส่วนตัว

แก้

ชาลส์ ฟีนีย์ เป็นคนสองสัญชาติคือไอร์แลนด์และอเมริกัน[5] เขาเกิดในรัฐนิวเจอร์ซีย์ช่วงระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่และมาจากครอบครัวคนงานที่ไม่ร่ำรวยในเมืองเอลิซาเบธ ประเทศสหรัฐอเมริกา บรรพบุรุษของเขามาจากไอร์แลนด์เหนือ เขาเป็นทหารกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่วิทยุในระหว่างสงครามเกาหลี และเริ่มอาชีพโดยขายสุราปลอดภาษีให้กับเจ้าหน้าที่นาวิกโยธินในเมืองท่าทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950[6]

เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลคณะบริหารโรงแรม[2] ในปี 2553 เขาได้รับรางวัล Icon of Industry Award (ดาวนักอุตสาหกรรม) จากมหาวิทยาลัย[7]

ในปี 2555 มหาวิทยาลัยของประเทศไอร์แลนด์ทั้งหมด ทั้งเหนือและใต้ ได้ร่วมกันให้ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ในสาขานิติศาสตร์แก่เขา[8] ในปีเดียวกัน เขายังได้รับรางวัลจากประเทศไอร์แลนด์ คือ Presidential Distinguished Service Award (รางวัลการรับใช้ดีเด่นของประธานาธิบดี)[9] และจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก คือ UCSF Medal[10] เหตุการบริจาคส่วนตัวที่ดีเด่นต่อมหาวิทยาลัยในด้านสาธารณสุข นายฟีนีย์มีลูกสาว 4 คน และลูกชาย 1 คน ได้แต่งงานแล้วสองครั้ง ภรรยาคนแรกชื่อว่าแดเนียลเป็นคนฝรั่งเศส ภรรยาคนที่สองมีนามว่าเฮลกา เขารู้จักกันดีว่าเป็นคนมัธยัสถ์[11][12]

อาชีพ

แก้

นายฟีนีย์เป็นผู้ร่วมจัดตั้งบริษัท Duty Free Shoppers Group (ปัจจุบัน DFS) ที่ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐี[13] ในปี 2527 นายฟีนีย์ได้โอนหุ้นทั้งหมดของบริษัทที่เขาเป็นเจ้าของ 38.75% มีค่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อนิติบุคคลที่ต่อมากลายเป็นมูลนิธิการกุศล Atlantic Philanthropies[11]

การกุศล

แก้

ปรัชญา

แก้

นายฟีนีย์กล่าวว่า "ผมมีไอเดียอย่างหนึ่งในใจของผมที่ไม่เคยเปลี่ยน คือ คุณควรใช้ความมั่งมีของคุณเพื่อช่วยคน" "ผมพยายามที่จะใช้ชีวิตธรรมดา เหมือนกับเมื่อผมโตขึ้น" "ผมตั้งใจที่จะทำงานอย่างขยันขันแข็ง ไม่ใช่เพื่อจะรวย"[6] มูลนิธิเผยแพร่รายงานที่อธิบายหลักการให้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ของนายฟีนีย์ และผลที่คงยืนของการให้ของเขาต่อวงการกุศลในปี 2553 และได้แสดงประวัติโดยย่อของนายฟีนีย์และนักการกุศลอื่น ๆ ที่ให้ในลักษณะเดียวกันและผลจากการให้ของพวกเขา นายฟีนีย์ปกติไม่เผยแพร่ชื่อเสียงในเรื่องบริจาคทรัพย์ทั้งหมดของเขา เขาได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อน้อยมาก[14]

มูลนิธิ

แก้

นายฟีนีย์จัดตั้งองค์กรกุศล The Atlantic Philanthropies ในปี 2525 และในปี 2527 หลังจากที่ได้แบ่งทรัพย์เพื่อตน เพื่อลูก ๆ และภรรยาคนแรก เขาได้โอนทรัพย์สินส่วนมากไปให้กับมูลนิธิ โดยเดือนตุลาคม 2555 มูลนิธิได้บริจาคเงินรวมกันไปแล้วกว่า 6,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 190,932 ล้านบาทในปี 2555) และมีแผนที่จะบริจาคทุนที่เหลืออีก 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 46,069 ล้านบาทโดยปลายปี 2559) โดยปี 2559[15] มูลนิธิสนับสนุนโครงการทางสุขภาพและสังคมในประเทศออสเตรเลีย เบอร์มิวดา ไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม เป็นผู้บริจาคใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในแต่ละประเทศที่มูลนิธิมีโครงการ[16] และเป็นผู้ให้ทุนใหญ่ที่สุดในเรื่องความชราและการเปลี่ยนกฎหมายการอพยพในสหรัฐอเมริกา[17][18][19] ในเดือนธันวาคม 2554 มูลนิธิสัญญาเงินทุน 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 10,668 ล้านบาทปี 2554) เพื่อช่วยสร้างวิทยาเขตไฮเถ็กใหม่สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลที่เกาะรูสเวลต์ในนครนิวยอร์ก[12] ในเดือนตุลาคม 2558 มูลนิธิได้บริจาคเงินให้แบบหลายปีรวมกันเป็น 177 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6,063 ล้านบาทปี 2558) เพื่อสร้างสถาบันสุขภาพสมองโลก (Global Brain Health Institute) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก และ Trinity College Dublin เพื่อช่วยการวิจัยภาวะสมองเสื่อม[20]

การศึกษา

แก้

นายฟีนีย์เป็นผู้บริจาคคนสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยเก่าของเขาคือคอร์เนล ซึ่งได้รับการบริจาคกว่า 950 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งโดยส่วนตัวและผ่านมูลนิธิ รวมทั้งเงินบริจาค 350 ล้านดอลลาร์เพื่อวิทยาเขตใหม่[12] เขายังได้บริจาคทรัพย์ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 35,365 ล้านบาทปลายปี 2559) สำหรับการศึกษาในประเทศไอร์แลนด์ ที่เด่นที่สุดก็คือแก่ University of Limerick[2] และบริจาคทรัพย์ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 12,378 ล้านบาทปลายปี 2559) เพื่อการกุศลต่าง ๆ ในประเทศเวียดนาม

สัญญาว่าจะให้

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นายฟีนีย์เป็นหนึ่งในผู้ลงรายนามสัญญาว่าจะให้[21] ในจดหมายที่ส่งให้นายบิล เกตส์และวอร์เรน บัฟเฟตต์ ผู้จัดตั้งองค์กรสัญญาว่าจะให้ นายฟีนีย์เขียนว่า "ผมไม่สามารถคิดถึงการใช้ทร้พย์สินที่ให้ความสุขส่วนตัวและที่สมควรมากกว่าการให้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพื่ออุทิศตนทำสิ่งที่มีความหมายเพื่อปรับปรุงสภาพของมนุษย์ และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ความขาดแคลนทุกวันนี้ยิ่งใหญ่และหลากหลายมาก จนกระทั่งว่าการสนับสนุนทางการกุศลที่ชาญฉลาดและการแทรกแซงที่ดี สามารถมีคุณค่าและอิทธิพลในวันนี้ ยิ่งกว่าถ้าเลื่อนช้าออกไปที่ความขาดแคลนก็จะยิ่งมากขึ้น"[22]

หนังสือและบทความ

แก้

ก่อนปี 2540 ไม่มีใครรู้ถึงงานการกุศลของนายฟีนีย์ ในปีนั้น หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้พิมพ์บทความเกี่ยวกับเขา[5] คือเขาตัดสินใจที่จะเลิกเป็นคนนิรนามเมื่อชัดเจนแล้วว่า ปัญหาที่เขามีกับหุ้นส่วนเก่าของเขาเกี่ยวกับการขายบริษัท มีโอกาสที่จะทำให้เกิดคดีในศาลที่จะเปิดโปงการบริจาคของเขาอยู่ดี[5] นายฟีนีย์ให้ความร่วมมือกับนักเขียนที่พิมพ์หนังสือชีวประวัติของเขา คือ อภิมหาเศรษฐีที่ไม่ใช่เศรษฐี วิธีที่ชัก ฟีนีย์ได้ทรัพย์สมบัติแล้วบริจาคมันไปโดยไม่มีใครรู้ (The Billionaire Who Wasn't: How Chuck Feeney Made and Gave Away a Fortune Without Anyone Knowing) (ISBN 978-1-58648-391-3) ชีวิตเขายังกลายเป็นภาพยนตร์สารคดี ชื่อว่า "อภิมหาเศรษฐีคนลับ - เรื่องของนายชัค ฟีนีย์ (Secret Billionaire: The Chuck Feeney Story)"[23]

คลิปวิดีโอยูทูบ

แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. Chuck Feeney, Irish American billionaire who gave his fortune away, passes
  2. 2.0 2.1 2.2 "Out of Sight, Till Now, and Giving Away Billions". New York Times. 2007-09-26.
  3. "The Billionaire Who Quietly and Selflessly Gave it All Away". Irish America magazine. 2011-03-10. Charles “Chuck” Feeney has amassed billions of dollars in wealth. However, he doesn’t own an opulent house, a car or a Rolex. He prefers taking cabs, riding the subway, or just walking when he is in New York.
  4. "History and Founder". Atlantic Philanthropies. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  5. 5.0 5.1 5.2 "He Gave Away $600 Million, and No One Knew". The New York Times. 1997-01-23.
  6. 6.0 6.1 "Book details billionaire's secret philanthropy". รอยเตอร์ส. 2007-09-19.
  7. "Cornell Chronicle: Hotel School to honor industry icons". News.cornell.edu. 2010-05-27. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  8. Minihan, Mary (2012-09-07). "Universities honour their 'Renaissance man' Feeney". The Irish Times. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
  9. O'Shea, James (2012-09-06). "Don Keough, Chuck Feeney, Loretta Brennan Glucksman recognized with Irish gov awards". Irish Central. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
  10. Kim, Leland. "Four Successful Innovators Earn UCSF's Highest Honor". The University of California San Francisco Website. The University of California San Francisco. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.
  11. 11.0 11.1 Bertoni, Steven (2012-09-18). "Chuck Feeney: The Billionaire Who Is Trying To Go Broke". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2015-03-12.
  12. 12.0 12.1 12.2 Pérez-Peña, Richard (2011-12-19). "Cornell Chosen to Build Science School in New York City". The New York Times.
  13. "Reclusive Philanthropist Steps into Spotlight". NPR.
  14. "Chuck Feeney: The Billionaire Who Is Trying To Go Broke". Forbes. 2012-09-18. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  15. Bertoni, Steve (2012-10-08). "Chuck Feeney: The Billionaire Who Is Trying To Go Broke". Forbes Magazine. สืบค้นเมื่อ 2013-05-07.
  16. "Giving while living makes sense - Dallas Business Journal". Dallas.bizjournals.com. 2007-12-24. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  17. Anft, Michael (2005-11-24). "Getting on Board With Boomers - Regeneration - The Chronicle of Philanthropy- Connecting the nonprofit world with news, jobs, and ideas". Philanthropy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-09. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  18. "Harvard Kennedy School - Hauser Institute for Civil Society". Hks.harvard.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-17. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  19. Preston, Caroline (2010-04-25). "Bring Odd Bedfellows Together to Promote Social Change, Foundations Urged - Conference Notebook - The Chronicle of Philanthropy- Connecting the nonprofit world with news, jobs, and ideas". Philanthropy.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-30. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  20. "Chuck Feeney Award to Bolster Dementia Prevention in Developing Countries". Alzforum. Alzforum. สืบค้นเมื่อ 2016-03-01.
  21. "Letter : Charles F. Feeney : February 3, 2011" (PDF). Cms.givingpledge.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.
  22. "Charles Feeney". The Giving Pledge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-04. สืบค้นเมื่อ 2016-08-16. I cannot think of a more personally rewarding and appropriate use of wealth than to give while one is living—to personally devote oneself to meaningful efforts to improve the human condition. More importantly, today's needs are so great and varied that intelligent philanthropic support and positive interventions can have greater value and impact today than if they are delayed when the needs are greater.
  23. "Secret Billionaire: The Chuck Feeney Story". YouTube. 2010-06-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้