รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ค.ศ. 661–750; อาหรับ: ٱلْخِلَافَة ٱلْأُمَوِيَّة, อักษรโรมัน: al-Khilāfah al-ʾUmawīyah)[2] เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ที่สองจาก 4 รัฐเคาะลีฟะฮ์หลักหลังการเสียชีวิตของมุฮัมมัด รัฐเคาะลีฟะฮ์นี้ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (อาหรับ: ٱلْأُمَوِيُّون, อัลอุมะวียูน หรือ بَنُو أُمَيَّة, บะนูอุมัยยะฮ์, "บรรดาบุตรแห่งอุมัยยะฮ์") อุษมาน อิบน์ อัฟฟาน (ครองราชย์ ค.ศ. 644–656) เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนองค์ที่ 3 ก็เป็นสมาชิกตระกูลนี้ ตระกูลนี้จัดตั้งการปกครองแบบสืบตระกูลตามราชวงศ์ โดยเริ่มต้นที่มุอาวิยะฮ์ อิบน์ อะบีซุฟยาน ผู้ว่าการแห่งอัชชาม (ซีเรีย) กลายเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 6 หลังสิ้นสุดฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่งใน ค.ศ. 661 หลังมุอาวิยะฮ์สวรรคตใน ค.ศ. 680 ความขัดแย้งในการสืบสันตติวงศ์ทำให้เกิดฟิตนะฮ์ครั้งที่สอง[3] และอำนาจนั้นตกเป็นของมัรวานที่ 1 จากสาขาหนึ่งของตระกูล อัชชามยังคงเป็นฐานอำนาจหลักของอุมัยยะฮ์ โดยมีดามัสกัสเป็นเมืองหลวง
รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ٱلْخِلَافَة ٱلْأُمَوِيَّة | |
---|---|
661–750 | |
รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ใน ค.ศ. 750 | |
สถานะ | รัฐเคาะลีฟะฮ์ |
เมืองหลวง | |
ภาษาทั่วไป | ทางการ: อาหรับคลาสสิก ทางการในบางภูมิภาคจนถึง ค.ศ. 700: คอปติก, กรีก, ละติน, เปอร์เซีย ภาษาอื่น ๆ: แอราเมอิก, เตอร์กิก, เบอร์เบอร์, แอฟริกันโรมานซ์, อาร์มีเนีย โมซาราบิก, สินธี, จอร์เจีย, ปรากฤต, เคิร์ด |
ศาสนา | อิสลาม |
การปกครอง | รัฐเคาะลีฟะฮ์แบบสืบตระกูล |
เคาะลีฟะฮ์ (อะมีรุลมุอ์มินีน) | |
• 661–680 | มุอาวิยะฮ์ที่ 1 (องค์แรก) |
• 744–750 | มัรวานที่ 2 (องค์สุดท้าย) |
ประวัติศาสตร์ | |
661 | |
750 | |
พื้นที่ | |
720[1] | 11,100,000 ตารางกิโลเมตร (4,300,000 ตารางไมล์) |
สกุลเงิน | |
ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ดำเนินการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมต่อ โดยผนวกทรานโซเซียนา, แคว้นสินธ์, อัลมัฆริบ และฮิสเปเนีย (อัลอันดะลุส) เข้าในการปกครองของอิสลาม รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ในช่วงสูงสุดมีพื้นที่ 11,100,000 ตารางกิโลเมตร (4,300,000 ตารางไมล์)[1] ทำให้เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่สุดตามพื้นที่ ราชวงศ์นี้ถูกโค่นล้มจากการกบฏที่นำโดยอับบาซียะฮ์ใน ค.ศ. 750 สมาชิกเชื้อพระวงศ์ที่รอดชีวิตตั้งถิ่นฐานที่กอร์โดบา ซึ่งภายหลังกลายเป็นเอมิเรต จากนั้นจึงเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลายเป็นศูนย์กลางแห่งวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ปรัชญา และการประดิษฐ์ของโลกในช่วงยุคทองของอิสลาม[4][5]
รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ปกครองเหนือดินแดนที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม โดยชาวคริสต์ที่ยังคงเป็นประชากรส่วนใหญ่ในรัฐเคาะลีฟะฮ์ และชาวยิวได้รับอนุญาตให้ประกอบศาสนกิจของตนได้ แต่ต้องจ่ายภาษีรายหัว (ญิซยะฮ์) ที่มุสลิมได้รับข้อยกเว้น[6] ส่วนมุสลิมต้องจ่ายภาษีซะกาต ซึ่งจัดสรรสำหรับโครงการสวัสดิการต่าง ๆ ไว้ชัดเจน[6][7] เป็นผลประโยชน์แก่มุสลิมหรือผู้ที่เข้ารีตอิสลาม[8] ตำแหน่งสำคัญในสมัยเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ตอนต้นยังคงถือครองโดยชาวคริสต์ ซึ่งบางส่วนมาจากตระกูลที่เคยดำรงตำแหน่งในรัฐบาลไบแซนไทน์ การจ้างงานชาวคริสต์เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายความปรองดองทางศาสนาที่กว้างขึ้น ซึ่งจำเป็นต่อการมีอยู่ของประชากรชาวคริสต์จำนวนมากในจังหวัดที่ถูกยึดครอง (เช่น ซีเรีย) นโยบายนี้เพิ่มความนิยมของราชวงศ์อุมัยยะฮ์และทำให้ซีเรียเป็นฐานอำนาจของตน[9][10] สมัยอุมัยยะฮ์มักถือเป็นยุคก่อตั้งของศิลปะอิสลาม[11]
ประวัติ
แก้ต้นกําเนิด
แก้อิทธิพลยุคแรก
แก้ในยุคก่อนอิสลาม ตระกูลอุมัยยะฮ์ หรือ "บะนูอุมัยยะฮ์" เป็นตระกูลชั้นนำของเผ่ากุร็อยช์แห่งมักกะฮ์[12] ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ตระกูลอุมัยยะฮ์ครอบครองเครือข่ายการค้าของกุร็อยช์กับอัชชาม ที่รุ่งเรืองมากขึ้น และพัฒนาพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการทหารกับชนเผ่าอาหรับร่อนเร่ที่ควบคุมทะเลทรายอาหรับตอนเหนือและตอนกลาง ทำให้กลุ่มมีอำนาจทางการเมืองในระดับภูมิภาค[13] ตระกูลอุมัยยะฮ์ภายใต้การนำของอะบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ ผู้นำหลักของมักกะฮ์ที่เป็นฝ่ายต่อต้านศาสดามุฮัมมัด แต่หลังจากการยึดครองมักกะฮ์ใน ค.ศ. 630 อะบูซุฟยานกับเผ่ากุร็อยช์หันมาเข้ารับอิสลาม[14][15] เพื่อประนีประนอมกับชนเผ่ากุร็อยช์ที่มีอิทธิพล มุฮัมมัดจึงให้อดีตศัตรู (รวมถึงอะบูซุฟยาน) ดำรงตำแหน่งในระบบใหม่[16][17][18] อะบูซุฟยานกับตระกูลของเขาย้ายไปที่มะดีนะฮ์ ศูนย์กลางทางการเมืองของอิสลาม เพื่อรักษาอิทธิพลทางการเมืองที่เพิ่งผ่านการจัดตั้งในชุมชนมุสลิม[19]
การเสียชีวิตของมุฮัมมัดใน ค.ศ. 632 ปล่อยให้มีการสืบทอดความเป็นผู้นำของชุมชนมุสลิม[20] ผู้นำของชาวอันศอร ผู้อาศัยในมะดีนะฮ์ที่ให้ความปลอดภัยแก่มุฮัมมัดหลังการอพยพออกจากมักกะฮ์ใน ค.ศ. 622 ปรึกษาถึงการส่งผู้สมัครของตนเองด้วยความกังวลว่าชาวมุฮาญิรูน ผู้ติดตามช่วงแรกและผู้อพยพจากมักกะฮ์ของมุฮัมมัด จะเป็นพันธมิตรกับชนเผ่าของตนเองจากอดีตชนชั้นนำกุร็อยช์ และควบคุมรัฐมุสลิม[21] ฝ่ายมุฮาญิรูนให้ความจงรักภักดีต่ออะบูบักร์ ผู้ติดตามของมุฮัมมัดยุคแรก และทำให้การพิจารณาของฝ่ายอันศอรสิ้นสุดลง[22] ฝ่ายอันศอรกับชนชั้นนำกุร็อยช์ยอมรับและรับรองเขาเป็นเคาะลีฟะฮ์ (ผู้นำของสังคมมุสลิม)[23] พระองค์ให้การสนับสนุนตระกูลอุมัยยะฮ์ด้วยการให้รางวัลพวกเขาจากการมีบทบาทในการพิชิตลิแวนต์โดยมุสลิม หนึ่งในผู้มีส่วนร่วมคือยะซีด บุตรของอะบูซุฟยาน เป็นผู้ถือครองทรัพย์สินและดูแลเครือข่ายการค้าในอัชชาม[24][25]
อุมัร (ค. 634 – 644) ผู้สืบทอดต่อจากอะบูบักร์ ได้ลดอิทธิพลของชนชั้นนำกุร็อยช์ลง เพื่อให้การสนับสนุนแก่ผู้สนับสนุนก่อนหน้าของมุฮัมมัด ทั้งในการบริหารและการทหาร แต่ถึงกระนั้นก็ยอมให้บุตรชายของอะบูซุฟยานตั้งฐานที่มั่นในอัชชามเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่นี้ทั้งหมดถูกพิชิตใน ค.ศ. 638[26] เมื่ออะบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรรอห์ ผู้บังคับการแคว้นโดยรวมของอุมัร เสียชีวิตใน ค.ศ. 639 พระองค์แต่งตั้งให้ยะซีดเป็นผู้ว่าการอำเภอดามัสกัส, ปาเลสไตน์ และจอร์แดนของอัชชาม[26] ไม่นานยะซีดก็เสียชีวิต อุมัรจึงแต่งตั้งให้มุอาวิยะฮ์ดำรงตำแหน่งนี้ต่อ[27] ภายใต้การปกครองของมุอาวิยะฮ์ อัชชามยังคงความสงบเรียบร้อย มีระเบียบ และมีการป้องกันอย่างดีจากอดีตผู้นำไบแซนไทน์[28]
รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอุษมาน
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การบริหาร
แก้เคาะลีฟะฮ์สี่องค์แรกจัดตั้งการปกครองที่มั่นคงแก่จักรวรรดิ ตามแนวทางปฏิบัติและสถาบันการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เคยปกครองในภูมิภาคเดียวกัน[29] ประกอบด้วยฝ่ายของรัฐบาล 4 ฝ่าย คือ: ฝ่ายการเมือง ฝ่ายการทหาร ฝ่ายเก็บภาษี และฝ่ายบริหารศาสนา แต่ละฝ่ายจะมีสาขา สำนักงาน และแผนกต่าง ๆ แยกย่อย
แคว้น
แก้ในทางภูมิศาสตร์ จักรวรรดิแบ่งออกเป็นหลายแคว้น โดยมีการเปลี่ยนเขตชายแดนของแคว้นในสมัยอุมัยยะฮ์หลายครั้ง แต่ละเแคว้นมีผู้ว่าการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเคาะลีฟะฮ์ โดยผู้ว่าการเป็นผู้ดูแลฝ่ายศาสนา ผู้นำกองทัพ ตำรวจ และผู้บริหารพลเรือนในแคว้นของตน ค่าใช้จ่ายในท้องถิ่นจ่ายเป็นภาษีที่มาจากแคว้นนั้น โดยส่วนที่เหลือในแต่ละปีจะถูกส่งไปยังรัฐบาลกลางในดามัสกัส
เมื่อรัฐบาลกลางของผู้นำราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในยุคหลังเสื่อมถอย ผู้ว่าการบางคนละเลยที่จะส่งรายได้ภาษีเพิ่มเติมไปยังดามัสกัสและสร้างความมั่งคั่งส่วนตัวเป็นอย่างมาก[30]
พนักงานราชการ
แก้เมื่อจักรวรรดิเติบโตขึ้น จำนวนแรงงานอาหรับที่ผ่านเกณฑ์มีน้อยเกินที่จะรับมือกับการขยายตัวของจักรวรรดิอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น มุอาวิยะฮ์จึงอนุญาตให้พนักงานราชการท้องถิ่นในแคว้นที่ถูกพิชิตยังคงรักษางานของตนต่อไปในรัฐบาลอุมัยยะฮ์ใหม่ ทำให้มีการบันทึกผลงานของรัฐบาลท้องถิ่นส่วนมากในภาษากรีก, คอปติก และเปอร์เซีย จนกระทั่งรัชสมัยอับดุลมะลิกที่เริ่มมีการบันทึกผลงานรัฐบาลในภาษาอาหรับ[30]
การทหาร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สกุลเงิน
แก้ก่อนการพิชิตโดยมุสลิม จักรวรรดิไบแซนไทน์และซาเซเนียนพึ่งพาเงินตราเป็นสื่อกลาง และยังมีการใช้ระบบนั้นในสมัยอุมัยยะฮ์ โดยมีการใช้เหรียญกษาปณ์ไบแซนไทน์จนถึง ค.ศ. 658 และยังคงมีการใช้เหรียญทองไบแซนไทน์จนกระทั่งมีการปฏิรูปทางการเงิน ประมาณ ค.ศ. 700[31] นอกจากนี้ รัฐบาลอุมัยยะฮ์เริ่มผลิตเหรียญของตนเองในดามัสกัส ซึ่งเดิมมีความคล้ายคลึงกับเหรียญที่มีอยู่ก่อนหน้า แต่พัฒนาไปในทิศทางใหม่ เหรียญเหล่านี้ถือเป็นเหรียญแรกในประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลมุสลิมผลิตขึ้นมา โดยเหรียญทองมีชื่อเรียกว่า "ดีนาร" ส่วนเหรียญเงินเรียกว่า "ดิรฮัม"[30]
โครงสร้างสังคม
แก้รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์มีชนชั้นทางสังคม 4 ชั้นหลัก:
- ชาวอาหรับมุสลิม
- มุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับ
- ษิมมี (ผู้เป็นไทที่ไม่ใช่มุสลิม เช่น ชาวคริสต์ ยิว และโซโรอัสเตอร์)
- ทาส
ชาวอาหรับมุสลิมอยู่ในระดับสูงสุดของสังคมและมองเป็นหน้าที่ต้องปกครองเหนือพื้นที่ที่ถูกยึดครอง พวกเขาถือตนสูงกว่ามุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับ และโดยทั่วไปมักไม่ปะปนกับมุสลิมกลุ่มอื่น ๆ
เมื่อศาสนาอิสลามขยายออกไป ทำให้มีประชากรมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้สังคมเกิดความไม่สงบ เนื่องจากผู้เข้ารีตใหม่ไม่มีสิทธิเดียวกันกับชาวอาหรับมุสลิม และเมื่อมีผู้เข้ารีตมากขึ้น รายได้ภาษี (ภาษีชาวนา) จากผู้มิใช่มุสลิมลดลงจนอยู่ในระดับอันตราย ปัญหาเหล่านี้มีแต่จะเลวร้ายจนกระทั่งพวกเขาช่วยก่อให้เกิดการปฏิวัติราชวงศ์อับบาซียะฮ์ในคริสต์ทศวรรษ 740[32]
ผู้มิใช่มุสลิม
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิ่งสืบทอด
แก้รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์มีความสำคัญทั้งจากการขยายดินแดนและปัญหาด้านการปกครองกับวัฒนธรรมที่มาจากการขยายดินแดน แม้จะมีข้อยกเว้นที่น่าสังเกตอยู่บ้าง ฝ่ายอุมัยยะฮ์มักให้สิทธิแก่ตระกูลอาหรับเก่าแก่หลายตระกูล โดยเฉพาะพวกของตนเอง มากกว่ากลุ่มผู้ที่เข้ารับอิสลามใหม่ ดังนั้น พวกเขายึดมั่นในแนวคิดสากลของอิสลามน้อยกว่าฝ่ายศัตรูหลายกลุ่ม ดังที่ G.R. Hawting เขียนไว้ว่า "แท้จริงแล้วอิสลามถูกมองว่าเป็นทรัพย์สินของชนชั้นสูงผู้พิชิต"[33]
ในสมัยอุมัยยะฮ์ ภาษาอาหรับกลายเป็นภาษาฝ่ายบริหาร และมีการแผลงเป็นอาหรับในลิแวนต์ เมโสโปเตเมีย แอฟริกาเหนือ และไอบีเรีย เอกสารและสกุลเงินของรัฐเขียนด้วยภาษาอาหรับ การเปลี่ยนศาสนาจำนวนมากก่อให้เกิดประชากรมุสลิมในรัฐเคาะลีฟะฮ์เพิ่มขึ้น
รายงานจากมุมมองทั่วไปมุมมองหนึ่ง ราชวงศ์อุมัยยะฮ์เปลี่ยนแปลงรัฐเคาะลีฟะฮ์จากสถาบันศาสนา (ในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน) ไปเป็นสถาบันราชวงศ์[34] อย่างไรก็ตาม เคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ดูเหมือนจะเข้าใจตนเองเป็นตัวแทนของพระเจ้าบนโลก และมีต้องรับผิดชอบต่อ "ความหมายและรายละเอียดในกฎเกณฑ์ของพระเจ้า หรืออีกนัยหนึ่งคือคำจำกัดความหรือคำอธิบายโดยละเอียดของกฎหมายอิสลาม"[35]
นักประวัติศาสตร์อิสลามยุคหลังตอบรับรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ในเชิงลบอย่างมาก โดยกล่าวหาพวกเขาว่าสนับสนุนความเป็นกษัตริย์ (มุลก์ เป็นศัพท์ที่มีความหมายแฝงว่า ทรราช) แทนรัฐเคาะลีฟะฮ์ที่แท้จริง (คิลาฟะฮ์) ในแง่นี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์มักไม่เรียกตนเองว่า เคาะลีฟะฮ์ เราะซูลุลลอฮ์ ("ผู้สืบทอดของศาสนทูตของอัลลอฮ์" ตำแหน่งที่พบในธรรมเนียม) แต่เรียกเป็น เคาะลีฟะตุลลอฮ์ ("ตัวแทนของพระเจ้า") ความแตกต่างดูเหมือนจะบ่งบอกว่า อุมัยยะฮ์ "ถือตนเองเป็นตัวแทนของพระเจ้าที่ประมุขของชุมชน และเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแบ่งปันหรือมอบหมายอำนาจทางศาสนาของพวกตนแก่ชั้นนักวิชาการศาสนาที่กำลังเติบโต"[36]
ชาตินิยมอาหรับสมัยใหม่จัดให้สมันอุมัยยะฮ์เป็นส่วนหนึ่งในยุคทองของชาวอาหรับ[ไม่แน่ใจ ] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชาตินิยมซีเรียกับประเทศซีเรียในปัจจุบัน ซึ่งมีจุดศูนย์กลางของอุมัยยะฮ์ที่ดามัสกัส[37] ธงขิงรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์เป็นสีขาว ตามธงของมุอาวิยะฮ์ อิบน์ อะบีซุฟยาน[38] ปัจจุบันเป็นหนึ่งใน 4 สีกลุ่มชนอาหรับที่ปรากฏในธงชาติของชาติอาหรับส่วนใหญ่
สถาปัตยกรรม
แก้ตระกูลอุมัยยะฮ์สร้างมัสยิดใหญ่และพระราชวังทะเลทรายทั่วลิแวนต์, อียิปต์และแอฟริกาเหนือ เช่นเดียวกันกับการสร้างเมืองทหารรักษาการณ์ (อัมศอร) เพื่อป้องกันชายแดนของตน เช่นที่อัลฟุสฏอฏ, อัลก็อยเราะวาน, กูฟะฮ์, บัสรา และมันศูเราะฮ์ อาคารหลายแห่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมและภาพวาดแบบไบแซนไทน์ เช่น โมเสกโรมันกับเสาแบบคอรินเทียน อาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่โดมแห่งศิลาที่เยรูซาเลม และมัสยิดอุมัยยะฮ์ที่ดามัสกัส[34] และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ อย่างพระราชวังของฮิชาม, ก็อศร์อัมเราะฮ์, มัสยิดใหญ่แห่งอัลก็อยเราะวาน และมัสยิดใหญ่แห่งอเลปโป
มุมมองศาสนา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายพระนาม
แก้เคาะลีฟะฮ์ | ครองราชย์ |
---|---|
เคาะลีฟะฮ์แห่งดามัสกัส | |
มุอาวิยะฮ์ที่ 1 อิบน์ อะบีซุฟยาน | 28 กรกฎาคม 661 – 27 เมษายน 680 |
ยะซีดที่ 1 อิบน์ มุอาวิยะฮ์ | 27 เมษายน 680 – 11 พฤศจิกายน 683 |
มุอาวิยะฮ์ที่ 2 อิบน์ ยะซีด | 11 พฤศจิกายน 683 – มิถุนายน 684 |
มัรวานที่ 1 อิบน์ อัลฮะกัม | มิถุนายน 684 – 12 เมษายน 685 |
อับดุลมะลิก อิบน์ มัรวาน | 12 เมษายน 685 – 8 ตุลาคม 705 |
อัลวะลีดที่ 1 อิบน์ อับดุลมะลิก | 8 ตุลาคม 705 – 23 กุมภาพันธ์ 715 |
สุลัยมาน อิบน์ อับดุลมะลิก | 23 กุมภาพันธ์ 715 – 22 กันยายน 717 |
อุมัร อิบน์ อับดุลอะซีซ | 22 กันยายน 717 – 4 กุมภาพันธ์ 720 |
ยะซีดที่ 2 อิบน์ อับดุลมะลิก | 4 กุมภาพันธ์ 720 – 26 มกราคม 724 |
ฮิชาม อิบน์ อับดุลมะลิก | 26 มกราคม 724 – 6 กุมภาพันธ์ 743 |
อัลวะลีดที่ 2 อิบน์ ยะซีด | 6 กุมภาพันธ์ 743 – 17 เมษายน 744 |
ยะซีดที่ 3 อิบน์ อัลวะลีด | 17 เมษายน 744 – 4 ตุลาคม 744 |
อิบรอฮีม อิบน์ อัลวะลีด | 4 ตุลาคม 744 – 4 ธันวาคม 744 |
มัรวานที่ 2 อิบน์ มุฮัมมัด | 4 ธันวาคม 744 – 25 มกราคม 750 |
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 496. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793.
- ↑ "Umayyad dynasty". Britannica. สืบค้นเมื่อ 19 May 2016.
- ↑ Bukhari, Sahih. "Sahih Bukhari: Read, Study, Search Online".
- ↑ Simon Barton (30 June 2009). A History of Spain. Macmillan International Higher Education. pp. 44–5. ISBN 978-1-137-01347-7.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Francis Preston Venable (1894). A Short History of Chemistry. Heath. p. 21.
- ↑ 6.0 6.1 Rahman 1999, p. 128.
- ↑ "Islamic Economics". www.hetwebsite.net.
- ↑ Benthal, Jonathan (1998). "The Qur'an's Call to Alms Zakat, the Muslim Tradition of Alms-giving" (PDF). ISIM Newsletter. 98 (1): 13–12.
- ↑ Cavendish, Marshall (2006). World and Its Peoples. Marshall Cavendish. p. 185. ISBN 978-0-7614-7571-2.
- ↑ Haag, Michael (2012). The Tragedy of the Templars: The Rise and Fall of the Crusader States. Profile Books. ISBN 978-1-84765-854-8.
- ↑ Yalman, Suzan (October 2001). "The Art of the Umayyad Period (661–750)". Heilbrunn Timeline of Art History. Based on original work by Linda Komaroff. New York: The Metropolitan Museum of Art.
- ↑ Levi Della Vida & Bosworth 2000, p. 838.
- ↑ Donner 1981, p. 51.
- ↑ Hawting 2000, pp. 22–23.
- ↑ Wellhausen 1927, pp. 40–41.
- ↑ Hawting 2000, p. 23.
- ↑ Donner 1981, p. 77.
- ↑ Wellhausen 1927, p. 20.
- ↑ Wellhausen 1927, pp. 20–21.
- ↑ Kennedy 2004, p. 50.
- ↑ Kennedy 2004, p. 51.
- ↑ Kennedy 2004, pp. 51–52.
- ↑ Kennedy 2004, pp. 51–53.
- ↑ Madelung 1997, p. 45.
- ↑ Donner 1981, p. 114.
- ↑ 26.0 26.1 Madelung 1997, pp. 60–61.
- ↑ Madelung 1997, p. 61.
- ↑ Kennedy 2004, pp. 62–64.
- ↑ Robinson, Neal (1999). Islam: A Concise Introduction. RoutledgeCurzon. p. 22.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 Ochsenwald 2004, p. 57.
- ↑ Sanchez 2015, p. 324.
- ↑ Ochsenwald 2004, p. 55–56.
- ↑ Hawting 2000, p. 4.
- ↑ 34.0 34.1 Previté-Orton 1971, p. 236.
- ↑ P. Crone and M. Hinds, God's caliph: religious authority in the first centuries of Islam (Cambridge, 1986), p. 43.
- ↑ Hawting 2000, p. 13.
- ↑ Gilbert 2013, pp. 21–24, 39–40.
- ↑ Hathaway 2012, p. 97.
บรรณานุกรม
แก้- แม่แบบ:The End of the Jihad State
- Beckwith, Christopher I. (1993). The Tibetan Empire in Central Asia: A History of the Struggle for Great Power Among Tibetans, Turks, Arabs, and Chinese During the Early Middle Ages. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-02469-1.
- Bosworth, C.E. (1993). "Muʿāwiya II". ใน Bosworth, C. E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W. P. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume VII: Mif–Naz. Leiden: E. J. Brill. pp. 268–269. ISBN 978-90-04-09419-2.
- Christides, Vassilios (2000). "ʿUkba b. Nāfiʿ". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume X: T–U. Leiden: E. J. Brill. pp. 789–790. ISBN 978-90-04-11211-7.
- Crone, Patricia (1994). "Were the Qays and Yemen of the Umayyad Period Political Parties?". Der Islam. Walter de Gruyter and Co. 71 (1): 1–57. doi:10.1515/islm.1994.71.1.1. ISSN 0021-1818. S2CID 154370527.
- Cobb, Paul M. (2001). White Banners: Contention in 'Abbasid Syria, 750–880. SUNY Press. ISBN 978-0791448809.
- Dietrich, Albert (1971). "Al-Ḥadjdjādj b. Yūsuf". ใน Lewis, B.; Ménage, V. L.; Pellat, Ch. & Schacht, J. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume III: H–Iram. Leiden: E. J. Brill. pp. 39–43. OCLC 495469525.
- Donner, Fred M. (1981). The Early Islamic Conquests. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-4787-7.
- Duri, Abd al-Aziz (1965). "Dīwān". ใน Lewis, B.; Pellat, Ch. & Schacht, J. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume II: C–G. Leiden: E. J. Brill. pp. 323–327. OCLC 495469475.
- Duri, Abd al-Aziz (2011). Early Islamic Institutions: Administration and Taxation from the Caliphate to the Umayyads and ʿAbbāsids. แปลโดย Razia Ali. London and Beirut: I. B. Tauris and Centre for Arab Unity Studies. ISBN 978-1-84885-060-6.
- Dixon, 'Abd al-Ameer (August 1969). The Umayyad Caliphate, 65–86/684–705: (A Political Study) (วิทยานิพนธ์). London: University of London, SOAS.
- Eisener, R. (1997). "Sulaymān b. ʿAbd al-Malik". ใน Bosworth, C. E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W. P. & Lecomte, G. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume IX: San–Sze. Leiden: E. J. Brill. pp. 821–822. ISBN 978-90-04-10422-8.
- Elad, Amikam (1999). Medieval Jerusalem and Islamic Worship: Holy Places, Ceremonies, Pilgrimage (2nd ed.). Leiden: Brill. ISBN 90-04-10010-5.
- Elisséeff, Nikita (1965). "Dimashk". ใน Lewis, B.; Pellat, Ch. & Schacht, J. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume II: C–G. Leiden: E. J. Brill. pp. 277–291. OCLC 495469475.
- แม่แบบ:The Arab Conquests in Central Asia
- Gibb, H. A. R. (1960). "ʿAbd Allāh ibn al-Zubayr". ใน Gibb, H. A. R.; Kramers, J. H.; Lévi-Provençal, E.; Schacht, J.; Lewis, B. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume I: A–B. Leiden: E. J. Brill. pp. 54–55. OCLC 495469456.
- Gibb, H. A. R. (1960). "ʿAbd al-Malik b. Marwān". ใน Gibb, H. A. R.; Kramers, J. H.; Lévi-Provençal, E.; Schacht, J.; Lewis, B. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume I: A–B. Leiden: E. J. Brill. pp. 76–77. OCLC 495469456.
- Gilbert, Victoria J. (May 2013). Syria for the Syrians: the rise of Syrian nationalism, 1970-2013 (PDF) (MA). Northeastern University. doi:10.17760/d20004883. สืบค้นเมื่อ 7 May 2022.
- Grabar, O. (1986). "Kubbat al-Ṣakhra". ใน Bosworth, C. E.; van Donzel, E.; Lewis, B. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume V: Khe–Mahi. Leiden: E. J. Brill. pp. 298–299. ISBN 978-90-04-07819-2.
- Griffith, Sidney H. (2016). "The Manṣūr Family and Saint John of Damascus: Christians and Muslims in Umayyad Times". ใน Antoine Borrut; Fred M. Donner (บ.ก.). Christians and Others in the Umayyad State. Chicago: The Oriental Institute of the University of Chicago. pp. 29–51. ISBN 978-1-614910-31-2.
- Hathaway, Jane (2012). A Tale of Two Factions: Myth, Memory, and Identity in Ottoman Egypt and Yemen. SUNY Press. ISBN 978-0-7914-8610-8.
- Hawting, Gerald R. (2000). The First Dynasty of Islam: The Umayyad Caliphate AD 661–750 (Second ed.). London and New York: Routledge. ISBN 0-415-24072-7.
- Hawting, G. R. (2000). "Umayyads". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume X: T–U. Leiden: E. J. Brill. pp. 840–847. ISBN 978-90-04-11211-7.
- Hillenbrand, Carole, บ.ก. (1989). The History of al-Ṭabarī, Volume XXVI: The Waning of the Umayyad Caliphate: Prelude to Revolution, A.D. 738–744/A.H. 121–126. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-88706-810-2.
- Hillenbrand, Robert (1994). Islamic Architecture: Form, Function and Meaning. New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-10132-5.
- Hinds, M. (1993). "Muʿāwiya I b. Abī Sufyān". ใน Bosworth, C. E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W. P. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume VII: Mif–Naz. Leiden: E. J. Brill. pp. 263–268. ISBN 978-90-04-09419-2.
- Holland, Tom (2013). In the Shadow of the Sword The Battle for Global Empire and the End of the Ancient World. Abacus. ISBN 978-0-349-12235-9.
- Johns, Jeremy (January 2003). "Archaeology and the History of Early Islam: The First Seventy Years". Journal of the Economic and Social History of the Orient. 46 (4): 411–436. doi:10.1163/156852003772914848. S2CID 163096950.
- Kaegi, Walter E. (1992). Byzantium and the Early Islamic Conquests. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-41172-6.
- Kaegi, Walter E. (2010). Muslim Expansion and Byzantine Collapse in North Africa. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-19677-2.
- แม่แบบ:Kennedy-The Armies of the Caliphs
- Kennedy, Hugh N. (2002). "Al-Walīd (I)". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume XI: W–Z. Leiden: E. J. Brill. pp. 127–128. ISBN 978-90-04-12756-2.
- Kennedy, Hugh N. (2004). The Prophet and the Age of the Caliphates: The Islamic Near East from the 6th to the 11th Century (Second ed.). Harlow: Longman. ISBN 978-0-582-40525-7.
- Kennedy, Hugh (2007). The Great Arab Conquests: How the Spread of Islam Changed the World We Live In. Philadelphia, Pennsylvania: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-81740-3.
- Kennedy, Hugh (2007a). "1. The Foundations of Conquest". The Great Arab Conquests: How the Spread of Islam Changed the World We Live In. Hachette, UK. ISBN 978-0-306-81728-1.
- แม่แบบ:The Prophet and the Age of the Caliphates
- Levi Della Vida, Giorgio & Bosworth, C. E. (2000). "Umayya b. Abd Shams". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Heinrichs, W. P. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume X: T–U. Leiden: E. J. Brill. pp. 837–839. ISBN 978-90-04-11211-7.
- Lévi-Provençal, E. (1993). "Mūsā b. Nuṣayr". ใน Bosworth, C. E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W. P. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume VII: Mif–Naz. Leiden: E. J. Brill. pp. 643–644. ISBN 978-90-04-09419-2.
- Lilie, Ralph-Johannes (1976). Die byzantinische Reaktion auf die Ausbreitung der Araber. Studien zur Strukturwandlung des byzantinischen Staates im 7. und 8. Jhd (ภาษาเยอรมัน). Munich: Institut für Byzantinistik und Neugriechische Philologie der Universität München. OCLC 797598069.
- Madelung, W. (1975). "The Minor Dynasties of Northern Iran". ใน Frye, Richard N. (บ.ก.). The Cambridge History of Iran, Volume 4: From the Arab Invasion to the Saljuqs. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 198–249. ISBN 0-521-20093-8.
- Madelung, Wilferd (1997). The Succession to Muhammad: A Study of the Early Caliphate. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-56181-7.
- Morony, Michael G., บ.ก. (1987). The History of al-Ṭabarī, Volume XVIII: Between Civil Wars: The Caliphate of Muʿāwiyah, 661–680 A.D./A.H. 40–60. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-87395-933-9.
- Talbi, M. (1971). "Ḥassān b. al-Nuʿmān al-Ghassānī". ใน Lewis, B.; Ménage, V. L.; Pellat, Ch. & Schacht, J. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume III: H–Iram. Leiden: E. J. Brill. p. 271. OCLC 495469525.
- Ochsenwald, William (2004). The Middle East, A History. McGraw Hill. ISBN 978-0-07-244233-5.
- Powers, Stephan, บ.ก. (1989). The History of al-Ṭabarī, Volume XXIV: The Empire in Transition: The Caliphates of Sulaymān, ʿUmar, and Yazīd, A.D. 715–724/A.H. 96–105. SUNY Series in Near Eastern Studies. Albany, New York: State University of New York Press. ISBN 978-0-7914-0072-2.
- Previté-Orton, C. W. (1971). The Shorter Cambridge Medieval History. Cambridge: Cambridge University Press.
- Rahman, H.U. (1999). A Chronology Of Islamic History 570–1000 CE.
- Sanchez, Fernando Lopez (2015). "The Mining, Minting, and Acquisition of Gold in the Roman and Post-Roman World". ใน Paul Erdkamp; Koenraad Verboven; Arjan Zuiderhoek (บ.ก.). Ownership and Exploitation of Land and Natural Resources in the Roman World. Oxford University Press. ISBN 9780191795831.
- Sprengling, Martin (April 1939). "From Persian to Arabic". The American Journal of Semitic Languages and Literatures. The University of Chicago Press. 56 (2): 175–224. doi:10.1086/370538. JSTOR 528934. S2CID 170486943.
- แม่แบบ:The Arab Emirates in Bagratid Armenia
- แม่แบบ:A History of the Byzantine State and Society
- Wellhausen, Julius (1927). The Arab Kingdom and its Fall. แปลโดย Margaret Graham Weir. Calcutta: University of Calcutta. OCLC 752790641.
อ่านเพิ่ม
แก้- Al-Ajmi, Abdulhadi, The Umayyads, in Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God (2 vols.), Edited by C. Fitzpatrick and A. Walker, Santa Barbara, ABC-CLIO, 2014. ISBN 1-61069-177-6
- A. Bewley, Mu'awiya, Restorer of the Muslim Faith (London, 2002)
- Boekhoff-van der Voort, Nicolet, Umayyad Court, in Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God (2 vols.), Edited by C. Fitzpatrick and A. Walker, Santa Barbara, ABC-CLIO, 2014. ISBN 1-61069-177-6
- P. Crone, Slaves on horses (Cambridge, 1980).
- P. Crone and M.A. Cook, Hagarism (Cambridge, 1977).