จักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ

จักรพรรดิโกะ-โฮริกาวะ (ญี่ปุ่น: 後堀河天皇โรมาจิGo-Horikawa-Tenno) จักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 86 ตามระเบียบประเพณีของการสืบทอดราชบัลลังก์ รัชสมัยของพระองค์ทอดยาวตั้งแต่ ค.ศ. 1221 ถึง ค.ศ. 1232[1]

โกะ-โฮริกาวะ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
ครองราชย์
29 กรกฎาคม พ.ศ. 1764 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 1775
พิธีขึ้น14 มกราคม พ.ศ. 1765
ไดโจไซ27 ธันวาคม พ.ศ. 1765
รัชศกโจคิว
ก่อนหน้าชูเกียว
ถัดไปชิโจ

พระราชสมภพ22 มีนาคม พ.ศ. 1755
สวรรคต31 สิงหาคม พ.ศ. 1777
สุสานหลวงKannon-ji no misasagi
พิธีฉลองการเจริญวัย15 กุมภาพคนธ์ พ.ศ. 1765
พระราชบิดาเจ้าชายโมะริซะดะ (ต่อมาคือ โกะ-ทากากูระ-อิง)
พระราชมารดาจิเมียวอิง ชินชิ
จักรพรรดินี (โคโง)ฟุจิวะระ โนะ อะริโกะ
จักรพรรดินี (ชูงู)ฟุจิวะระ โนะ โชชิ
ฟุจิวะระ โนะ ชุนชิ
พระราชโอรส-ธิดาจักรพรรดิชิโจ

โดยพระนามของพระองค์นำมาจากพระนามของจักรพรรดิใน คริสต์ศตวรรษที่ 10 จักรพรรดิโฮะริกะวะ (堀河天皇) เมื่อใส่คำว่า โกะ (後) ที่แปลว่า ที่สอง หรือ ยุคหลัง เข้าไปทำให้พระนามของพระองค์มีความหมายว่า จักรพรรดิโฮะริกะวะที่สอง หรือ จักรพรรดิโฮะริกะวะยุคหลัง

พงศาวลี

แก้

จักรพรรดิโกะ-โฮะริกะวะมีพระนามเดิมก่อนขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศว่า เจ้าชายยูตะฮิโตะ (茂仁)

ครองราชบัลลังก์

แก้

จักรพรรดิโกะ-โฮะริกะวะประสูติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 1755 ตรงกับปีที่ 2 ในรัชสมัย จักรพรรดิจุนโตะกุ มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายยูตะฮิโตะ (茂) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ใน เจ้าชายโมะริซะดะ หรือ โกะ-ทะกะกุระ-อิง พระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน จักรพรรดิทะกะกุระ

ภายหลังจากเหตุการณ์ สงครามปีโจคิว จักรพรรดิชูเกียว ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยไร้รัชทายาททำให้สายราชสกุลซึ่งสืบเชื้อสายจาก จักรพรรดิโกะ-โทะบะ ต้องสิ้นสุดลงเหล่าขุนนางและเชื้อพระวงศ์จึงยกเจ้าชายยูตะฮิโตะขึ้นครองราชย์เมื่อปี 1764 เมื่อพระชนม์เพียง 9 พรรษาโดยพระราชอำนาจทั้งหมดอยู่ในมือของโกะ-ทะกะกุระ-อิง ผู้เป็นพระราชบิดา

บั้นปลายพระชนม์ชีพ

แก้

จักรพรรดิโกะ-โฮะริกะวะทรงสละราชบัลลังก์เมื่อปี 1775 ขณะพระชนม์เพียง 20 พรรษาหลังจากครองราชย์ได้ 11 ปีโดยทรงสละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายมิสึฮิโตะ พระราชโอรสพระชนม์เพียง 1 พรรษาขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิชิโจ ส่วนอดีตจักรพรรดิทรงผนวช และได้รับสมัญญา ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) ก่อนจะสวรรคตเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1777 ขณะพระชนม์เพียง 22 พรรษา

อ้างอิง

แก้
  1. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 238–241; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 344–345; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp. 226–227.