จักรพรรดิองค์ปัจจุบัน

จักรพรรดิองค์ปัจจุบัน (ญี่ปุ่น: 今上天皇โรมาจิKinjō Tennō) หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิ (ญี่ปุ่น: 陛下โรมาจิHeika) เป็นพระอิสริยยศที่ใช้เรียกจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ปัจจุบัน ตามธรรมเนียมของญี่ปุ่นแล้วจะไม่มีการเอ่ยพระนามของจักรพรรดิโดยตรง (เช่น ฮิโรฮิโตะ) ซึ่งแตกต่างจากในตะวันตก[1][2] พระนามของจักรพรรดิจะใช้ในโอกาสเดียวเท่านั้น คือเมื่อกล่าวถึงพระนามในช่วงก่อนขึ้นครองราชย์ (เช่น เจ้าชายฮิโรฮิโตะ)

ประวัติ

แก้

ในปัจจุบัน พระปัจฉามรณนาม (ญี่ปุ่น: 諡号โรมาจิshigō) ของจักรพรรดิจะตรงกับนามรัชศกเสมอ อย่างไรก็ตาม ระบบ "หนึ่งรัชกาล หนึ่งรัชศก" (ญี่ปุ่น: 一世一元โรมาจิissei ichigen) นี้เพิ่งจะนำมาใช้ในยุคใหม่หลังการฟื้นฟูเมจิเท่านั้น[3] ก่อนหน้านั้น พระนามของจักรพรรดิจะไม่ตรงกับชื่อศักราช และการเปลี่ยนชื่อศักราช (ญี่ปุ่น: 改元โรมาจิkaigen) ก็สามารถเกิดขึ้นกี่ครั้งก็ได้ในแต่ละรัชกาล

การนำชื่อศักราชมาเติมหลังคำว่าจักรพรรดิ จะได้เป็นพระนามหลังสวรรคตของจักรพรรดิที่ครองราชย์อยู่ในยุคนั้น เช่น "จักรพรรดิเมจิ" "จักรพรรดิไทโช" "จักรพรรดิโชวะ" ดังนั้นการเรียกพระนามดังกล่าวกับจักรพรรดิที่ยังทรงพระชนม์อยู่ (สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ) จึงถือเป็นการผิดมารยาทอย่างมาก (faux pas)[4]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Erskine, William Hugh (1933). Japanese Festival and Calendar Lore (snippet). Kyo Bun-kwan. p. 67. "In Japan, the personal name of the Emperor is never used by the people. He is always spoken of as the Heika or the Kinjo no Heika while living, and after his death is spoken of as the "Meiji Tenno" or " Taisho Tenno".
  2. Izawa, Motohiko (井沢元彦) (2011). 井沢元彦の学校では教えてくれない日本史の授業 (Izawa Motohiko no gakko dewa oshiete kurenai Nihonshi no jugyo) (preview). PHP Kenkyujo. p. 180. ISBN 9784569795232.
  3. Tanaka, Stefan (2006). New Times in Modern Japan (preview). Princeton University Press. p. 11. ISBN 9780691128016.
  4. "上皇さまを「平成天皇」と呼ばない理由" [The reason why the Emperor Emeritus is not called "Emperor Heisei"]. BuzzFeed (ภาษาญี่ปุ่น). 2019-05-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-04. สืบค้นเมื่อ 2019-05-03.