จักรพรรดิซูชุง

(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดิซุชุง)

จักรพรรดิซูชุง (ญี่ปุ่น: 崇峻天皇โรมาจิSushun-tennō; สวรรคต ค.ศ. 592) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 32[1] ตามลำดับการสืบทอดแบบดั้งเดิม[2] พระองค์ครองสิริราชสมบัติในช่วง ค.ศ. 587 ถึง 592[3]

จักรพรรดิซูชุง
崇峻天皇
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยามาโตะ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์9 กันยายน ค.ศ. 587 – 12 ธันวาคม ค.ศ. 592
ก่อนหน้าโยเม
ถัดไปซูอิโกะ
พระราชสมภพค.ศ. 520
ฮัตสึเซเบะ (泊瀬部)
สวรรคตค.ศ. 592 (72 พรรษา)
ฝังพระศพคูราฮาชิ โนะ โอกะ โนะ เอะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 倉梯岡陵โรมาจิKurahashi no oka no e no misasagi; นาระ)
คู่อภิเษกโอโตโมะ โนะ โคเตโกะ
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
พระสมัญญานาม
ชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิซูชุง (崇峻天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ฮัตสึเซเบโนวากาซาซางิ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (長谷部若雀天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิคิมเม
พระราชมารดาฮิโรฮิเมะ
ศาสนาชินโต

พระราชประวัติ

แก้

ก่อนจะขึ้นสืบ ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิซูชุงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายฮะสึเบะ

เป็นพระราชโอรสใน จักรพรรดิคิมเม จักรพรรดิองค์ที่ 29 และเป็นพระราชอนุชาต่างพระราชมารดาของ จักรพรรดิบิดะสึ จักรพรรดิองค์ที่ 30 และ จักรพรรดิโยเม จักรพรรดิองค์ที่ 31 และเป็นพระเชษฐาต่างพระราชมารดาของ จักรพรรดินีซุอิโกะ จักรพรรดิองค์ที่ 33 และจักรพรรดินีในจักรพรรดิบิดะสึ

  • 9 กันยายน ค.ศ. 587 (วันที่ 2 เดือน 8) : ปีที่ 2 ในรัชสมัยจักรพรรดิโยเมสวรรคตโดยไร้รัชทายาททำให้เจ้าชายฮะสึเบะได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิซูชุง ภายใต้การสนับสนุนของ ตระกูลโซะงะ และจักรพรรดินีซุอิโกะภายหลังจากจบสงครามที่เรียกว่า ยุทธการชิงิ หลังจากนั้นไม่นานจักรพรรดิซุซุงได้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก
  • 12 ธันวาคม ค.ศ. 592 (วันที่ 8 เดือน 11) : ปีที่ 5 ในรัชสมัยจักรพรรดิซูชุงถูกปลงพระชนม์ทำให้จักรพรรดินีซุอิโกะพระขนิษฐาได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมา

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 崇峻天皇 (32)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 47.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 38–39; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, p. 263; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 126.

ข้อมูล

แก้
  • Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
  • Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
  • Jochi Daigaku. (1989). Monumenta Nipponica, Vol. 44. Tokyo: Sophia University Press. OCLC 1640509
  • Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
  • Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842