งูทับสมิงคลา หรือ งูทับทางน้ำเงิน (อังกฤษ: Malayan krait, blue krait; ชื่อวิทยาศาสตร์: Bungarus candidus) เป็นงูที่มีพิษร้ายแรง งูทับทางชนิดนี้เป็นสมาชิกของสกุล Bungarus และอยู่ในวงศ์ Elapidae

งูทับสมิงคลา
จาก การาวัง, ชวาตะวันตก, ประเทศอินโดนีเซีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: กิ้งก่าและงู
Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า
Elapidae
สกุล: งูทับทาง
Bungarus
(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Bungarus candidus
ชื่อทวินาม
Bungarus candidus
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง

Coluber candidus Linnaeus, 1758

คำอธิบาย

แก้

งูทับสมิงคลาอาจมีความยาวรวมประมาณ 108 เซนติเมตร (43 นิ้ว) มีหางยาวประมาณ 16 เซนติเมตร (6.3 นิ้ว)

ด้านหลังมีลวดลายแถบสีน้ำตาลเข้ม สีดำ หรือสีกรมท่า จำนวน 27–34 แถบบนลำตัวและหาง ซึ่งด้านข้างจะแคบและโค้งมน แถบไขว้อันแรกต่อเนื่องกับสีเข้มบริเวณหัว แถบขวางสีเข้มแต่ละแถบจะคั่นด้วยแถบสีเหลืองอมขาวกว้างซึ่งอาจมีจุดสีดำอยู่ และบริเวณท้องมีสีขาวที่มีความสม่ำเสมอ

ลักษณะปรากฏแบบที่แถบสีดำไม่มีแถบสีเหลืองอมขาว ยังสามารถพบได้ในบางส่วนของประชากรงูชนิดนี้ โดยมีรายงานว่าพบในชวาตะวันตกและชวากลาง[2]

เกล็ดหลังเรียงเป็น 15 แถว โดยเกล็ดกลางสันหลังเป็นเกล็ดขนาดใหญ่ลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม จำนวนเกล็ดท้องระหว่าง 195–237 เกล็ด แผ่นรูทวารเป็นแผ่นเดียว และเป็นแถบเกล็ดเดี่ยว มีจำนวน 37–56 แถบ[3]

การกระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่อาศัย

แก้

พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่อินโดจีนตอนใต้จนถึงเกาะชวาและบาหลี ในประเทศอินโดนีเซีย

พิษ

แก้

ในหนู การฉีดพิษเข้าหลอดเลือดดำแบบ LD50 สำหรับพิษของงูสปีชีส์นี้คือ 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม[4] โดยมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 60–70% ในมนุษย์ที่ไม่ได้รับการรักษา[5] ปริมาณพิษที่ฉีดเข้าไปเมื่อกัดคือ 5 มิลลิกรัม ในขณะที่ปริมาณพิษที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตสำหรับมนุษย์ที่หนัก 75 กิโลกรัมคือ 1 มิลลิกรัม[6]

เชิงอรรถและรายการอ้างอิง

แก้
  • Das, Indraneil (2010). A Field Guide to the Reptiles of South-East Asia. New Holland Publishers. ISBN 978-1-84773-347-4
เชิงอรรถ
  1. Wogan, G.; Vogel, G.; Grismer, L.; Chan-Ard, T.; Nguyen, T.Q. (2012). "Bungarus candidus". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T192238A2059709. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T192238A2059709.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  2. Kuch, Ulrich; Mebs, Dietrich (March 2007). "The identity of the Javan Krait, Bungarus javanicus Kopstein, 1932 (Squamata: Elapidae): evidence from mitochondrial and nuclear DNA sequence analyses and morphology". Zootaxa. 1426 (1): 1–26. doi:10.11646/zootaxa.1426.1.1. ISSN 1175-5334.
  3. Boulenger, George Albert (1896). Catalogue of the Snakes in the British Museum (Natural History). Vol. III. London: Taylor and Francis. p. 368.
  4. Tan, Nget Hong. "Toxins from Venoms of Poisonous Snake Indigenous to Malaysia: A Review". Department of Molecular Medicine, Faculty of Medicine. University of Malaya. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2013. สืบค้นเมื่อ 21 October 2013.
  5. "Clinical Toxinology-Bungarus candidus". Clinical Toxinology Resources. University of Adelaide. Mortality rate:70%
  6. Habermehl, G. (2012-12-06). Venomous Animals and Their Toxins (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. ISBN 978-3-642-88605-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้