งิ้ว

การแสดงขับร้องและเจรจาผสมท่าทางของจีน

งิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲/戲曲; พินอิน: xìqǔ ; อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย เดิมประเทศจีนมีงิ้วราว 300 กว่าประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นงิ้วท้องถิ่น ส่วนงิ้วระดับประเทศ เช่น งิ้วปักกิ่ง, งิ้วเส้าซิง, งิ้วเหอหนัน และงิ้วกวางตุ้ง โดยงิ้วปักกิ่งเป็นงิ้วที่มีชื่อเสียงมากที่สุด โดยปัจจุบันถือเป็นตัวแทนงิ้วประจำชาติจีน

นักแสดงงิ้ว

ในบรรดางิ้วจีนกว่า 300 ประเภท "งิ้วคุนฉวี่"昆曲 "งิ้วกวางตุ้ง"粤剧/粵劇 และ"งิ้วปักกิ่ง"京剧/京劇 ได้รับการยอมรับจากองค์การยูเนสโก และได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในปี 2001, 2009 และ 2010 ตามลำดับ

ประวัติ

แก้

ประวัติ งิ้ว เริ่มต้นสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 1179-1276) ทางภาคใต้ของจีนมีคณะงิ้วที่มีชื่อได้เปิดการแสดงที่มีบทพูดเป็นโคลงกลอนสลับการร้อง ใช้วงเครื่องดีดสีตีเป่าประกอบการแสดง

ทางภาคเหนือนั้น ราวช่วงต้นศตวรรษที่ 13 ในสมัยราชวงศ์หยวนเกิดรูปแบบของงิ้วขึ้นมาเรียกว่า "จ๋าจวี้" 杂剧/雜劇 โดยมักแบ่งการแสดงออกเป็น 4 องค์ โดยตัวละครเอกเท่านั้น ที่จะมีบทร้องเป็นทำนองเดียวตลอดเรื่อง ส่วนตัวประกอบอื่นอาศัยการพูดประกอบ ขณะที่อุปรากรฝ่ายเหนือเป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางชั้นสูงเรื่องราวที่แสดงจึงมักดัดแปลงมาจากพงศาวดารหรือประวัติศาสตร์ ส่วนทางใต้นั้นผู้คนนิยมดูงิ้วที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าพื้นบ้าน

ในศตวรรษที่ 16 บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ ผู้คนเริ่มมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้วงการวรรณกรรมเฟื่องฟูไปด้วย ซึ่งส่งผลทำให้บทร้องอุปราการสละสลวยยิ่งขึ้น โดยนายเว่ย เหลียงฝู่ 魏良辅 /魏良輔 (1522-1573) นำนิยายพื้นบ้านดัง ๆ เรียกว่า "คุนฉวี่" 昆曲 มาเขียนเป็นบทร้อง มีสไตล์การร้องที่อ่อนหวาน ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นส่วนใหญ่คือกลองและขลุ่ย

ในศตวรรษที่ 18 เกิดอุปรากรแบบใหม่ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบของงิ้วปัจจุบัน อุปรากรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายนับตั้งแต่เปิดการแสดงในงานฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของเฉียนหลงฮ่องเต้ (1736-1796) ในจำนวนคณะงิ้วที่เข้ามาแสดงเหล่านี้รวมถึงคณะของนายเว่ย จางเฉิน จากเสฉวน ซึ่งนำเทคนิคการแสดงงิ้วแบบใหม่ ๆ เข้ามาเผยแพร่ในเมืองหลวงกระทั่งปลายราชวงศ์ชิง งิ้วจึงมีลักษณะต่าง ๆ กันออกไปหลายร้อยแบบ ทั้งในด้านการร้อง การจัดฉาก เพลง แต่ส่วนใหญ่นำเนื้อเรื่องมาจากคุนฉวี่ หรือนิยายที่เป็นที่นิยมนั่นเอง

สมัยของพระนางซูสีไทเฮา การแสดงงิ้วในเมืองจีนถือว่าได้รับความนิยมสูงสุด จนกระทั่งสิ้นสมัยของพระนาง คณะงิ้วที่เคยได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากราชสำนักและขุนนางต่าง ๆ ก็ต้องหันมาพึ่งตัวเองและแพร่ขยายออกไปสู่ผู้คนทั่วไปมากขึ้น

ลักษณะ

แก้

ความโดดเด่นของการแสดงงิ้วนั้น นอกจากลีลาการร่ายรำและการเคลื่อนไหวของผู้แสดงแล้ว เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายตลอดจนการแต่งหน้าก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างเช่นสีสันของการแต่งหน้าที่แตกต่างกันไป ก็จะบ่งบอกถึงบุคลิกและอุปนิสัยของตัวละครได้

อย่างเช่นแต่งหน้าสีแดง จะมีความหมายไปในทางที่ดี เป็นสัญลักษณ์ของผู้ซื่อสัตย์และกล้าหาญ การแต่งหน้าสีดำมีความหมายเป็นกลาง เป็นสัญลักษณ์ของผู้ห้าวหาญ ไม่เห็นแก่ตัวและเฉลียวฉลาด หากว่าแต่งหน้าเป็นสีน้ำเงิน ก็จะมีความหมายเป็นกลางเช่นเดียวกันและยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวีรบุรุษชาวบ้านอีกด้วย ส่วนการแต่งหน้าที่สีขาวและสีเหลือง มักจะมีความหมายไปทางลบ เป็นสัญลักษณ์ของผู้เหี้ยมโหดและคดโกง

ประเภทของงิ้ว

แก้

งิ้วที่ยอมรับกันว่าเป็นงิ้วที่สมบูรณ์แบบชนิดแรกคือ ละครใต้ (หนานซี่) 南戏/南戲 ของสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ แถบเมืองเวินโจว จนกระทั่งสมัยราชวงศ์ชิง จึงเกิด ‘งิ้วปักกิ่ง’ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิลปะประจำชาติ และมีความโดดเด่นมาก เพราะเป็นการแสดงที่เอาความเด่นของงิ้วทุกชนิดมารวมเข้าด้วยกัน มีการแสดงที่โลดโผนกว่างิ้วแต้จิ๋ว มีการร้องในลักษณะของโอเปร่า ร้องลากเสียงเพื่อแสดงพลังเสียง และมีการดัดเสียงร้องเพื่อแสดงศิลปะการใช้เสียงที่หลากหลายด้วย


งิ้วปักกิ่ง 京剧

แก้

งิ้วเหอเป่ย 河北劇曲

แก้

งิ้วเหอหนาน 河南劇曲

แก้

งิ้วเซี่ยงไฮ้ 上海劇曲

แก้

งิ้วซานตง 山東劇曲

แก้

งิ้วซานซี 山西劇曲

แก้

งิ้วมองโกลเลียใน 內蒙古劇曲

แก้

งิ้วส่านซี 陝西劇曲

แก้

งิ้วกานซู่甘肅劇曲

แก้

งิ้วชิงไห่ 青海劇曲

แก้

งิ้วซินอู๋ 新吾劇曲

แก้

งิ้วซีจือ 西自劇曲

แก้

งิ้วเหอหลง 合龍劇曲

แก้

งิ้วจี้หลิน吉林劇曲

แก้

งิ้วเหลียวหนิง 遼寧劇曲

แก้

งิ้วอานฮุย 安徽劇曲

แก้

黄梅戏-งิ้วหวงเหมย

งิ้วเจียงซู 江蘇劇曲

แก้

งิ้วซินเจียง 浙江劇曲

แก้

งิ้วหูเป่ย 湖北劇曲

แก้

งิ้วหูหนาน 湖南劇曲

แก้

งิ้วซีโจว 西川劇曲

แก้

งิ้วกุ้ยโจว 貴州劇曲

แก้

งิ้วเจียงซี 江西劇曲

แก้

งิ้วอวิ๋นหนาน 雲南劇曲

แก้

งิ้วกว่างตง廣東劇曲

แก้
  • 粵劇 งิ้วกวางตุ้ง
  • 潮劇 งิ้วเตี่ยจิว

งิ้วไห่หนาน 海南劇曲

แก้

งิ้วฝูเจี้ยน 福建劇曲

แก้
  • 歌仔戲 กัวอาฮี งิ้วฮกเกี้ยน ไต้หวัน เจียงจิว
  • 高甲戲 โกกาฮี งิ้วฮกเกี้ยน จวนจิว
  • 傀儡戲 กาเลฮี งิ้วหุ่นกระบอก

งิ้วในประเทศไทย

แก้

การแสดงงิ้วตามเอกสารเก่าที่สุดที่มีการพูดถึงการแสดงงิ้ว คือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ ซึ่งเป็นราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศส ที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 2230 และมีบันทึกอีกช่วงหนึ่งเมื่อครั้งสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี ครั้งมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตล่องน้ำมายังพระนคร นอกจากขบวนแห่จะมี โขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์แล้ว ยังมีคณะงิ้วอีก 2 ลำเรือแสดงล่องลงมาด้วยกันอีกด้วย

การแสดงงิ้วในเมืองไทยได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมัยนั้นมีทั้งคณะของทั้งไทยและจีน และยังมีการเปิดโรงเรียนสอนงิ้วและมีโรงงิ้วแสดงเป็นประจำมากมายบนถนนเยาวราช

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้