ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์

(เปลี่ยนทางจาก ค่ายกักกันเอาชวิทซ์)

ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ (เยอรมัน: Konzentrationslager Auschwitz) หรือ ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนา (เยอรมัน: Konzentrationslager Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีเยอรมนีที่ใช้การระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

เอาช์วิทซ์
ค่ายกักกันและค่ายมรณะของนาซี
บน: ประตูเข้าค่ายเอาช์วิทซ์ 1 มีป้าย "การทำงานนำมาซึ่งอิสรภาพ" (Arbeit macht frei)
ล่าง: ซุ้มประตูเอาช์วิทซ์ 2-เบียร์เคอเนา, รางรถไฟ ซึ่งใช้การระหว่างเดือนพฤษภาคม–ตุลาคม 1944 ตรงเข้าห้องรมแก๊ส[1]
วิดีทัศน์Drone footage, 2015
ภาพGoogle Earth
พิกัดภูมิศาสตร์50°02′09″N 19°10′42″E / 50.03583°N 19.17833°E / 50.03583; 19.17833
ชื่อเยอรมันKonzentrationslager Auschwitz (ออกเสียง: [kɔntsɛntʁaˈtsi̯oːnsˌlaːɡɐ ˈʔaʊʃvɪts] ( ฟังเสียง)); also KL Auschwitz or KZ Auschwitz
ชื่อโปแลนด์Obóz koncentracyjny Auschwitz
เป็นที่รู้จักจากฮอโลคอสต์
ที่ตั้งประเทศโปแลนด์ที่ถูกเยอรมนียึดครอง
ดำเนินการโดยนาซีเยอรมนีและเอ็สเอ็ส
ผบ. ประเดิมรูด็อล์ฟ เฮิส
การใช้งานสถานที่ก่อนหน้าค่ายทหาร
เปิดใช้งานพฤษภาคม 1940 – มกราคม 1945
ผู้ถูกกักกันส่วนใหญ่เป็นยิว โปแลนด์ โรมานี และเชลยศึกโซเวียต
จำนวนผู้ถูกกักกันอย่างน้อย 1.3 ล้าน[2]
เสียชีวิตอย่างน้อย 1.1 ล้าน[2]
ปลดปล่อยโดยสหภาพโซเวียต, 27 มกราคม 1945
ผู้ถูกกักกันที่มีชื่อเสียงอันเนอ ฟรังค์, อิมแร แกร์เตส, แมกซิมิเลียน คอลบี, เอดิท ชไตน์ ฯลฯ
เว็บauschwitz.org/en/
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนAuschwitz Birkenau, German Nazi Concentration and Extermination Camp (1940–1945)
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์vi
ขึ้นเมื่อ1979 (สมัยประชุมที่ 3)
เลขอ้างอิง31
ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ

ชื่อค่ายมาจากเมือง "ออชฟีแยญชิม" (Oświęcim) โดยหลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ออชฟีแยญชิมของโปแลนด์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีและเปลี่ยนชื่อเป็นเอาช์วิทซ์ (Auschwitz) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเยอรมัน[3] ส่วนเบียร์เคอเนา (Birkenau) เป็นชื่อในภาษาเยอรมันที่แผลงมาจาก "บแชชิงกา" (Brzezinka, ต้นเบิร์ช) ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไปไม่ไกลนักที่ต่อมาถูกเยอรมนีทำลายเกือบทั้งหมด

รูด็อล์ฟ เฮิส ผู้บัญชาการของค่าย ให้การในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คว่าประชากรถึงราว 3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ แต่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนาปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน[4][5] ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ถูกสังหารเป็นชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป[6] ผู้ประสบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมแก๊สโดยใช้แก๊สซือโคลน เบ การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอยาก การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกประหารชีวิตรายคน และ "การทดลองทางแพทย์"ตลอดระยะเวลามีการฆ่าทดลองชาวยิวเป็นจำนวนมาก

ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้เสียชีวิต โปแลนด์ก็ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ณ ที่ตั้งของค่ายกักกันของสองค่าย วันปลดปล่อยค่ายกักกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1945 โดยกองทัพโซเวียต เป็นวันที่ระลึกของวันรำลึกฮอโลคอสต์ระหว่างประเทศ (International Holocaust Remembrance Day) ใน ค.ศ. 1979 ยูเนสโกยกให้เป็นแหล่งมรดกโลก

อ้างอิง

แก้
  1. "The unloading ramps and selections". Auschwitz-Birkenau State. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 January 2019.
  2. 2.0 2.1 Piper 2000b, p. 230.
  3. Up to then, there had been no special significance attached to the name; for example, "Duke of Auschwitz" was for centuries one of the minor titles held by the Habsburg Emperors, which at the time was completly innocuous and unimportant.
  4. Brian Harmon, John Drobnicki, Historical sources and the Auschwitz death toll estimates เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nizkor Project
  5. Piper, Franciszek & Meyer, Fritjof. "Die Zahl der Opfer von Auschwitz. Neue Erkentnisse durch neue Archivfunde" เก็บถาวร 2011-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Osteuropa, 52, Jg., 5/2002, pp. 631-641, (review article).
  6. Piper, Franciszek Piper. "The Number of Victims" in Gutman, Yisrael & Berenbaum, Michael. Anatomy of the Auschwitz Death Camp, Indiana University Press, 1994; this edition 1998, p. 62.

ดูเพิ่ม

แก้