ค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนที่เป็นเงิน (หรือสินจ้าง ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล แรงงาน) ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อแลกกับงานที่ทำสำเร็จ การชำระค่าจ้างอาจคำนวณเป็นปริมาณคงที่สำหรับงานที่สำเร็จแต่ละอย่าง (ค่าจ้างตามชิ้นงาน) หรือในอัตรารายชั่วโมงหรือรายวัน หรือยึดตามปริมาณงานที่ทำเสร็จที่วัดได้ง่าย ๆ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างอาจได้รับทิปหรือเงินรางวัลที่ลูกค้าหรือผลประโยชน์ของนายจ้างจ่ายให้โดยตรงซึ่งเป็นค่าตอบแมนในรูปที่ไม่ใช่เงิน เนื่องจาก แรงงานค่าจ้างเป็นรูปแบบงานส่วนใหญ่ คำว่า "ค่าจ้าง" บางทีจึงหมายความถึงค่าตอบแทนจากนายจ้างทุกรูปแบบด้วย

ค่าจ้างนับเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

การชำระค่าจ้างต่างจากงานมีเงินเดือน ซึ่งเงินเดือนหมายความว่า นายจ้างจ่ายเงินปริมาณที่ตกลงกันไว้ในระยะคงที่ (เช่น เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน) ไม่ว่าทำงานกี่ชั่วโมงก็ตาม

ปัจจัยกำหนดอัตราค่าจ้าง

แก้

อัตราค่าจ้างได้รับอิทธิพลจากแรงตลาด (อุปสงค์และอุปทาน) กฎหมายและประเพณี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและประเพณีของเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แรงตลาดบางทีมีบทบาทเด่นในสหรัฐ ส่วนประเพณี โครงสร้างและวัยวุฒิอาจมีบทบาทสูงกว่าในประเทศญี่ปุ่น[1]

แม้ในประเทศที่แรงตลาดเป็นตัวกำหนดอัตราค่าจ้างหลัก หลายการศึกษายังพบว่ามีข้อแตกต่างในสินจ้างสำหรับงานโดยขึ้นกับเพศและเชื้อชาติ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลของกรมสถิติแรงงานสหรัฐ ในปี 2550 หญิงทุกเชื้อชาติมีค่าจ้างมัธยฐานคิดเป็นประมาณ 80% ของรายจ้างชาย ซึ่งน่าจะมีสาเหตุจากอุปสงค์และอุปทานสำหรับหญิงในตลาดเนื่องจากข้อผูกมัดของครอบครัว[2] ในทำนองเดียวกัน ชายผิวขาวมีค่าจ้างคิดเป็นประมาณ 84% และชายผิวดำมีค่าจ้าง 64% เทียบกับชายเอเชีย[3] ทั้งนี้ เป็นค่าเฉลี่ยรวมยังไม่ได้ปรับตามประเภท ปริมาณและคุณภาพของงานที่ทำ

อ้างอิง

แก้
  1. "Student Login". Edgenuity. – Education 2020 Homeschool console, Vocabulary Assignment, definition entry for "wage rate" (may require login to view)
  2. Magnusson, Charlotta. "Why Is There A Gender Wage Gap According To Occupational Prestige?." Acta Sociologica (Sage Publications, Ltd.) 53.2 (2010): 99-117. Academic Search Complete. Web. 26 Feb. 2015.
  3. U.S. Bureau of Labor Statistics. "Earnings of Women and Men by Race and Ethnicity, 2007" Accessed June 29, 2012

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้