คุยเรื่องวิกิพีเดีย:เงื่อนไขสำหรับเนื้อหาไม่เสรี

การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

เข้มงวดการบังคับใช้นโยบายนี้

แก้

สวัสดีครับ ที่ผ่านมาวิกิพีเดียภาษาไทยได้ผ่อนผันการบังคับใช้เงื่อนไขสำหรับเนื้อหาไม่เสรีไปมากแล้ว ล่าสุดผมได้เพิ่ม {{non-free use rationale}} ในการอัปโหลดไฟล์ไม่เสรี แต่ก็ยังมีผู้ใช้บางส่วนอัปโหลดภาพโดยไม่ใส่แม่แบบนี้ จึงขอเสนอให้ผู้ดูแลระบบมีการกวดขันการบังคับใช้นโยบายนี้ โดยมีมาตรการต่อผู้ใช้ที่ไม่ปฏิบัติตามดังนี้ (1) ตักเตือนผู้ใช้และชี้แจงความสำคัญของการระบุข้อมูลดังกล่าว (2) หากตักเตือนแล้วยังไม่ดำเนินการ ให้ลบไฟล์ที่อัปโหลดนั้น และ (3) หากยังคงพฤติกรรมอยู่เรื่อย ๆ ให้บล็อกได้ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ครับ --Horus (พูดคุย) 18:47, 12 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ป.ล. จะไม่ใช้แม่แบบก็ได้ แต่ต้องมีคำอธิบายให้ครบถ้วนตามตัวแปรเสริมของแม่แบบ --Horus (พูดคุย) 19:09, 12 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ความเห็นเพิ่มเติม: แม่แบบเดิม {{กล่องข้อมูล ภาพชอบธรรม}} ถือว่าให้รายละเอียดได้ไม่เพียงพอกับข้อกำหนดในหน้า วิกิพีเดีย:เนื้อหาไม่เสรี จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมานโยบายดังกล่าวเป็นเสือกระดาษดี ๆ นี่เอง --Horus (พูดคุย) 17:12, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

แล้วทำไม่ถึงไม่เอาแม่แบบ กล่องข้อมูล ภาพชอบธรรม ให้เปลี่ยนเป็นแม่แบบ non-free use rationale ครับ มันน่าจะง่ายกว่านี้ครับ (คือโละของเก่าแล้วเปลี่ยนใหม่)--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:25, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
ผมทำไปแล้วช่วงหนึ่งครับ แต่คิดว่าน่าจะมาสอบถามในนี้ก่อน เดี๋ยวจะถูกต่อต้านเสียเปล่า ๆ คิดว่าพอมีความตระหนัก ก็น่าจะมีคนช่วยกันบอกต่อมากขึ้น (เท่าที่สังเกตช่วงลองให้ใช้แม่แบบใหม่ ก็ยังมีคนใช้แม่แบบเดิมอยู่ดี) --Horus (พูดคุย) 17:34, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
เห็นด้วย ให้เพิ่มความเข้มงวดเรื่องนี้ ถ้าแม่แบบเดิมไม่เพียงพอก็น่าจะใส่แม่แบบใหม่ {{non-free use rationale}} ไว้เป็นตัวตั้งต้นในคำอธิบายโดยย่อเวลาอัปโหลดรูปใหม่ไปเลย --Pilarbini (พูดคุย) 19:02, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
เป็นกลาง ยังไงก็ได้ครับ จะแก้โค้ด {{กล่องข้อมูล ภาพชอบธรรม}} ให้เป็นตามนโยบายใหม่ด้วยเลยก็ได้ครับ (ตามหน้าอภิปราย) แต่ในส่วนของค่าความละเอียดนี่น่าจะใช้เป็นว่าจะเท่าต้นฉบับก็ได้ถ้าไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ แต่ถ้าไฟล์ใหญ่มากก็กำหนดว่าห้ามเกินกี่ไบต์ก็ว่ากันไป (ถ้าเกินก็ให้ตั้งค่าลดลงมา) --B20180 (พูดคุย) 19:10, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
1. เรื่องความละเอียดต่ำเป็นนโยบายที่แปลมาครับ ซึ่งไม่แน่ใจว่าถ้าไม่ใช้ภาพความละเอียดต่ำจะต้อง declare อะไรเพิ่มหรือเปล่า แต่ถ้าเห็นควรปรับให้ใช้ภาพความละเอียดต้นฉบับได้ คิดว่าคงต้องแก้นโยบายด้วยเพื่อให้เป็นลายลักษณ์อักษร
2. เรื่องการแก้กล่องข้อมูลเดิม ถ้าแก้ไปไฟล์ทั้งหมดที่ใช้กล่องแบบเดิมจะมี parameter ว่างเกิดขึ้นเยอะครับ (พวกความละเอียดต่ำ ส่วน วัตถุประสงค์ ฯลฯ) คิดว่าด้วยกำลังคนปัจจุบันตามแก้ไม่ไหว
--Horus (พูดคุย) 20:54, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
โอเคข้อ 2 เข้าใจครับ ส่วนข้อ 1 นี่ใครมีข้อเสนอเพิ่มเติมก็ลองเสนอมาได้ครับ เดี๋ยวผมลองเชิญอาจารย์ทวีธรรมมาร่วมอภิปราย เผื่อมีไอเดียเสริม --B20180 (พูดคุย) 23:53, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
เรื่องข้อ 1 ผมยังไม่โอครับ เพราะว่าขนาดวิกิพีเดียภาษารัสเซียที่ผมไปหาข้อมูลทำบทความภาพยนตร์โซเวียตและรัสเซียยังอัปโหลดภาพใบปิดขนาดใหญ่ได้ครับ (ตัวอย่าง №1, №2 และ №3 ซึ่งใหญ่กว่าขนาดของที่วิกิอังกฤษกำหนด) ส่วนข้อ 2 ผมไม่มีปัญหาครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 00:28, 16 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
มีความเป็นไปได้สองทางคือ 1. วิกิพีเดียภาษารัสเซียมีนโยบายแตกต่างจากที่เราใช้ หรือ 2. จริง ๆ นโยบายเหมือนกันแต่ไม่ได้เข้มงวดกวดขัน หรืออาจจะดูแลไม่ทั่วถึงครับ --Horus (พูดคุย) 20:12, 18 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
เห็นด้วย แม่แบบใหม่ทำให้ผู้อัปโหลดได้เห็นและรับรู้เงื่อนไขพวกนี้ครับ --Lerdsuwa (พูดคุย) 20:10, 15 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
เห็นด้วย กับแม่แบบอันใหม่ ใช้แทนอันเก่าน่าจะดีนะครับ --ร้อยตรี โชคดี (พูดคุย) 07:37, 16 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ข้อเสนอของคุณ Taweetham

แก้

แม่แบบอันใหม่ก็ดีกว่าเดิมและเป็นไปตามแนวทางของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมากขึ้นนะครับ แต่อยากให้พิจารณาทางเลือกอื่นประกอบไปด้วยจาก m:Non-free_content ดังนี้

  1. วิกิพีเดียภาษาญี่ปุ่น ใช้ fair use ก็เหมือนไม่ใช้เลย เพราะว่าเป็นภาพเสรีภายใต้กฎหมายญี่ปุ่น (1.freedom of panorama และ 2.public domain in Japan but not in the United States)
  2. วิกิพีเดียภาษาเกาหลีและอีกหลายภาษา จำกัดคนที่อัปโหลดภาพได้ให้เป็น admin หรือ uploader เท่านั้น ผมคิดว่าแนวทางที่ให้เฉพาะ admin/uploader นำภาพมาใส่ได้จะเป็นแนวทางประนีประนอมที่ช่วยลดปัญหาได้มากที่สุดครับ

--Taweethaも (พูดคุย) 12:33, 18 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

เห็นด้วยครับกับแนวคิดการให้สิทธิเป็น uploader ของอาจารย์ครับ แต่ผมมีคำถามครับ:
  1. การแต่งตั้งเป็น uploader ใครจะเป็นผู้แต่งตั้งครับ และสำหรับผู้ใช้ทั่วไปสามารถขอเป็น uploader ที่ไหนครับ
  2. ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์นานแล้วจะได้รับสิทธิอัตโนมัติหรือเปล่าครับ
  3. uploader ควรใช้ศัพท์ในวิกิพีเดียว่าอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:03, 18 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

1. จริง ๆ ผมก็อยากทราบเหมือนกันว่า fair use ในประเทศไทยมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ถ้าหลักเกณฑ์ไม่ยุบยิบแบบสหรัฐก็อาจจะเปลี่ยนมาใช้ตามหลักเกณฑ์ของไทยได้ครับ declaration ต่าง ๆ จะได้ลดลงด้วย
2. เรื่อง uploader ในวิกิิพีเดียภาษาไทย เกรงว่าจะกลายเป็นเพิ่มระบบราชการเสียเปล่า ๆ ครับ หรืออย่างมากก็ควรจำกัดปริมาณภาพที่อัปโหลดต่อวันก็พอแล้ว --Horus (พูดคุย) 20:12, 18 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
เห็นด้วย --B20180 (พูดคุย) 20:24, 18 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
uploader น่าจะมีคนแปลไว้แล้วสำหรับ media wiki (ดูได้จาก https://translatewiki.net/wiki/Translating:MediaWiki) วิธีการได้มาก็แล้วแต่เราจะตกลงกัน จะให้เลือกตั้งถอดถอนกันอย่างไรหรือว่าเอาสิ่งใดเป็นเกณฑ์ก็แล้วแต่ ด้วยสภาพปัจจุบันจะให้เลือกตั้งถอดถอนกันคงจะดูแลลำบาก แต่ใช้เกณฑ์ว่ามีอายุบัญชีถึงเกณฑ์ เช่น 1 เดือน และมีการแก้ไขถึงจำนวน เช่น 100 ครั้งใน main namespace แบบนี้ก็พอได้ครับ และอาจให้ผู้ดูแลระบบถอน/ระงับสิทธิการอัปโหลดได้หากไม่ทำตามกติกา ตรงนี้เป็นประเด็นที่ประนีประนอมกันคือไม่ต้องบล็อกเขา แค่ถอนสิทธิ์ในการอัปโหลดก็ช่วยลดปัญหาและลดความขัดแย้งได้มาก --Taweethaも (พูดคุย) 11:30, 19 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ลงคะแนน

แก้

"คุณเห็นด้วยกับการเพิ่มสถานะผู้ใช้ 'uploader' ในวิกิพีเดียภาษาไทยหรือไม่ (พร้อมเหตุผล)"

  1. ไม่เห็นด้วย ตามเหตุผลข้างต้นครับ --Horus (พูดคุย) 00:43, 22 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย พอเข้าใจเรื่องเลี่ยงการบล็อกของอาจารย์ทวีธรรม แต่เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนต่าง ๆ เลยขอไม่เห็นด้วยก็แล้วกันครับ --B20180 (คุย) 00:55, 22 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  3. เป็นกลาง uploader ยังเป็นแนวคิดใหม่สำหรับวิกิพีเดียภาษาไทย และยังไม่มีคำที่เหมาะสม จึงขอเป็นกลาง --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 01:16, 22 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
    เหตุผลที่ว่า "ยังไม่มีคำที่เหมาะสม" ไม่น่าเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้น เพราะหากต้องการให้มี uploader จริง ก็ให้มีการเสนอชื่อใหม่ไปด้วยพร้อมกันเลย --124.120.200.97 10:03, 22 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  4. ไม่เห็นด้วย เป็นการสร้าง red tape โดยไม่จำเป็น ทั้ง ๆ ที่หากต้องการบังคับนโยบายนี้ เพียง embed แม่แบบลบไปเป็น default หากผู้อัพโหลดไม่ใส่ข้อมูลก็น่าจะเพียงพอ แล้วใช้ filter กำกับอีกชั้นว่าไฟล์ใหม่ทั้งหมดต้องมี rationale --124.120.200.97 10:03, 22 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  5. ไม่เห็นด้วย เพราะว่ามันยุ่งยาก ซับซ้อนเกินไปครับ และวิกิคือเนื้อหาเสรีที่ทุกคนจะแก้ไข อัปโหลดได้ ไม่จำเป็นที่จะมี Uploader หรอกครับ --ร้อยตรี โชดดี (คุย) 08:51, 23 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  6. ไม่เห็นด้วย ผมก็เพิ่มแหล่งที่มาก็เพียงพอแล้ว บทความที่มีรูปภาพคนดูได้เข้าใจง่ายขึ้น กฎเดิมก็เพียงพอแล้ว ผมก็ขอไม่เห็นด้วยกฎใหม่ครับ --Book9416 (คุย) 23:40, 24 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

สรุป มีมติว่าจะไม่สร้างระดับชั้นผู้ใช้ uploader --Horus (พูดคุย) 17:57, 8 มีนาคม 2561 (ICT)


"คุณเห็นด้วยกับการจำกัดปริมาณภาพที่อัปโหลดได้ต่อวันหรือไม่ (พร้อมจำนวน และเหตุผล)"

  1. เห็นด้วย เพื่อแก้ปัญหาผู้ใช้ที่อัปโหลดไม่เข้าใจตามคุณ Taweetham เสนอ คิดว่าควรเปลี่ยนไปจำกัดปริมาณภาพที่อัปโหลดแทน อาจจะให้ไม่เกินวันละ 5 รูป เนื่องจากผู้ใช้ปกติไม่มีความจำเป็นต้องอัปโหลดภาพถี่ขนาดนั้น แต่ถ้าเกินนั้นอาจจะขอให้ผู้อื่นช่วยทางหน้าแผนกช่วยเหลือแทน --Horus (พูดคุย) 16:07, 22 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  2. เห็นด้วย เช่นกันกับคุณ Horus เพื่อกันการอัปโหลดภาพลิขสิทธิ์พร่ำเพื่อ อาจจะให้ไม่เกินวันละ 5-7 รูป และผมเองก็ไม่ชอบอัปโหลดภาพลิขสิทธิ์ (หากจำเป็นจริงจะอัปโหลดภาพลิขสิทธิ์) จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ส่วนเรื่องข้อมูลภาพคุณ 124.120.200.97 ก็ได้บอกแล้วครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 16:12, 22 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

สรุป ยังไม่มีมติว่าจะจำกัดการอัปโหลดภาพต่อวัน --Horus (พูดคุย) 17:57, 8 มีนาคม 2561 (ICT)


การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
กลับไปที่หน้าโครงการ "เงื่อนไขสำหรับเนื้อหาไม่เสรี"