คำนาม คือคำที่ทำหน้าที่เป็นชื่อของสิ่งของใด ๆ หรือชุดของสิ่งของใด ๆ เช่น สิ่งมีชีวิต วัตถุ สถานที่ การกระทำ คุณสมบัติ สถานะ อาการ หรือแนวคิด[1] ในทางภาษาศาสตร์ คำนามเป็นหนึ่งในชนิดของคำแบบเปิดที่สมาชิกสามารถเป็นคำหลักในประธานของอนุประโยค กรรมของกริยา หรือกรรมของบุพบท

หมวดหมู่คำศัพท์ (ชนิดของคำ) ถูกนิยามในทางที่ว่าสมาชิกจะอยู่รวมกับนิพจน์ชนิดอื่น ๆ กฎทางวากยสัมพันธ์ของคำนามจะแตกต่างกันระหว่างภาษาต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ คำนามคือคำที่สามารถมาพร้อมกับคำนำหน้านาม (article) และคำคุณศัพท์กำหนดลักษณะ (attributive adjective) และสามารถทำหน้าที่เป็นคำหลัก (head) ของนามวลี[2]

ชนิดของคำนามในภาษาไทย

แก้

ชนิดของคำนามในภาษาไทย แบ่งได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่[3]

  1. สามานยนาม (คำนามไม่ชี้เฉพาะ)
  2. วิสามานยนาม (คำนามเฉพาะ)
  3. สมุหนาม (คำนามรวมหมู่)
  4. ลักษณนาม (คำนามบอกลักษณะ)
  5. อาการนาม (คำนามแสดงอาการ)

อ้างอิง

แก้
  1. "Noun". Merriam-Webster Dictionary (online). Merriam-Webster, Incorporated. 2014.
  2. Loos, Eugene E., et al. 2003. Glossary of linguistic terms: What is a noun?
  3. คำนามคืออะไรและชนิดของ คำนาม? - Twinkl