ทุพภิกขภัยในประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1921–1922

ทุพภิกขภัยในประเทศรัสเซีย ค.ศ. 1921–1922 (อังกฤษ: Russian famine of 1921–1922 หรือ Povolzhye famine) เป็นทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้นเริ่มขึ้นในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1921 และยืดยาวจนถึงปีต่อมา ทุพภิกขภัยครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่เกิดขึ้นในรัสเซียบอลเชวิค ที่มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 5 ล้านคนส่วนใหญ่ในภูมิภาควอลกา-ยูรัล[1][2][3]

“ช่วยด้วย” โปสเตอร์รัสเซียจาก ค.ศ. 1921

ความอดอยากครั้งนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยของการขัดจังหวะการสร้างผลิตผลทางเกษตรกรรม ที่เริ่มมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและดำเนินต่อมาจนตลอดความยุ่งเหยิงที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 และ สงครามกลางเมืองรัสเซีย ความอดอยากครั้งนี้รุนแรงถึงขั้นวิกฤติการณ์ และความขาดการรับรู้ถึงสถานการณ์ของผู้บริหารระดับท้องถิ่นก็ยิ่งเพิ่มความเลวร้ายให้แก่ปัญหาหนักยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นระหว่างฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1921 ครึ่งหนึ่งของดินแดนเกษตรกรรมในไครเมียถูกทำลายไปเพราะความแห้งแล้ง แต่เจ้านายระดับท้องถิ่นก็มิได้รายงานของความช่วยเหลือมาจนกระทั่งเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1922 ความอดอยากรุนแรงจนกระทั่งผู้คนต้องบริโภควัชพืช หรือสิ่งที่แทนอาหาร เป็นอาหาร และในบางกรณีถึงกับมีการฆ่ากินกันเองเพื่อพยายามรักษาเมล็ดพันธุ์พืชไว้ปลูก

อ้างอิง

แก้
  1. World's worst natural disasters since 1900
  2. "Hoover Institution - Hoover Digest - Food as a Weapon". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-30. สืบค้นเมื่อ 2010-03-12.
  3. "The German Colonies on the Volga River - Famine Years". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-28. สืบค้นเมื่อ 2010-03-12.

ดูเพิ่ม

แก้