คงศักดิ์ วันทนา
พลอากาศเอก นายกองใหญ่[1] คงศักดิ์ วันทนา (เกิด 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488- ชื่อเล่น บิ๊ก) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ และ อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[2]
คงศักดิ์ วันทนา | |
---|---|
คงศักดิ์ วันทนา ในปี พ.ศ. 2545 | |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ปอง มณีศิลป์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 | |
นายกรัฐมนตรี | พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ |
ถัดไป | นายอารีย์ วงศ์อารยะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 |
คู่สมรส | สลิลลาวัลย์ วันทนา |
ครองตัวเป็นโสดหลังจากภรรยาเสียชีวิตนานหลายปี หลังจากดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศไม่นาน ก็สมรสกับ นางสาวสลิลลาวัลย์ ศิริวงศ์ ณ อยุธยา เพื่อนสนิทของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ก่อนรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
การศึกษา
แก้พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา จบการศึกษาจากโรงเรียนจ่าอากาศ รุ่น 2505 โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 12 โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ 38 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 26 วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 25 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 39
หน้าที่การงาน
แก้พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ตำแหน่งหน้าที่ราชการประกอบด้วยผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารอากาศ เสนาธิการโรงเรียนการบิน รองผู้บัญชาการโรงเรียนการบิน รองเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ ผู้ช่วยเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร เสนาธิการกองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารอากาศฝ่ายยุทธบริการ
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น ตุลาการทหารสูงสุด ประธานกรรมการ บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด และได้รับการยกย่องจากกระทรวงกลาโหมเรื่องการบริจาคเงิน 1 ล้านบาท ให้โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช[3]
งานการเมือง
แก้พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร แทนพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548[4] จนกระทั่งถูกรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[8]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นทวีตริตาภรณ์[12]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นนายทัพ[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00173748.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/D/090/1.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2021-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๙๑, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๗, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2013-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 120 ตอนที่ 4 ข หน้า 5, 7 มีนาคม พ.ศ. 2546
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 121, ตอนที่ 6 ข หน้า 3, 25 มีนาคม พ.ศ. 2547
- ประวัติจากเว็บไซต์กองทัพอากาศไทย เก็บถาวร 2009-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | คงศักดิ์ วันทนา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลอากาศเอก ปอง มณีศิลป์ | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548) |
พล.อ.อ.เฉลิม ชุ่มชื่นสุข รองผบ.ทอ. รรท.ผบ.ทอ. |