ข้าวเหนียวมะม่วง
ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นขนมพื้นถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ นิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อน[1] เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวมะม่วง[2] ทำมาจากข้าวเหนียว มะม่วง และกะทิ[3] มีอายุการเก็บรักษาที่สั้นและมีปริมาณแคลอรี่ น้ำตาล และปริมาณไขมันสูง[4]
ข้าวเหนียวมะม่วง | |
มื้อ | ขนมหวาน |
---|---|
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | ไทย, ลาว, เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ |
ส่วนผสมหลัก | ข้าวเหนียว, มะม่วง, กะทิ |
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 230 กรัม | |
---|---|
พลังงาน | 360 กิโลแคลอรี (1,500 กิโลจูล) |
68 g | |
น้ำตาล | 64 g |
ใยอาหาร | 2 g |
8 g | |
อิ่มตัว | 3 g |
ทรานส์ | 0 g |
4 g | |
แร่ธาตุ | |
โซเดียม | (12%) 180 มก. |
องค์ประกอบอื่น | |
คอเลสเตอรอล | 0 mg |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: สถาบันอาหาร |
ข้าวเหนียวมะม่วงโดยทั่วไปประกอบด้วยข้าวเหนียวมูนที่แต่งรสหวานโดยใช้น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว มูนเข้ากับกะทิและเกลือ[5] รูปแบบที่รับประทานในประเทศไทยนิยมใช้มะม่วงสุกซึ่งมีรสชาติหวานกว่ามะม่วงดิบ โดยนิยมใช้มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นพิเศษ และอาจพบว่าใช้มะม่วงอกร่องได้เช่นกัน[6]
ข้าวเหนียวมะม่วงในแต่ละภูมิภาค
แก้ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าข้าวเหนียวมะม่วงในไทยมีที่มาอย่างไร[7] บ้างสันนิษฐานว่าข้าวเหนียวมะม่วงมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ระบุว่า "หวนห่วงม่วงหมอนทอง อีกอกร่องรสโอชา คิดความยามนิทรา อุราแนบแอบอกอร" เป็นการเอ่ยถึงมะม่วงอกร่องแต่ไม่ได้ระบุว่าทานกับข้าวเหนียว[8] ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการกินข้าวเหนียวมูนคู่กับมะม่วงสุก[9] บ้างก็ว่าข้าวเหนียวมะม่วงเพิ่งมีมาไม่ถึงร้อยปี[10] แม้ว่าข้าวเหนียวมะม่วงมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย[4][3][2][11] แต่ก็พบในหลายประเทศทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้[11]
ในฟิลิปปินส์ ข้าวเหนียวมะม่วงเรียกว่า ปูโตมายา (Puto Maya) มีต้นกำเนิดจากจังหวัดเซบู ประกอบด้วยข้าวเหนียว น้ำขิงสดและน้ำกะทิ มักห่อด้วยใบตองรูปสามเหลี่ยมหรือกลม เสิร์ฟพร้อมมะม่วงสุกหั่นอยู่ด้านข้าง[12] กินกับช็อกโกแลตร้อน[13] ในกัมพูชา ข้าวเหนียวมะม่วงเรียกว่า เบย์ดอมเนิบ (Bey Dom Neib) ส่วนข้าวเหนียวใช้ส่วนผสมข้าวเหนียวกับน้ำตาลปี๊บ บางสูตรมีส่วนผสมของถั่วดำอยู่ในข้าว ราดด้วยน้ำกะทิที่ชุ่มกว่าข้าวเหนียวมะม่วงไทย[14] ข้าวเหนียวมะม่วงในประเทศลาวเรียกว่า ข้าวเหนียวหมากม่วง ในเวียดนามเรียกว่า Xôi Xoài[15]
ในวัฒนธรรมร่วมสมัยของไทย
แก้ในช่วง พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา วลี ข้าวเหนียวมะม่วง เคยถูกใช้เป็นสแลงทางการเมืองแปลว่า "การถูกบังคับให้เสียชีวิตอย่างปริศนาโดยผู้มีอำนาจ"[16] ซึ่งเกิดจากข่าวการเสียชีวิตของพลเอก กฤษณ์ สีวะรา อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของเสนีย์ ปราโมช กฤษณ์เป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจทางทหารที่ขัดกันกับกลุ่มอำนาจทหารของถนอม กิตติขจร กฤษณ์เสียชีวิตในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2519 หลังรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ ด้วยอาการ ‘ท้องเฟ้อ’ หลังจากเล่นกอล์ฟ และรับประทานข้าวเหนียวมะม่วง เขาเสียชีวิตในวันก่อนที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[16] วลี ข้าวเหนียวมะม่วง จึงถูกนำมาใช้เรียกเหตุการณ์การเสียชีวิตอย่างเป็นปริศนา ที่มีการตั้งข้อสงสัยทั่วไปว่าเกิดจากการกำจัดคู่แข่งทางการเมืองของถนอมซึ่งเป็นคู่แข่งทางอำนาจและการเมือง[16][17]
ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2565 แร็ปเปอร์ชาวไทย มิลลิ ขึ้นแสดงดนตรีในเทศกาลดนตรีและศิลปะโคเชลลาแวลลีย์ เป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้แสดงในเทศกาลนี้[18][19] ในช่วงท้ายของการแสดง เธอกินข้าวเหนียวมะม่วงบนเวที นำไปสู่เกิดกระแสการสั่งซื้อของหวานจานดังกล่าวเพิ่มขึ้นในประเทศไทย ผู้ให้บริการขนส่งอาหารรายหนึ่งระบุกับ สนุกดอตคอม ว่ามียอดสั่งซื้อข้าวเหนียวมะม่วงเพิ่มขึ้นเท่าตัวในวันนั้น[20] และมีร้านจำหน่ายข้าวเหนียวมะม่วงแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครรายงานกับไทยรัฐว่าต้องเตรียมข้าวเหนียวเพิ่มถึง 30 กิโลกรัมเพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากกระแสข้าวเหนียวมะม่วงของมิลลิ[21] นอกจากนี้มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจากประเทศไทย เข้าไปค้นหาในกูเกิลด้วยคีย์เวิร์ดชื่ออาหารดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นด้วย[22]
อ้างอิง
แก้- ↑ "10 สูตร "เมนูมะม่วง" ทั้งคาวทั้งหวานกินได้หลายสไตล์ ต้อนรับหน้าร้อน! on wongnai.com". www.wongnai.com.
- ↑ 2.0 2.1 "History of Mango Sticky Rice". Julee Ho Media. สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "What Is Mango Sticky Rice?". wiseGEEK. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
- ↑ 4.0 4.1 Hong-Jun, Chena; Shao-Yu, Chena; Puttongsirib, Tongchai; Pinsirodomb, Praphan; Changa, Yi-Huang; Chih, Cheng (22 March 2018). "production of low calories sticky rice with coconut milk". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-20. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ "'ก.พานิช' 94 ปีแห่งการสืบทอด 'ข้าวเหนียวมูน' ตำรับโบราณ". กรุงเทพธุรกิจ.
- ↑ "สนามข่าวชวนกิน : พาไปชิม! ข้าวเหนียวมะม่วง ป้าใหญ่ ป้าเล็ก". ข่าวช่อง 7HD. 2018-03-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ ข้าวเหนียวมะม่วง จับคู่ความต่างให้กลายเป็นความอร่อย. โครงการรสไทยแท้. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565.
- ↑ "ย้อนรอยที่มา 'ข้าวเหนียวมะม่วง' ขนมหวานเลื่องชื่อของไทย". ช่อง 8.
- ↑ "ร้านอาหาร-เพจดัง รับกระแส 'ข้าวเหนียวมะม่วง' เผย สมัยร.2 เรียก 'ข้าวเหนียวใส่สีโศก'". มติชน.
- ↑ "นักประวัติศาสตร์ชี้'ข้าวเหนียวมะม่วง'เป็นนวัตกรรมใหม่ยุครัตนโกสินทร์". แนวหน้า.
- ↑ 11.0 11.1 "Mango Sticky Rice: This Classic Thai Dessert Screams Summer (Recipe Inside)". NDTV Food (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 April 2022.
- ↑ "Puto Maya and Sikwate". AN ELITE CAFEMEDIA FOOD PUBLISHER.
- ↑ Dizon, Erika (August 16, 2017). "Ever Wonder Why Puto Bumbong Is Violet? (It's Not Ube)". Spot.ph (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "8 เรื่องที่น่าสนใจ "ข้าวเหนียวมะม่วงไทย" ปังกว่าที่คิด".
- ↑ "รายงานพิเศษ: เหตุใด "ข้าวเหนียวมะม่วง" จึง "สุดปัง" ทุกยุคในร้านไทยในสหรัฐฯ". วีโอเอไทย.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "รู้หรือไม่ ยุคหนึ่ง 'ข้าวเหนียวมะม่วง' คือศัพท์ทางการเมืองไทย ที่ความหมายเท่ากับ 'ถูกทำให้ตาย'". The Momentum. 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ หมัดเหล็ก (2017-03-20). "ข้าวเหนียวมะม่วง". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ ""มิลลิ" สุดปัง! ศิลปินเดี่ยวไทยคนแรก ขึ้นโชว์เวทีหลัก Coachella 2022". Posttoday. 2022-04-16. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
- ↑ "Female rapper Milli becomes first Thai artist to perform at Coachella Festival". Thai PBS World (ภาษาอังกฤษ). 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-17.
- ↑ "ไรเดอร์เผย ยอดซื้อเพิ่มเท่าตัว หลัง "มิลลิ" โชว์กิน "ข้าวเหนียวมะม่วง" บนเวที Coachella". Sanook. 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-17.
- ↑ "ข้าวเหนียวมะม่วงร้านดัง ยอดพุ่งรับกระแสมิลลิ". Thairath. 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-17.
- ↑ matichon (2022-04-17). "แห่เสิร์ช 'ข้าวเหนียวมะม่วง-mango sticky rice' พุ่ง หลัง 'มิลลิ' โชว์บนเวทีโคเชลลา". มติชนออนไลน์.