ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว
ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว (ญี่ปุ่น: パリピ孔明; โรมาจิ: Paripi Kōmei; ทับศัพท์: พาริปิ โคเม; แปลว่า "ขงเบ้งนักท่องราตรี") เป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น เขียนเรื่องโดยยูโตะ โยตสึบะ วาดภาพโดยเรียว โองาวะ ซีรีส์เผยแพร่ทางเว็บไซต์คอมิกเดส์ของสำนักพิมพ์โคดันชะตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 และต่อมาย้ายไปตีพิมพ์ต่อในนิตยสารยังแมกกาซีนรายสัปดาห์ ได้รับการรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) ถึงเล่มที่ 17 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์เซนชู เรื่องราวในเขตชิบูยะของกรุงโตเกียว เกี่ยวกับจูกัดเหลียง ชื่อรองขงเบ้ง ผู้ถูกย้ายจากจีนยุคโบราณมายังประเทศญี่ปุ่นในยุคปัจจุบัน และใช้กลยุทธ์ทางทหารต่าง ๆ เพื่อทำให้ซึกิมิ เอย์โกะซึ่งเป็นสหายใหม่กลายเป็นนักร้องชื่อดัง
ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว | |
หน้าปกของมังงะ ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว เล่ม 1 ในฉบับภาษาไทย | |
パリピ孔明 (Paripi Kōmei) | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Ya Boy Kongming! |
แนว | |
มังงะ | |
เขียนโดย | ยูโตะ โยตสึบะ |
วาดภาพโดย | เรียว โองาวะ |
สำนักพิมพ์ | โคดันชะ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | เซนชู |
ในเครือ | ยังแมกกาซีนเคซีสเปเชียล |
นิตยสาร |
|
กลุ่มเป้าหมาย | เซเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน |
จำนวนเล่ม | 18 (ญี่ปุ่น) 9 (ไทย) |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
กำกับโดย | ชู ฮมมะ |
เขียนบทโดย | โยโกะ ยาไนยามะ |
ดนตรีโดย | เก็งกิ ฮิโกตะ |
สตูดิโอ | พีเอเวิกส์ |
ถือสิทธิ์โดย | บิลิบิลิ |
เครือข่าย | โตเกียวเอ็มเอ็กซ์, เอ็มบีเอส, บีเอส เอ็นทีวี |
เครือข่ายภาษาไทย | บิลิบิลิ |
ฉาย | 5 เมษายน พ.ศ. 2565 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565 |
ตอน | 12 |
ละครโทรทัศน์ | |
กำกับโดย | ชูเฮ ชิบูเอะ |
อำนวยการสร้างโดย | คาซูมิ ยาโอะ |
เขียนบทโดย | นนจิ เนโมโตะ |
ดนตรีโดย | นาโอยูกิ ชิกาตานิ |
สตูดิโอ | ซีแอนด์ไอเอ็นเตอร์เทนเมนต์ |
เครือข่าย | ฟูจินิวส์เน็ตเวิร์ก (ฟูจิทีวี, คันไซทีวี) |
ฉาย | 27 กันยายน พ.ศ. 2566 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 |
ตอน | 12 |
ภาพยนตร์อนิเมะ | |
ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว โรดทูซัมเมอร์โซเนีย | |
กำกับโดย | ชู ฮมมะ |
เขียนบทโดย | โยโกะ ยาไนยามะ |
ดนตรีโดย | เก็งกิ ฮิโกตะ |
สตูดิโอ | พีเอเวิกส์ |
ถือสิทธิ์โดย | ฉายแสง แอด.เวนเจอร์ |
ฉาย | 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 (ญี่ปุ่น) 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 (ไทย) |
ซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ดัดแปลงผลิตโดยสตูดิโอพีเอเวิกส์ เผยแพร่ทางแพลตฟอร์มสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2565 และออกอากาศทางโทรทัศน์ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายนปีเดียวกัน บิลิบิลิได้ลิขสิทธิ์เผยแผร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฉายทางแพลตฟอร์มสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องของบิลิบิลิ รวมถึงการฉายรูปแบบพากย์เสียงภาษาไทย
ซีรีส์ละครโทรทัศน์คนแสดงออกอากาศตั้งแต่เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ทางผังรายการชินซูอิ 10 ดรามา ทางช่องฟูจิทีวี
เนื้อเรื่อง
แก้จูกัดเหลียง ชื่อรองขงเบ้ง นักยุทธศาสตร์การทหารที่มีชื่อเสียงในยุคสามก๊ก ล้มป่วยเสียชีวิตระหว่างยุทธการที่ทุ่งราบอู่จั้งในปี ค.ศ. 234 ก่อนตายขงเบ้งปรารถนาชีวิตในชาติหน้าที่สงบสุขปราศจากการนองเลือด ต่อมาขงเบ้งได้กลับชาติมาเกิดใหม่ในประเทศญี่ปุ่นยุคปัจจุบันด้วยร่างในวัยหนุ่ม ปรากฏตัวกลางงานปาร์ตี้แฟนซีในวันฮาโลวีนในเขตชิบูยะ ประเทศญี่ปุ่น เหล่านักท่องราตรี (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "พาริปิ" ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษ 'party people') ในชิบูยะได้พาขงเบ้งมายังไนต์คลับแห่งหนึ่ง ที่ซึ่งขงเบ้งได้พบกับซึกิมิ เอย์โกะ นักร้องผู้มีความทะเยอทะยาน และแล้วชีวิตครั้งที่สองของขงเบ้งจึงเริ่มต้นขึ้น
ตัวละคร
แก้โฟร์ทคิงด้อม / BB เลาจน์
แก้โฟร์ทคิงด้อมเป็นค่ายเพลงอินดีที่ก่อตั้งขึ้นโดยขงเบ้ง ตั้งอยู่ใน BB เลาจน์ซึ่งเป็นไนต์คลับแห่งหนึ่งในชิบูยะ
- ซึกิมิ เอย์โกะ (月見 英子 Tsukimi Eiko)
- ให้เสียงโดย: คาเอเดะ ฮนโดะ[3], 96เนโกะ (เสียงร้องเพลง)[4] (ญี่ปุ่น); หลายบาทหลายสตางค์ (ไทย)
- แสดงโดย: โมกะ คามิชิราอิชิ (ละครโทรทัศน์), ฮารูกิ อิวาตะ[5] (ละครเวที)
- ตัวละครเอกหญิงของเรื่อง หญิงสาวผู้มีความฝันจะเป็นนักร้อง เปิดตัวในฐานะนักร้องในชื่อว่า EIKO
- จูกัดเหลียง ชื่อรองขงเบ้ง (諸葛亮 孔明 Shokatsu Ryō Kōmei)
- ให้เสียงโดย: เรียวตาโร โอกิอายุ[3] (ญี่ปุ่น); คมสรร รัตนากรบดี (ไทย)
- แสดงโดย: โอซามุ มูไก (ละครโทรทัศน์), เร ฟูจิตะ[5] (ละครเวที)
- ตัวละครเอกชายของเรื่อง นักยุทธศาสตร์การทหารผู้เฉลียวฉลาดและมีไหวพริบและเป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก มีฉายาว่า "ฮกหลง" (มังกรหลับ) ป่วยเสียชีวิตในยุทธการที่ทุ่งราบอู่จั้งในปี ค.ศ. 234 แต่กลับมาเกิดใหม่ที่ชิบูยะในประเทศญี่ปุ่นสมัยใหม่ในอีกราว 1,800 ปีต่อมาในรูปลักษณ์ที่อยู่ในวัยหนุ่ม
- KABE ไทจิน (KABE太人 Kabe-Taijin)
- ให้เสียงโดย: โชยะ ชิบะ[6] (ญี่ปุ่น); อภิชิต ลิขิตลิ้มปรีชา (ไทย)
- แสดงโดย: ริวบิ มิยาเซะ[7] (ละครโทรทัศน์), ฟูมิยะ ทากาโอะ[5] (ละครเวที)
- แร็ปเปอร์หนุ่มผู้ครองแชมป์รายการ MC แบทเทิล "DRB" สามสมัยซ้อน
- บอสโคบายาชิ (オーナー小林 Ōnā Kobayashi)
- ให้เสียงโดย: จุง ฟูกูชิมะ[6] (ญี่ปุ่น); อภิชาติ สมุทคีรี (ไทย)
- แสดงโดย: มิไร โมริยามะ[7] (ละครโทรทัศน์), ทาเกชิ นาดางิ[5] (ละครเวที)
- รับบทแสดงโดย: มิไร โมริยามะ[7]
- เจ้าของไนต์คลับ BB เลาจน์ แม้ว่าภายนอกมีบุคลิกแข็งกร้าว แต่ความจริงเป็นโอตาคุสามก๊กและยังชอบเล่นหมากล้อม ในอดีตเคยช่วยเอย์โกะที่พยายามจะฆ่าตัวตาย แล้วรับเอย์โกะมาช่วยงานใน BB เลาจน์ และให้ทำหน้าที่นักร้องประจำร้าน โคบายาชิถูกใจขงเบ้งที่ต้องสามารถคำตอบยาก ๆ เกี่ยวกับสามก๊กระหว่างการสัมภาษณ์ได้จึงจ้างขงเบ้งมาเป็นพนักงานต้อนรับและบาร์เทนเดอร์ใน BB เลาจน์
- DJ SATORI
- ดีเจของ BB เลาจน์
- แฟนคลับหมายเลขหนึ่งของเอย์โกะ
- ให้เสียงโดย: นัตสึกิ ฮานาเอะ (ญี่ปุ่น); มนัสวิน มลิวงค์ (ไทย)
- โชจิ ฮาจิเมะ (東海林 ハジメ Shōji Hajime)
- พนักงานร่างท้วมของโฟร์ทคิงด้อมและอดีตพนักงานของค่ายเพลง SSS มิวสิค มีความสามารถในการเป็นแมวมอง เรียกขงเบ้งว่า "เหล่าซือ" (老師; แปลว่า "อาจารย์")
ศิลปิน
แก้- มิอา อิริโอโมเทะ (ミア 西表 Mia Iriomote)
- ให้เสียงโดย: ยู โคบายาชิ (ญี่ปุ่น); ขวัญกมล ขาวไพศาล (ไทย)
- JET JACKET
- RYO
- ให้เสียงโดย: เค็นจิ อากาบาเนะ (ญี่ปุ่น); สรวิศ ตงเท่ง (ไทย)
- MASA
- ให้เสียงโดย: โชโงะ ซากาตะ (ญี่ปุ่น); นครินทร์ กวาวหก (ไทย)
- TAKU
- ให้เสียงโดย: มาโกโตะ คาเนโกะ (ญี่ปุ่น); ศิวพันธ์ บุณยรัตพันธุ์ (ไทย)
- เซกิโทบะ กังฟู / เซ็กเธาว์ กังฟู (赤兎馬カンフー Sekitoba Kanfū)
- ให้เสียงโดย: ซูบารุ คิมูระ (ญี่ปุ่น); ธนกฤต เอ็นดูรัศมี (ไทย)
- AZALEA
- คุอง นานามิ (久遠 七海 Kuon Nanami)
- ให้เสียงโดย: ฮิบิกุ ยามามูระ[6], Lezel (เสียงร้องเพลง)[4] (ญี่ปุ่น); นพวรรณ เหมะบุตร (ไทย)
- แสดงโดย: ริกาโกะ ยางิ[7] (ละครโทรทัศน์), โมเอกะ โคอิซูมิ[5] (ละครเวที)
- นักร้องนำและมือเบสของวง AZALEA
- อิจิกะ (一夏 Ichika)
- ให้เสียงโดย: ชิซูกะ อิิชิงามิ (ญี่ปุ่น); อธิตญา บุรณนัฏ (ไทย)
- ฟุตาบะ (双葉 Futaba)
- ให้เสียงโดย: นารูมิ คาโฮะ (ญี่ปุ่น); นิมมาน ชุนหชา (ไทย)
- สตีฟ คิโดะ (スティーブ・キド Sutīfu Kido)
- ให้เสียงโดย: ไดจิ เอ็นโด (ญี่ปุ่น); พัฒน์เตชินท์ ศศิพัฒนธาดา (ไทย)
บุคคลในธุรกิจบันเทิง
แก้- คอนโด ซึโยชิ (近藤 剛 Kondō Tsuyoshi)
- ให้เสียงโดย: โฮจู โอตสึกะ (ญี่ปุ่น); พัฒน์เตชินท์ ศศิพัฒนธาดา (ไทย)
- เลขานุการของคอนโด
- ให้เสียงโดย: รินะ ซาโต (ญี่ปุ่น); อธิตญา บุรณนัฏ (ไทย)
- คาราซาวะ โทชิฮิโกะ (唐澤 寿彦 Karasawa Toshihiko)
- ให้เสียงโดย: มาโดโนะ มิตสึอากิ (ญี่ปุ่น); ธนกฤต เจนคลองธรรม (ไทย)
บุคคลอื่น ๆ
แก้- สึกิมิ โชโกะ (月見 翔子 Tsukimi Shōko)
- แม่ของเอย์โกะ
- โออิสึมิ เคียวกะ (大泉 喬花 Ōizumi Kyōka)
- โองาซาวาระ เคียวโกะ (小笠原 蕎子 Ogasawara Kyōko)
- ซาซากิ (佐々木 Sasaki)
- ให้เสียงโดย: ยูกิฮิโระ โนซูยามะ (ญี่ปุ่น); ภาคภูมิ วันทอง (ไทย)
ตัวละครจากสามก๊ก
แก้- เล่าปี่ (หลิว เป้ย์) ชื่อรอง เหี้ยนเต๊ก (เสฺวียนเต๋อ)
- ให้เสียงโดย: ไดซูเกะ นามิกาวะ (ญี่ปุ่น); รุจิระ ขจีเจริญ (ไทย)
- กวนอู (กฺวาน ยฺหวี่) ชื่อรอง หุนเตี๋ยง (ยฺหวินฉาง)
- กวนอูรับบทเป็นตัวละครเอกของนิยายเสริมเรื่อง กวนอู@50000km (関羽@50000km) ที่เขียนโดยยูโตะ โยตสึบะพิมพ์ในช่วงท้ายเล่มของหนังสือมังงะขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาวเล่มที่ 5 และเล่มที่ 7-9
- เตียวหุย (จาง เฟย์) ชื่อรอง เอ๊กเต๊ก (อี้เต๋อ)
- เตียวหุน (เจ้า ยฺหวิน) ชื่อรอง จูล่ง (จื่อหลง)
- จิวยี่ (โจฺว ยฺหวี่) ชื่อรอง กงจิ่น
- ลกซุน (ลู่ ซฺวิ่น) ชื่อรอง ปั๋วเหยียน
- ให้เสียงโดย: ฮายาโตะ คาเนโกะ (ญี่ปุ่น); ศิวพันธ์ บุณยรัตพันธุ์ (ไทย)
- โจโฉ (เฉา เชา) ชื่อรอง เมิ่งเต๋อ
- เตียวเลี้ยว (จาง เหลียว) ชื่อรอง เหวินยฺเหวี่ยน
สื่อ
แก้มังงะ
แก้ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว เขียนเรื่องโดยยูโตะ โยตสึบะ และวาดภาพโดยเรียว โองาวะ เผยแพร่ทางเว็บไซต์คอมิกเดส์ (Comic Days) ของสำนักพิมพ์โคดันชะตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562[8] จนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[9] ซีรีส์จะย้ายไปตีพิมพ์ในนิตยสารยังแมกกาซีนรายสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[10] สำนักพิมพ์โคดันชะรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือมังงะรวมเล่ม (ทังโกบง) เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563[1] วางจำหน่ายถึงเล่มที่ 14 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[11]
มังงะมีลิขสิทธิ์ในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์เซนชู ประกาศลิขสิทธิ์เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563[12] วางจำหน่ายหนังสือมังงะเล่มแรกเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[13] วางจำหน่ายถึงเล่มที่ 8 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[14]
หนังสือมังงะ
แก้# | วันที่ออกจำหน่ายต้นฉบับ | ISBN ต้นฉบับ | วันที่ออกจำหน่ายภาษาไทย | ISBN ภาษาไทย |
---|---|---|---|---|
1 | 8 เมษายน พ.ศ. 2563[15][16] | 978-4-06-519219-1 | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2564[13] | 978-616-561-192-3 |
2 | 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[17][18] | 978-4-06-520198-5 | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564[19] | 978-616-561-192-3 |
3 | 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563[20][21] | 978-4-06-520998-1 | 16 มีนาคม พ.ศ. 2565[22] | 978-616-561-306-4 |
4 | 13 มกราคม พ.ศ. 2564[23][24] | 978-4-06-522012-2 | 17 สิงหาคม พ.ศ. 2565[25] | 978-616-561-361-3 |
5 | 14 เมษายน พ.ศ. 2564[26][27] | 978-4-06-522928-6 | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565[28] | 978-616-561-380-4 |
6 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564[29][30] | 978-4-06-523989-6 | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566[31] | 978-616-561-486-3 |
7 | 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[32][33] | 978-4-06-525885-9 | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566[34] | 978-616-561-510-5 |
8 | 6 มกราคม พ.ศ. 2565[35] | 978-4-06-526485-0 | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[14] | 978-616-561-573-0 |
9 | 6 เมษายน พ.ศ. 2565[36] | 978-4-06-527465-1 | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[37] | 978-616-561-624-9 |
10 | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[38] | 978-4-06-528482-7 | — | — |
11 | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565[39] | 978-4-06-529480-2 | — | — |
12 | 6 มกราคม พ.ศ. 2566[40] | 978-4-06-530382-5 | — | — |
13 | 6 เมษายน พ.ศ. 2566[41] | 978-4-06-531377-0 | — | — |
14 | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[11] | 978-4-06-532251-2 | — | — |
15 | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566[42] | 978-4-06-533371-6 | — | — |
16 | 9 มกราคม พ.ศ. 2567[43] | 978-4-06-534296-1 | — | — |
17 | 5 เมษายน พ.ศ. 2567[44] | 978-4-06-535243-4 | — | — |
18 | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567[45] | 978-4-06-536541-0 | — | — |
อนิเมะ
แก้ซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์ดัดแปลง สร้างโดยสตูดิโอพีเอเวิกส์ ประกาศสร้างเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ซีรีส์อนิเมะกำกับโดยชู ฮมมะ ดูแลการเขียนบทโดยโยโกะ โยไนยามะ ออกแบบตัวละครโดยคานามิ เซกิงูจิ และแต่งดนตรีประกอบโดยเก็งกิ ฮิโกตะ[3] ฉายทาง Abema และแพลตฟอร์มสตรีมมิงอื่น ๆ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม[46][47] ถึง 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565[48] และออกอากาศทางโทรทัศน์ทางช่องโตเกียวเอ็มเอ็กซ์, เอ็มบีเอส และบีเอส เอ็นทีวีตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนถึง 21 มีนาคมในปีเดียวกัน[49] เพลงเปิดชื่อเพลงว่า "จิกิจิกิ บังบัง" (チキチキバンバン Chikichiki Banban, "Chitty Chitty Bang Bang") ร้องโดยกลุ่มดนตรี QUEENDOM ส่วนเพลงเปิดชื่อเพลงว่า"คิบุง โจโจ ↑↑" (気分上々↑↑ Kibun Jōjō ↑↑, "อารมณ์อย่างสุดคึก ↑↑") ร้องโดย Eiko Starring 96Neko[a][6][51] ซีรีส์อนิเมะมีรูปแบบพากย์ภาษาไทยทางบิลิบิลิ ฉายตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายนถึง 11 ธันวาคม พ.ศ. 2565
ภาพยนตร์มัดรวมชื่อเรืองว่า ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว โรดทูซัมเมอร์โซเนีย (ญี่ปุ่น: パリピ孔明 Road to Summer Sonia) ออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567[52] ภาพยนตร์นำเข้าฉายในประเทศไทยโดยบริษัท ฉายแสง แอด.เวนเจอร์ จำกัด ออกฉายในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทยในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2567[53][54]
รายชื่อตอน
แก้ตอนที่ | ชื่อตอน[55][56][b] | ผู้กำกับ[c] | ผู้เขียนบท[c] | ผู้เขียนสตอรีบอร์ด[c] | วันที่ออกอากาศครั้งแรก[46][d] | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | "ขงเบ้ง เยือนชิบุย่า (ญี่ปุ่น: 孔明、渋谷に降り立つ; โรมาจิ: Kōmei, Shibuya ni Oritatsu)" | ชู ฮมมะ | โยโกะ โยไนยามะ | ชู ฮมมะ | 5 เมษายน พ.ศ. 2565 | |
ในปี ค.ศ. 234 ในยุคสามก๊ก จูกัดเหลียง ขงเบ้งล้มป่วยหนักใกล้เสียชีวิต ในวาระสุดท้ายขงเบ้งได้อธิษฐานขอให้เกิดใหม่ในโลกที่สงบสุขปราศจากสงคราม ในเวลาต่อมาขงเบ้งก็ตื่นขึ้นในสภาพของตัวเองในวัยหนุ่มในชิบูยะยุคปัจจุบัน ขงเบ้งรู้สึกสับสนกับสิ่งรอบตัวแล้วหลงเดินเข้าไปในบาร์ใกล้ ๆ ที่นั่นขงเบ้งได้เห็นนักร้องสาวชื่อซึกิมิ เอย์โกะกำลังแสดงบนเวที ขงเบ้งรู้สึกประทับใจกับเสียงร้องเพลงของเอย์โกะ วันถัดมาเอย์โกะเห็นขงเบ้งหมดสติบนถนนจึงพาไปที่บ้าน ที่นั่นเอย์โกะได้สอนเรื่องพื้นฐานของญี่ปุ่นยุคปัจจุบันให้กับขงเบ้ง ขงเบ้งเชื่อว่าตนกลับชาติมาเกิดใหม่ในญี่ปุ่นยุคปัจจุบันด้วยเหตุผลบางอย่าง ด้วยความช่วยเหลือของเอย์โกะ ขงเบ้งจึงได้ทำงานเป็นบาร์เทนเดอร์ที่ไนต์คลับที่เอย์โกะทำงานอยู่ โคบายาชิบอสของเอย์โกะรับขงเบ้งเข้าทำงานเพราะตัวเขาคลั่งไคล้เรื่องสามก๊ก หลังเลิกงานวันแรก เอย์โกะเผยว่าครั้งหนึ่งเธอคิดจะฆ่าตัวตาย แต่พอได้ยินนักร้องคนหนึ่งร้องเพลงก็เกิดแรงผลักดันที่จะมีชีวิตต่อไปเพื่อเป็นนักร้องสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นเช่นกัน แต่จนถึงตอนนี้เอย์โกะก็ไม่ผ่านออดิชันทุกครั้งที่สมัครและคิดที่จะถอดใจ ขงเบ้งจึงเสนอตนเป็นกุนซือให้กับเอย์โกะเพื่อบรรลุซึ่งความฝัน | ||||||
2 | "ขงเบ้ง ออกกลศึก (ญี่ปุ่น: 孔明、計略を使う; โรมาจิ: Kōmei, Keiryaku o Tsukau)" | โมโตกิ นากานิชิ | โยโกะ โยไนยามะ | ชู ฮมมะ | 12 เมษายน พ.ศ. 2565 | |
เมื่อเอย์โกะนึกถึงการเสนอตนเป็นกุนซือของขงเบ้ง เอย์โกะก็มุ่งหวังจะแสดงในเทศกาลดนตรีใหญ่ในญี่ปุ่นและทั่วโลก แต่เธอไม่มีชื่อเสียงและจำนวนผู้ติดตามเพียงพอที่จะเข้าร่วมได้ ขงเบ้งได้จัดการให้ตนและเอย์โกะได้ไปชมการแสดงของนักร้องชื่อดังนามมิอา อิริโอโมเทะเพื่อดูว่าจะเรียนรู้อะไรจากการไปชมการแสดงได้บ้าง ขงเบ้งได้เข้าพบมิอาที่หลังเวที มิอาเชิญให้เอย์โกะมาร่วมการแสดงในคลับขนาดใหญ่ แต่ขงเบ้งก็ได้รู้ว่าเอย์โกะถูกกำหนดให้แสดงในเวลาเดียวกันกับมิอาที่อยู่อีกเวที หมายความว่ามิอาต้องการใช้ประโยชน์จากการที่เอย์โกะเป็นนักร้องไร้ชื่อเพื่อเพิ่มผู้ชมให้ตัวเอง ในคืนที่มีการแสดง ขงเบ้งจัดพื้นที่เวทีทำให้ผู้ชมสับสนหาทางออกไม่ได้ง่าย ๆ ซึ่งประยุกต์มาจากค่ายกลทหารศิลาแปดประตูอันมีชื่อเสียงโด่งดังของตน ประกอบการที่ได้ยินเสียงร้องเพลงของเอย์โกะ ผู้ชมที่มาชมที่เวทีของเอย์โกะจึงเพิ่มขึ้นอย่างมาก การแสดงจบลงด้วยความประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงของเอย์โกะ ได้ผู้ติดตามเพิ่มขึ้นกว่าพันคน ในขณะที่มิอาซึ่งไม่พอใจได้สั่งให้ผู้จัดการคอยติดตามความเคลื่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ของเอย์โกะไว้ | ||||||
3 | "ขงเบ้ง รู้วิถีที่จะมุ่งหน้าไป (ญี่ปุ่น: 孔明、進むべき道を知る; โรมาจิ: Kōmei, Susumu Beki Michi o Shiru)" | ยาซูโอะ ฟูจิอิ | นันโตะ เทรานิชิ | เค โออิกาวะ | 19 เมษายน พ.ศ. 2565 | |
ขงเบ้งใช้โอกาสจากความสำเร็จจากการแสดงของเอย์โกะก่อหน้านี้ จัดการให้เอย์โกะได้ร่วมแสดงในเทศกาลดนตรีท้องถิ่น แต่เอย์โกะยังเป็นมือสมัครเล่นจึงได้เพียงเวทีเล็ก ๆ ที่ไม่โดดเด่น และมีกำหนดต้องการแสดงในเวลาเดียวกันกับการแสดงของวง Jet Jacket ที่เวทีหลัก ในเทศกาลดนตรีขงเบ้งลวงให้วง Jet Jacket เข้าใจว่าเครื่องเสียงของเอย์โกะมีปัญหาเพื่อทำให้ตายใจ จากนั้นจึงประยุกต์ใช้กลยุทธ์ "มีในไม่มี" หนึ่งในสามสิบหกกลยุทธ์ ขงเบ้งเผยว่าเขาได้สืบเรื่องวง Jet Jacket และรู้ว่านักร้องนำมีอาการเจ็บคอ และเพราะจะมีคอนเสิร์ตในวันถัดไป เขาจึงจะไม่ร้องเพลงดังของตัวเองในเทศกาล ขงเบ้งแสร้งทำเป็นอ่อนแอเพื่อให้วง Jet Jacket คลายความระมัดระวัง แล้วจึงให้เอย์โกะเปิดฉากการแสดงดึงดูดผู้ชมมาชม วง Jet Jacket มาต่อว่าขงเบ้งเรื่องที่ใช้เล่ห์กล แต่ขงเบ้งจัดการเอาใจพวกเขาโดยการเตรียมเครื่องดื่มที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอมาให้ดื่ม ขงเบ้งยินดีที่การแสดงที่ประสบความสำเร็จทำให้เอย์โกะมีความมั่นใจมากขึ้น และยังดึงดูดความสนใจของโปรดิวเซอร์ดนตรียักษ์ใหญ่ด้วย | ||||||
4 | "ขงเบ้ง ส่องวิถี (ญี่ปุ่น: 孔明、道を照らす; โรมาจิ: Kōmei, Michi o Terasu)" | มิจิรุ อิตาบิซาชิ | โยโกะ โยไนยามะ | มาซาโยชิ นิชิดะ | 26 เมษายน พ.ศ. 2565 | |
เอย์โกะและขงเบ้งได้รับการทาบทามจากคอนโด ซึโยชิ หนึ่งในผู้จัดงานเทศกาลดนตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก คอนโดประทับในความสามารถของเอย์โกะ จึงเสนอทางเลือกให้เอย์โกะสองทาง ทางเลือกแรกคือให้เข้าร่วมเทศกาลดนตรีท้องถิ่นที่คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงาน 10,000 คน อีกทางเลือกคือเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่ชื่อซัมเมอร์โซเนีย ที่คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงาน 300,000 คน อย่างไรก็ตามการเข้าร่วมแสดงในซัมเมอร์โซเนียมีเงื่อนไขที่จะต้องเข้าร่วมในโครงการ "แสนไลค์" ก่อน โดยเอย์โกะต้องได้รับ 100,000 ไลค์ในหน้าโซเชียลมีเดียจึงมีสิทธิ์เข้าร่วมแสดง โดยมีคำเตือนว่ามีเพียงนักร้องเพียงคนเดียวที่สามารถทำเรื่องท้าทายนี้ให้สำเร็จได้ แต่เอย์โกะก็ตัดสินใจเลือกที่สมัครเข้าร่วมซัมเมอร์โซเนีย โดยวางใจให้ขงเบ้งเป็นผู้วางแผน ขงเบ้งเห็นว่าพวกตนต้องการแร็ปเปอร์ที่มาความสามารถมาร่วม จึงเริ่มเที่ยวไปตามคลับต่าง ๆ เป็นประจำเพื่อค้นหาผู้มีคุณสมบัติ ในขณะเดียวกันเอย์โกะก็มุ่งเน้นที่การฝึกฝนและการแต่งเพลงใหม่ จากนั้นเอย์โกะและขงเบ้งไปเที่ยวด้วยกันที่รปปงงิ เอย์โกะบอกกับขงเบ้งว่าความฝันสูงสูดของตนคือการได้ร้องเพลงที่วอยเซลแลนด์ หนึ่งเทศกาลดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขงเบ้งให้คำมั่นว่าจะช่วยให้ฝันของเอย์โกะเป็นจริง เอย์โกะจึงยอมให้ขงเบ้งได้ฟังเพลงใหม่ที่ตนแต่งขึ้น | ||||||
5 | "ขงเบ้ง ร่ายสัมผัสคล้องจอง (ญี่ปุ่น: 孔明、韻を踏む; โรมาจิ: Kōmei, In o Fumu)" | ยูกิ โมริตะ | ฮิเดอากิ ชิราซากะ | เค็นอิจิ อิไอซูมิ | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | |
ขงเบ้งเตรียมการจัดการดวลแร็ปที่ BB เลาจน์ ในขณะเดียวกัน แร็ปเปอร์หนุ่มอัจฉริยะชื่อ KABE ไทจิน ได้ให้คำมั่นกับตัวเองว่าจะเลิกแร็ป หลังจากล้มลงหมดสติระหว่างการดวลแร็ป สาเหตุมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากความเครียด อย่างไรก็ตาม เขามักถูกแร็ปเปอร์คู่แข่งชื่อเซกิโทบะ กังฟูมากดดันให้เขากลับมาดวลแร็ปกันอีกครั้งหลังเซกิโทบะเคยพ่ายแพ้ KABE ไทจินในการดวลแร็ปครั้งก่อน KABE ไทจินพยายามปฏิเสธเซกิโทบะอย่างเต็มที่ บอกว่าเมื่อตนชนะในการดวลแร็ปมากครั้งเข้า ความกดดันในฐานะผู้อยู่จุดสูงสุดก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนความเครียดมากเกินไปเกินกว่าจะรับได้ ต่อมา KABE ไทจินไปที่ร้านซักผ้าแล้วได้พบกับขงเบ้ง ขงเบ้งร้องแร็ปเข้าหา KABE ไทจินและท้าเขาให้ดวลแร็ปที่ BB เลาจน์ ถ้าขงเบ้งชนะ KABE ไทจินต้องมาเข้าร่วมกลุ่ม แต่ถ้า KABE ไทจินชนะ ขงเบ้งจะทำตามที่ KABE ไทจินขอได้หนึ่งข้อ KABE ไทจินตกหลุมกลการท้าท้ายของขงเบ้ง ในที่สุดจึงตัดสินใจไปยังที่ BB เลาจน์ที่ซึ่งขงเบ้งกำลังรอเขาอยู่ | ||||||
6 | "ขงเบ้ง ฟรีสไตล์ (ญี่ปุ่น: 孔明's フリースタイル; โรมาจิ: Kōmeizu Furīsutairu)" | อายะ โคบายาชิ | ฮิเดอากิ ชิราซากะ | ชู ฮมมะ | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | |
KABE ไทจินมาสังเกตการดวลแร็ปที่ BB เลาจน์ แล้วคิดจะเดินออกไป กระทั่งเขาได้ยินเอย์โกะร้องเพลงชวนให้นึกถึงตอนที่เขารู้จักแร็ปเป็นครั้งแรก ที่ซึ่งเขาเอาชนะความกลัวการเข้าสังคมของตนเองโดยการเข้าร่วมกลุ่มแร็ปกลุ่มเล็ก ๆ เมื่อเวลาผ่านไป KABE ไทจินมีความสามารถในการแร็ปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เขาเป็นแร็ปเปอร์ที่ชนะการดวลแร็ปมาหลายครั้งต่อเนื่องกัน ฝ่ายขงเบ้งปรากฏตัวขึ้นบนเวทีแล้วท้าทาย KABE ไทจินที่กำลังจะเดินจากไปอีกครั้ง KABE ไทจินรับคำท้า ทั้งคู่จึงเริ่มการดวลแร็ปอย่างดุเดือด โดยมีเซกิโทบะมาร่วมชมด้วย ในระหว่างการดวลแร็ป ความหลงใหลในการแร็ปของ KABE ไทจินก็ตื่นขึ้นอีกครั้ง และใช้ความสามารถแร็ปเอาชนะขงเบ้งได้ เซกิโทบะจากไปอย่างพอใจที่คู่แข่งของตนกลับมาแร็ปอีกครั้ง หลังจากนั้นขงเบ้งถาม KABE ไทจินถึงเรื่องที่จะขอตามเงื่อนไขการดวล แต่ KABE ไทจินตอบว่าความปรารถนาของเขาที่ต้องการกลับมาแร็ปนั้นสำเร็จลงแล้ว จึงตัดสินใจขอเข้าร่วมกลุ่มกับขงเบ้ง ในความจริงขงเบ้งได้ควบคุมสถานการณ์ทั้งหมดมาตั้งแต่ต้นโดยทีทุกคนไม่รู้ ขงเบ้งใช้สายสืบไปสืบหาเพลงโปรดของ KABE ไทจิน และแอบใส่ยาแก้โรคกระเพาะในเครื่องดื่มของ KABE ไทจิน ขงเบ้งได้อ้างถึงหลักการยุทธ์จากพิชัยสงครามซุนวูว่าด้วยการใช้ผลประโยชน์ดึงดูดให้ข้าศึกเข้ามาหาตน | ||||||
7 | "แผนสร้างสันติภาพในใต้หล้า vol.1 (ญี่ปุ่น: 天下泰平の計vol.1; โรมาจิ: Tenka Taihei no Kei Boryūmu Wan)" | อากิระ ทากาฮาชิ | นันโตะ เทรานิชิ | มาซาโยชิ นิชิดะ | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | |
หลัง KABE ไทจิน มาร่วมกลุ่ม ขงเบ้งจึงเริ่มดำเนินแผนสำหรับโครงการแสนไลค์ โดยเน้นไปที่การขับเคี่ยวกับวงหญิงล้วนคู่แข่งชื่อ AZALEA ที่นำโดยนักร้องหญิงมากความสามารถชื่อคุอง นานามิ และได้รับการหนุนหลังโดยค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ KEY TIME เนื่องจากพวกตนไม่สามารถต่อกรกับทุนประชาสัมพันธ์ของ Key Time ขงเบ้งจึงกำหนดให้เวลาที่ดีที่สุดในการโพสต์เพื่อให้ได้ 100,000 ไลค์คือสามวันก่อนวันเดดไลน์ของการแข่งขัน ขณะเดียวกันขงเบ้งแนะนำให้ KABE ไทจินไปดวลแร็ปตัดสินกับเซกิโทบะอีกครั้ง และให้เอย์โกะไปบันทึกเสียงเพลงใหม่ของตนกับดีเจชื่อดังนามสตีฟ คิโดะ หรือชื่อเล่นว่า "คิด" คิโดะขอให้เอย์โกะร้องเพลง "I'm Still Alive Today" เพลงของมาเรีย ดีเซลนักร้องที่เอย์โกะชื่นชอบ คิโดะประทับใจในความสามารถของเอย์โกะ แต่ก็ยังแนะนำเอย์โกะให้ไปค้นหาเสียงของ "ตนเอง" ในขณะเดียวกันกับที่ KABE ไทจินกำลังคิดเรื่องเนื้อหาการแร็ปในการดวล ด้านเอย์โกะได้ใบอนุญาตการแสดงข้างถนนที่ขงเบ้งเตรียมให้แล้วมุ่งไปยังพื้นที่การแสดง ที่นั่นเอย์โกะได้พบนักร้องข้างถนนคนหนึ่งชื่อนานามิกำลังร้องเพลง "I'm Still Alive Today" เอย์โกะได้ฟังก็รู้สึกสนใจ เอย์โกะใช้ใบอนุญาตช่วยนานามิที่ถูกตำรวจสอบปากคำเรื่องไม่มีใบอนุญาต เอย์โกะจึงได้แสดงข้างถนนเป็นคู่ร่วมกับนานามิ โดยเอย์โกะเล่นกีต้าร์และนานามิเป็นผู้ร้องเพลง ทั้งคู่นัดกันจะมาพบกันอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น โดยนานามิขอให้เอย์โกะร้องเพลงด้วยกันกับตนในครั้งถัดไปเพราะอยากจะฟังเสียงของเอย์โกะ ด้านขงเบ้งที่ BB เลานจน์ได้ทำการทำนายโชคชะตาได้ความที่ว่า "เพื่อนที่รู้ใจ" | ||||||
8 | "ตามหาตัวเอง (ญี่ปุ่น: 自分を探す; โรมาจิ: Jibun o Sagasu)" | ยาซูโอะ ฟูจิอิ | นันโตะ เทรานิชิ | โยชิยูกิ อาไซ | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | |
วันถัดมา เอย์โกะแสดงข้างถนนร่วมกับนานามิอีก แต่ยังรู้สึกว่าความสามารถตนไม่ไปถึงขั้นนานามิและเริ่มหมดความมั่นใจ ขณะเดียวกัน KABE ไทจินก็กำลังมีปัญหากับเนื้อหาการแร็ปสำหนับการดวลที่จะเกิดขึ้นกับเซกิโทบะ KABE ไทจินและเอย์โกะพบกันโดยบังเอิญที่ BB เลาจน์ ทั้งคู่จึงร้องเพลงสดด้วยกัน จากนั้นเอย์โกะก็แนะนำให้ KABE ไทจินลองกลับไปยังจุดเริ่มต้น KABE ไทจินจึงตัดสินใจเดินทางกลับไปยังบ้านเกิด ที่นั่น KABE ไทจินได้รู้จากคนที่ผ่านทางรวมถึงเพื่อนเก่าว่าเขากลายเป็นคนดังในท้องถิ่นบ้านเกิดที่ใคร ๆ ก็รู้จัก ด้านเอย์โกะใช้เวลาร่วมกันกับนานามิมากขึ้นและระบายความคับข้องใจให้นานามิฟัง นานามิจึงตกลงช่วยฝึกฝนให้เอย์โกะและช่วยเธอหาเสียงของตนเอง ในอีกไม่กี่วันต่อมา เอย์โกะก็ปรับปรุงการร้องของตนไปได้มากด้วยการฝึกสอนของนานามิ จึงตัดสินใจกลับไปพิสูจน์ตนเองกับคิโดะ ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ต้องขอบคุณการฝึกสอนของนานามิ เออิโกะจึงสามารถปรับปรุงการร้องเพลงของเธอได้อย่างมาก และเธอตัดสินใจที่จะมุ่งหน้าไปเพื่อพิสูจน์ตัวเองกับคิโดะ หลังจากเอย์โกะไปแล้ว นานามิได้รับโทรศัพท์ที่โทรเข้ามาแล้วหายตัวไป | ||||||
9 | "เพื่อประชาราษฎร์ (ญี่ปุ่น: たみくさのために; โรมาจิ: Tamikusa no Tame ni)" | ชิเงกิ อาไว | ฮิเดอากิ ชิราซากะ | โนริฮิโระ นางานูมะ | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | |
นานามิรับโทรศัพท์ที่โทรมาจากผู้จัดการชื่อคาราซาวะ ปรากฏว่าแท้จริงแล้วเธอคือคนเดียวกันกับคุอง นานามิแห่งวง AZALEA คาราซาวะตำหนินานามิที่ไม่เชื่อฟังและห้ามไม่ให้ไปแสดงข้างถนนหรือพบกับเอย์โกะอีก ในขณะที่เอย์โกะได้แสดงการร้องเพลงให้คิโดะฟังอีกครั้ง คิโดะยอมรับว่าเอย์โกะพัฒนาขึ้นแล้ว แต่ยังบอกว่าเอย์โกะยังไม่พบเป้าหมายในการร้องเพลง ต่อมาเอย์โกะได้ขึ้นไปยังจุดชมวิวชั้นดาดฟ้าร่วมกับนานามิด้วยตั๋วขึ้นชมที่ขงเบ้งเตรียมไว้ให้ ที่นั่นนานามิได้เปิดเผยกับกับเอย์โกะว่าตนคือคุอง นานามิแห่งวง AZALEA นานามิเล่าให้ฟังว่าตนก่อตั้งวง AZALEA ร่วมกับเพื่อนร่วมโรงเรียนมัธยมปลายสองคน แม้ว่าตอนแรกยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็สนุกกับการเล่นดนตรีตามใจต้องการ แต่ทุกอย่างได้เปลี่ยนไปเมื่อพวกเธอได้กับโปรดิวเซอรืดนตรีคาราซาวะ โทชิฮิโกะจากค่าย KEY TIME คาราซาวะให้คำมั่นว่าจะทำให้วง AZALEA ประสบความสำเร็จถ้าร้องเพลงของคาราซาวะ ตอนแรกพวกเธอปฏิเสธ แต่เมื่อวง AZALEA ยังไม่ปรสบความสำเร็จจนมีปัญหาเรื่องเงินขัดแคลน ด้วยความสิ้นหวังจึงกลับไปพึ่งคาราซาวะ วง AZALEA จึงประสบความสำเร็จด้วยการทำตามคำแนะนำอันเข้มงวดของคาราซาวะ แต่ภายหลังนานามิเห็นว่าวง AZALEA ยอมแลกตนเพื่อชื่อเสียงและผลกำไรมากกว่าเพื่อดนตรี เอย์โกะรู้สึกได้ว่านานามิซ่อนปัญหาของตนไว้ จึงอยากจะใช้ดนตรีเพื่อช่วยเหลือเธอเหมือนกับตัวเอย์โกะเองที่ก็เคยได้ดนตรีช่วยไว้ เอย์โกะร้องเพลง "I'm Still Alive Today" ด้วยการตีความเพลงของตนเอง ทำให้นานามิประทับใจจนหลั่งน้ำตา นานามิแยกทางจากเอย์โกะ โดยเตือนเอย์โกะว่าครั้งต่อไปที่พบกันทั้งคู่จะกลายเป็นคู่แข่งกัน แต่เอย์โกะยังคงแสดงออกซึ่งความปรารถนาที่ได้ร้องเพลงกับนานามิอีกครั้งในสักวันหนึ่ง ในตอนนั้นขงเบ้งอยู่ที่นั่นด้วยแล้วได้ฟังเพลงที่เอย์โกะร้อง จึงบอกกับเอย์โกะว่าตอนนี้เธอพบเป้าหมายที่จะร้องเพลงแล้ว แล้วพร้อมที่จะก้าวสู่แผนการขั้นต่อไป | ||||||
10 | "DREAMER" | ทากูมะ ซูซูกิ | โยโกะ โยไนยามะ | มาซาโยชิ นิชิดะ | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | |
หลังจากพบเป้าหมายของตน เอย์โกะจึงกลับมาหาคิโดะและแสดงการร้องเพลงอีกครั้ง ครั้งนี้คิโดะรู้สึกประทับใจมากพอที่จะสร้างสรรค์การเรียบเรียงดนตรีให้กับเพลงของเอย์โกะ ขณะเดียวกัน KABE ไทจินก็เตรียมพร้อมสำหรับการดวลแร็ปกับเซกิโทบะและนึกถึงช่วงเวลาที่ใช้ร่วมกันกับเพื่อนเก่าร่วมแร็ปด้วยกัน ระหว่างการดวลจริง เซกิโทบะประทับใจกับพัฒนาการของ KABE ไทจินมากจนรู้สึกยอมรับ ทางด้านนานามิที่ยังมีความรู้สึกซับซ้อนกับมิตรภาพของตนกับเอย์โกะ ก็ฝึกซ้อมในวง AZALEA ต่อไปภายใต้การกำกับของคาราซาวะ จากนั้นคาราซาวะก็ประกาศว่าวง AZALEA จะแสดงคอนเสิร์ตเซอร์ไพรส์ในชิบูยะ พร้อมมีรางวัลล้านเยนที่จะแจกให้ผู้ชม ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่ง 100,000 ไลค์ นานามิรู้สึกไม่สบายใจกับความคิดที่จะใช้เงินซือไลค์ แต่ไม่อาจขัดคำสั่งของคาราซาวะได้ กลับมาที่สตูดิโอของคิโดะ เอย์โกะร้องเพลงของตนในเวอร์ชันเรียบเรียงใหม่โดยคิโดะ ขงเบ้งได้ฟังแล้วพลันหวนนึกถึงความทรงจำเมื่อครั้งที่ได้พบกับเล่าปี่เป็นครั้งแรกและสาบานจะภักดีต่อเล่าปี่ ในอีกไม่กี่วันต่อมาเอย์โกะยังคงพัฒนาการร้องของตนเองต่อไปด้วยความเหลือจาก KABE ไทจิน และตัดสินใจตั้งชื่อเพลงของตนว่า "DREAMER" | ||||||
11 | "เรือฟางยืมลูกเกาทัณฑ์ (ญี่ปุ่น: 草船借箭; โรมาจิ: Sōsen Shakusen)" | อากิระ ทากามูระ | โยโกะ โยไนยามะ | Jong Heo | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | |
ทั้งขงเบ้งและวง AZALEA เริ่มดำเนินแผนการเพื่อให้ได้ 100,000 ไลค์ คาราซาวะวางแผนจะให้วง AZALEA แสดงคอนเสิร์ตเซอร์ไพรส์ที่หน้าห้างสรรพสินค้า SHIBUYA 109 ซึ่งจะทำการแจกคิวอาร์โค้ดให้ผู้ชมเข้าไปร่วมกิจกรรมลุ้นรับเงินล้านเยน ซึ่งเป็นการกดไลค์ให้วง AZALEA ด้วยในเวลาเดียวกัน ฝ่ายขงเบ้งคาดการณ์แผนของคาราซาวะไว้แล้วจึงให้เอย์โกะชิงร้องเพลงของวง AZALEA ที่หน้า SHIBUYA 109 ก่อน พร้อมการแสดงคิวอาร์โค้ดของตน หลอกให้ผู้ชมที่เป็นแฟนเพลงของวง AZALEA เข้าไปกดไลค์ให้เอย์โกะจนได้ราว 70,000 ไลค์ ก่อนจะถูกเผยไต๋ว่าเป็นตัวปลอม ด้านวง AZALEA ก็มาถึงและเริ่มแสดง แต่นานามิตกใจที่เห็นเอย์โกะเป็นคู่แข่งของพวกตนและเริ่มรู้สึกกังวลการแสดงของตนที่เอย์โกะกำลังดู ฝ่ายขงเบ้งคิดใช้ "กลยุทธ์แตกหัก" เพื่อทำให้วง Azalea แตกแยก แต่ขงเบ้งตัดสินใจเปลี่ยนแผนเพราะเคารพในมิตรภาพของเอย์โกะกับนานามิ จึงใช้ให้ KABE ไทจินร้องแร็ปยั่วยุ กล่าวหาวง AZALEA เป็นตัวปลอม แฟนเพลงของเอย์โกะที่ทำงานให้ขงเบ้งก็เริ่มแพร่ข่าวลือว่าวง AZALEA เป็นตัวปลอมเช่นกัน ทำให้ยอดไลค์ของวง AZALEA หยุดอยู่ที่ 98,000 ไลค์ ระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่รู้ผลแพ้ชนะ เอย์โกะก็เตรียมพร้อมที่จะร้องเพลงของตนต่อไป | ||||||
12 | "เพลงของเอย์โกะ (ญี่ปุ่น: 英子の歌; โรมาจิ: Eiko no Uta)" | ชู ฮมมะ | โยโกะ โยไนยามะ | ชู ฮมมะ | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | |
เอย์โกะเตรียมจะร้องเพลงแต่ถูกผู้ชมขับไล่ นานามิจึงพูดแทรกขอให้ผู้ชมเงียบเสียงลงและให้โอกาสแก่เอย์โกะ จากนั้นเอย์โกะจึงเริ่มร้องเพลง DREAMER เป็นที่ประทับใจของทั้งนานามิ เพื่อนร่วมวง และเหล่าผู้ชมทั้งหมด ผู้ชมเริ่มเข้าไปกดไลค์ให้เอย์โกะ คาราซาวะร้อนรนสั่งให้วง AZALEA เริ่มแสดงเพลงใหม่ แต่นานามิเมินเสีย ในที่สุดเอย์โกะจึงได้ 100,000 ไลค์ แม้วง AZALEA จะเป็นฝ่ายแพ้ แต่ทั้งวงได้รับแรงบันดาลใจจากการร้องเพลงของเอย์โกะ จึงตัดสินใจแสดงต่อในแนวทางของตนเองด้วยเพลงดั้งเดิมเพลงหนึ่งของวง ฝ่ายขงเบ้งได้เผยแพร่วิดีโอการแสดงของวง AZALEA ออนไลน์โดยที่วง AZALEA ไม่รู้ ทำให้พวกเขาได้ 100,000 ไลค์เช่นกัน และพิสูจน์ให้คาราซาวะเห็นว่าพวกเธอสามารถดึงดูดแฟนตัวจริงได้มากกว่าการใช้เงินซื้อไลค์ งานเลี้ยงฉลองชัยชนะของเอย์โกะจัดขึ้นที่ BB เลาจน์ ที่นั่นขงเบ้งเข้ามาสนทนากับคาราซาวะอย่างสุภาพ ขงเบ้งกล่าวว่าคาราซาวะก็เคยเป็นนักดนตรีที่มีความฝันในวัยเยาว์เช่นกันก่อนจะถูกหักหลังโดยเพื่อนร่วมวงคนหนึ่ง ฝ่ายคาราซาวะยอมรับว่าตนเห็นพรสวรรค์ของวง AZALEA และต้องการให้พวกเธอประสบความสำเร็จเพื่อจะได้ไม่เจอกับชะตากรรมเดียวกับที่ตนเคยประสบ ขณะนั้นวง AZALEA ได้ยินอดีตของคาราซาวะ จึงตกลงที่จะยังทำงานต่อไปร่วมกับคาราซาวะในฐานะโปรดิวเซอร์ ฝ่ายเอย์โกะได้ไปคุยกับขงเบ้ง ขอบคุณขงเบ้งที่ช่วยเธอในฐานะกุนซือ ส่วนขงเบ้งก็ขอบคุณเอย์โกะที่ให้เป้าหมายในชีวิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับสงคราม จากนั้นขงเบ้งได้บอกกับตัวเองว่าแผนขั้นแรกเพื่อความฝันของเอย์โกะได้สำเร็จลุล่วงแล้ว จากนั้นเอย์โกะก็กลับไปยังเวทีเพื่อแสดงแก่แฟน ๆ ที่กำลังรออยู่ |
ละครโทรทัศน์
แก้ซีรีส์ละครโทรทัศน์คนแสดงผลิตโดยฟูจิทีวีมีการประกาศสร้างเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ซีรีส์ละครกำกับโดยชูเฮ ชิบูเอะ เขียนบทโดยนนจิ เนโมโตะ โอซามุ มูไกรับบทแสดงเป็นขงเบ้ง ส่วนโมกะ คามิชิราอิชิรับบทแสดงเป็นสึกิมิ เอย์โกะ ออกอากาศทางผังรายการชินซูอิ 10 ดรามา ทางช่องฟูจิทีวีตั้งแต่วันที่ 27 กันยายนถึง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566[7][57][58][52]
ละครเวที
แก้ละครเวทีดัดแปลงมีการประกาศในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 เขียนบทและกำกับโดยอากิระ อิชิดะจากคู่หูตลกนอนสไตล์ นำแสดงโดยเร ฟูจิตะ, ฮารูกิ อิวาตะ, โมเอกะ โคอิซูมิ และคนอื่น ๆ มีกำหนดออกแสดงในโตเกียวตั้งแต่วันที่ 3 ถึง 6 พฤษภาคม และในโอซากะในวันที่ 10 และ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[59][5]
การตอบรับ
แก้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 มังงะมียอดจำหน่ายมากกว่า 1.2 ล้านเล่ม[60]
ซีรีส์มังงะชนะเลิศรางวัล U-NEXT ในสาขาเว็บมังงะของรางวัลมังงะถัดไปในปี พ.ศ. 2563[61] ซีรีส์มังงะติดอันดับที่ 9 ของ "การ์ตูนแนะนำโดยพนักงานร้านหนังสือทั่วประเทศประจำปี 2021" โดยเว็บไซต์ฮนยะคลับ[62][63] ซีรีส์มังงะได้รับการเสนอชื่อในรางวัลมังงะโชงากูกังครั้งที่ 69[64][e]
รางวัล
แก้ปี | รางวัล | สาขา | ผู้เข้าร่วม | ผล | อ. |
---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2566 | รางวัลอนิเมะครันชีโรลครั้งที่ 7 | ซีรีส์ใหม่ยอดเยี่ยม | ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว | เสนอชื่อเข้าชิง | [65] |
สุขนาฏกรรมยอดเยี่ยม | |||||
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม | |||||
เพลงอนิเมะยอดเยี่ยม | "ชิกิจิกิ บังบัง" โดยวง QUEENDOM | ||||
ฉากเพลงเปิดยอดเยี่ยม |
หมายเหตุ
แก้- ↑ เพลงเปิดเป็นเพลงคัฟเวอร์ภาษาญี่ปุ่นของเพลง "Bulikirály" (รู้จักในประเทศญี่ปุ่นในชื่อว่า "จิกิจิกิ บังบัง") โดยจอลลีนักร้องชาวฮังการี[50] ส่วนเพลงปิดเป็นเพลงคัฟเวอร์ของเพลงชื่อเดียวกันโดยมิฮิมารุจีทีนักร้องคู่ชาวญี่ปุ่น[6]
- ↑ ชื่อตอนภาษาไทยนำมาจากบิลิบิลิ
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ข้อมูลจากเครดิตจบของแต่ละตอน
- ↑ ตอนที่ปล่อยในเว็บไซต์ Abema, แอปพลิเคชันบิลิบิลิ และแพลตฟอร์มสตรีมมิงอื่น ๆ ฉายล่วงหน้าก่อนวันที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ 5 วัน
- ↑ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลไม่ได้แบ่งตามสาขาในปี พ.ศ. 2566 ต่างจากปีก่อนหน้า
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 現代日本へと転生した名軍師・諸葛亮孔明を描くコメディ「パリピ孔明」1巻. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. March 20, 2020. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ Morrissy, Kim (June 1, 2022). "Ya Boy Kongming! Director Shu Homma". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ June 12, 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Hazra, Adriana; Hodgkins, Crystalyn (November 17, 2021). "Ya Boy Kongming! Manga Gets TV Anime in April 2022 by P.A. Works". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ 4.0 4.1 「パリピ孔明」英子(96猫)&七海(Lezel)が“歌ってみた”! 大塚愛「さくらんぼ」など、J-POPカバー動画公開. animeanime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). May 26, 2022. สืบค้นเมื่อ May 29, 2022.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Hodgkins, Crystalyn (December 23, 2023). "Ya Boy Kongming! Manga Gets Stage Play in May 2024". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2023. สืบค้นเมื่อ December 23, 2023.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Loo, Egan (January 15, 2022). "Ya Boy Kongming! Anime's 1st Video Unveils More Cast, Ending Song, April 5 Debut". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ January 15, 2022.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Komatsu, Mikikazu (August 19, 2023). "Ya Boy Kongming! Live-Action Drama Releases 1st Teaser Trailer". Crunchyroll. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2023. สืบค้นเมื่อ August 19, 2023.
- ↑ Comic Days [@comicdays_team] (December 31, 2019). 名軍師・孔明、渋谷に転生!『パリピ孔明』 (四葉夕卜/小川亮) が、コミックDAYSで12月31日より連載開始! (ทวีต) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ November 17, 2021 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Ogawa, Ryō [@R_ogawa] (November 16, 2021). パリピ孔明はヤングマガジンに媒体を移すことになりました。DEYSで応援してくださった皆さま本当にありがとうございます。よろしければ単行本ほかなどで引き続き読んでいただけるとありがたいです! (ทวีต) (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ November 17, 2021 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 「パリピ孔明」P.A.WORKS制作でTVアニメ化、キャストに置鮎龍太郎&本渡楓. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. November 17, 2021. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ 11.0 11.1 パリピ孔明(14) (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha Comic Plus. สืบค้นเมื่อ May 24, 2023.
- ↑ "ประกาศลิขสิทธิ์ใหม่จาก KODANSHA". เฟซบุ๊ก. เซนชู. December 24, 2020. สืบค้นเมื่อ February 20, 2024.
- ↑ 13.0 13.1 "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 19 พฤษภาคม 2564". Zenshu Comics. May 18, 2021. สืบค้นเมื่อ November 18, 2021.
- ↑ 14.0 14.1 "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567". Zenshu Comics. February 13, 2023. สืบค้นเมื่อ February 19, 2024.
- ↑ 【4月8日付】本日発売の単行本リスト. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. April 8, 2020. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ "『パリピ孔明 (1) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
- ↑ 【7月8日付】本日発売の単行本リスト. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. July 8, 2020. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ "『パリピ孔明 (2) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
- ↑ "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 7 กรกฎาคม 2564". Zenshu Comics. May 18, 2021. สืบค้นเมื่อ November 18, 2021.
- ↑ 【10月14日付】本日発売の単行本リスト. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. October 14, 2020. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ "『パリピ孔明 (3) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
- ↑ "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2565". Zenshu Comics. March 16, 2022. สืบค้นเมื่อ March 18, 2022.
- ↑ 【1月13日付】本日発売の単行本リスト. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. January 13, 2021. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ "『パリピ孔明 (4) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
- ↑ "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 17 สิงหาคม 2565". Zenshu Comics. August 16, 2022. สืบค้นเมื่อ September 30, 2022.
- ↑ 【4月14日付】本日発売の単行本リスト. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. April 14, 2021. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ "『パリピ孔明 (5) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2021-04-14.
- ↑ "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 7 ตุลาคม 2565". Zenshu Comics. October 6, 2022. สืบค้นเมื่อ October 14, 2022.
- ↑ 【7月14日付】本日発売の単行本リスト. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. July 14, 2021. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ "『パリピ孔明 (6) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2021-07-14.
- ↑ "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2566". Zenshu Comics. August 22, 2023. สืบค้นเมื่อ September 7, 2023.
- ↑ 【11月18日付】本日発売の単行本リスト. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. November 18, 2021. สืบค้นเมื่อ November 18, 2021.
- ↑ "『パリピ孔明 (7) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2021-11-18.
- ↑ "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2566". Zenshu Comics. October 2, 2023. สืบค้นเมื่อ October 5, 2023.
- ↑ "『パリピ孔明 (8) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2022-01-16.
- ↑ "『パリピ孔明 (9) 』(四葉夕卜,小川亮)". 講談社コミックプラス. 講談社. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ "หนังสือออกใหม่ประจำวันที่ 24 กรกฎาคม 2567". Zenshu Comics. July 23, 2023. สืบค้นเมื่อ July 30, 2024.
- ↑ パリピ孔明(10) [Ya Boy Kongming (10)]. Kodansha Comics Plus (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ July 10, 2022.
- ↑ パリピ孔明(11) [Ya Boy Kongming (11)]. Kodansha Comics Plus (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ September 21, 2022.
- ↑ パリピ孔明(12) [Ya Boy Kongming (12)]. Kodansha Comics Plus (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ February 7, 2023.
- ↑ パリピ孔明(13) [Ya Boy Kongming (13)]. Kodansha Comics Plus (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ March 20, 2023.
- ↑ パリピ孔明(15) (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha Comic Plus. สืบค้นเมื่อ February 19, 2024.
- ↑ パリピ孔明(16) (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha Comic Plus. สืบค้นเมื่อ February 19, 2024.
- ↑ パリピ孔明(17) (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha Comic Plus. สืบค้นเมื่อ July 30, 2024.
- ↑ パリピ孔明(18) (ภาษาญี่ปุ่น). Kodansha Comic Plus. สืบค้นเมื่อ July 30, 2024.
- ↑ 46.0 46.1 "On'ea | Terebi Anime "Paripi Kōmei" Kōshiki Saito" ONAIR | TVアニメ「パリピ孔明 」公式サイト [On Air | TV Anime "Ya Boy Kongming!" Official Website]. paripikoumei-anime.com (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 31, 2022. สืบค้นเมื่อ March 31, 2022.
- ↑ "The Ya Boy Kongming! Anime Throws an Exclusive Party on HIDIVE This April". Hidive. February 17, 2022. สืบค้นเมื่อ March 31, 2022.
- ↑ 「パリピ孔明」最終回直前特番が放送決定! 本渡楓、96猫、千葉翔也、山村響、Lezel出演. animeanime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). June 16, 2022. สืบค้นเมื่อ June 16, 2022.
- ↑ 春アニメ「パリピ孔明」目を覚ますと渋谷ハロウィン! 孔明はバイブスを感じる歌声に出会い…第1話先行カット. animeanime.jp (ภาษาญี่ปุ่น). April 5, 2022. สืบค้นเมื่อ June 16, 2022.
- ↑ アニメ「パリピ孔明」PV第2弾公開、OP主題歌は「チキチキバンバン」日本語カバー. Comic Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. February 15, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2022. สืบค้นเมื่อ April 9, 2022.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (February 15, 2022). "Ya Boy Kongming! Anime's 2nd Promo Video Reveals, Previews Opening Theme Song". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ February 15, 2022.
- ↑ 52.0 52.1 Loo, Egan (November 29, 2023). "Ya Boy Kongming! Anime Gets Compilation Film Next March". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2023. สืบค้นเมื่อ November 29, 2023.
- ↑ "ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว". เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์. สืบค้นเมื่อ May 15, 2024.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ขงเบ้ง เจาะเวลามาปั้นดาว". เอสเอฟ ซีเนม่า. สืบค้นเมื่อ May 15, 2024.
- ↑ "Sutōrī | Terebi Anime "Paripi Kōmei" Kōshiki Saito" STORY | TVアニメ「パリピ孔明 」公式サイト [Story | TV Anime "Ya Boy Kongming!" Official Website]. paripikoumei-anime.com (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 31, 2022. สืบค้นเมื่อ March 31, 2022.
- ↑ "Stream Ya Boy Kongming! on HIDIVE". HIDIVE. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 26, 2022. สืบค้นเมื่อ March 26, 2022.
- ↑ Pineda, Rafael Antonio (May 1, 2023). "Ya Boy Kongming! Manga Gets Live-Action Series Starring Osamu Mukai". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2023. สืบค้นเมื่อ May 1, 2023.
- ↑ 『パリピ孔明』上白石萌歌が人生初ブリーチで新境地「バイブスが自分の体に流れ始めた」 “歌姫”役で向井理と初共演. Oricon News (ภาษาญี่ปุ่น). June 21, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2023. สืบค้นเมื่อ June 20, 2023.
- ↑ 「パリピ孔明」舞台化!ノンスタ石田明の演出で5月上演、諸葛孔明役には藤田玲. Comic Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. December 22, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2023. สืบค้นเมื่อ December 26, 2023.
- ↑ パリピ孔明:コミックス累計120万部突破 テレビアニメ化も話題に. Mantan Web (ภาษาญี่ปุ่น). October 6, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2022. สืบค้นเมื่อ October 7, 2022.
- ↑ 桜井のりお「僕の心のヤバイやつ」次にくるマンガ大賞2020のWebマンガ部門1位に. Comic Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. August 19, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 20, 2020. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ 全国書店員が選んだおすすめコミック2021. Honya Club com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2021. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ 全国書店員が選んだおすすめマンガ、今年の1位は「わたしの幸せな結婚」. Comic Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. January 29, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 18, 2021. สืบค้นเมื่อ November 17, 2021.
- ↑ Hodgkins, Crystalyn (December 7, 2023). "12 Works Including Frieren, Elusive Samurai, Ya Boy Kongming! Nominated for 69th Shogakukan Manga Awards". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2023. สืบค้นเมื่อ December 7, 2023.
- ↑ Eisenbeis, Richard (March 4, 2023). "All the Winners of the 7th Annual Crunchyroll Anime Awards". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ March 13, 2023.
ดูเพิ่ม
แก้- Silverman, Rebecca (June 18, 2021). "Ya Boy Kongming! - The Spring 2021 Manga Guide". Anime News Network.