กุ้งมังกร
กุ้งมังกร ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 110–0Ma | |
---|---|
กุ้งมังกรเจ็ดสี (Panulirus versicolor) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ไฟลัมย่อย: | Crustacea |
ชั้น: | Malacostraca |
อันดับ: | Decapoda |
อันดับฐาน: | Achelata |
วงศ์: | Palinuridae Latreille, 1802 |
สกุล | |
|
ระวังสับสนกับ: ล็อบสเตอร์
สำหรับกุ้งมังกรที่พบในน้ำจืด ดูที่: เครย์ฟิช
กุ้งมังกร หรือ กุ้งหัวโขน หรือ กุ้งหนามใหญ่[1] เป็นครัสเตเชียนทะเลจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่อยู่ในวงศ์ Palinuridae [1]
ลักษณะและวงจรชีวิต
แก้มีลักษณะต่างจากกุ้งทั่วไป คือ เป็นกุ้งที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะส่วนหัวที่มีขนาดใหญ่ และมีลวดลายและสีสันสวยงาม มีลำตัวรูปทรงกระบอก หนวดคู่ที่ 6 ยาวกว่าความยาวของลำตัวมาก โคนหนวดคู่ที่สองไม่อยู่ติดกัน บนแผ่นกลางหนวดมีหนามขนาดใหญ่อยู่ปลายสุด 9 คู่ อยู่ตรงแนวกลางของโคนหนวดคู่ที่ 5 โคนละ 3หนาม ใช้สำหรับป้องกันดวงตา ไม่มีก้ามเหมือนกุ้งจำพวกอื่น ปล้องท้องเรียบไม่มีร่องขวางกลางปล้อง ขอบท้ายของปล้องท้องมีลายสีครีมขวางทุกปล้อง หางลักษณะแผ่เป็นหางพัด พบทั่วไปตามหาดโคลนบนพื้นทะเล พบกระจายพันธุ์ตามทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก[2]
กุ้งมังกรเมื่อเทียบกับกุ้งอื่น ๆ จัดเป็นกุ้งที่เติบโตช้ามาก การเจริญเติบโตใช้วิธีการลอกคราบในขณะที่อยู่ในวัยอ่อน จะมีการลอกคราบบ่อยครั้ง คือประมาณปีละ 1–2 ครั้ง กว่าจะโตเต็มที่ต้องใช้เวลาประมาณ 5–7 เดือน การออกไข่แต่ละครั้งจะมีปริมาณไข่ประมาณ 2300,000–9,000,0000 ฟอง ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะฟักเป็นตัว ในระยะวัยอ่อนจะมีชีวิตแบบแพลงก์ตอนขนาด 1 มิลลิเมตร ล่องลอยอยู่ในกระแสน้ำ จนอายุได้ 8–9 เดือน จึงจะกลายเป็นกุ้งวัยอ่อนขนาด 3–6เซนติเมตร จะเข้ามาอาศัยหลบภัยในกอสาหร่ายทะเล, หญ้าทะเล หรือแนวปะการังนาน4 ปี ถึงจะแข็งแรงพอช่วยตัวเองได้ และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 7–20 ปี[3]
การใช้ประโยชน์
แก้กุ้งมังกร จัดเป็นกุ้งขนาดใหญ่ที่นิยมในการบริโภคอย่างมากเช่นเดียวกับล็อบสเตอร์ ซึ่งเป็นกุ้งต่างวงศ์กัน สามารถบริโภคได้ทั้งสดและผ่านการทำอาหาร จัดว่าเป็นอาหารทะเลที่มีราคาสูง จึงมีการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ โดยประเทศที่ประสบความสำเร็จเพาะฟักกุ้งมังกรได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและทวีปแอฟริกาเท่านั้น ส่วนในประเทศไทยการเลี้ยงกุ้งมังกรในเชิงพาณิชย์ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากในระยะเวลาในการเป็นวัยอ่อนนาน ไม่คุ้มทุน จึงทำได้แค่เพาะเลี้ยงให้เจริญเติบโตขึ้นจากกุ้งที่จับได้จากธรรมชาติเท่านั้น โดยจะทำการเลี้ยงไว้ในกระชังในทะเล[4] และในน่านน้ำไทยนั้นฝั่งทะเลอันดามันจะพบกุ้งมังกรที่มากกว่าและหลากหลายชนิดมากกว่าอ่าวไทย เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์มีมากกว่า[3]
นอกจากในการบริโภคแล้ว กุ้งมังกรยังมีคุณค่าในด้านความสวยงาม โดยสามารถเลี้ยงในตู้ปลา เป็นสัตว์น้ำสวยงามได้ และนิยมสต๊าฟไว้ในกรอบกระจกเพื่อแขวนเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน[5]
นอกจากนี้แล้ว กุ้งมังกรยังมีชื่อเรียกบนเกาะหลีเป๊ะว่า "กุ้งซัง"[6]
การจำแนก
แก้แบ่งออกได้เป็น 12 สกุล (บางข้อมูลจัดให้แค่ 8 สกุล[7]) ราว 60 ชนิด[8] [9]
สกุล
- Jasus Parker, 1883
- Justitia Holthuis, 1946
- Linuparus White, 1847
- Nupalirus Kubo, 1955
- Palibythus Davie, 1990
- Palinurellus De Man, 1881
- Palinurus Weber, 1795
- Palinustus Milne-Edwards, 1880
- Panulirus White, 1847
- Projasus George & Grindley, 1964
- Puerulus Ortmann, 1897
- Sagmariasus Holthuis, 1991
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 หัวโขน ๓ น. จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ Sue Wesson (2005). "Murni Dhungang Jirrar Living in the Illawarra - Aboriginal people and wild resource use" (PDF). Department of Environment, Climate Change and Water. p. 22.
- ↑ 3.0 3.1 กุ้งมังกร สารคดี "กบนอกกะลา" ทางช่อง 9: อาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2555
- ↑ การเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรในกระชัง
- ↑ "กุ้งมังกร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-19. สืบค้นเมื่อ 2012-12-18.
- ↑ 'หลีเป๊ะ' เสน่ห์ที่กำลังเสื่อมถอย, "คำตอบ...จากคนชอบเที่ยว". คอลัมน์ โดย บริสุทธิ์ ประสพทรัพย์. เดลินิวส์ ฉบับที่ 23,383 หน้า 20 ศิลปวัฒนธรรม: อาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม 2556 แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง
- ↑ "Palinuridae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ Shane T. Ahyong, James K. Lowry, Miguel Alonso, Roger N. Bamber, Geoffrey A. Boxshall, Peter Castro, Sarah Gerken, Gordan S. Karaman, Joseph W. Goy, Diana S. Jones, Kenneth Meland, D. Christopher Rogers & Jörundur Svavarsson (2011). Subphylum Crustacea Brünnich, 1772. In Z.-Q. Zhang. "Animal biodiversity: an outline of higher-level classification and survey of taxonomic richness" (PDF). Zootaxa 3148: 165–191.
- ↑ WoRMS taxon details