กุมภกรรณ

ตัวละครฝ่ายยักษ์ในเรื่อง รามเกียรติ์

กุมภกรรณ (สันสกฤต: कुम्भकर्ण กุมฺภกรฺณ)มี4หน้า2มือ เป็นโอรสของท้าวลัสเตียนและนางรัชฎา มีศักดิ์เป็นน้องของทศกัณฐ์ มีกายสีเขียว มีอาวุธร้ายประจำกายคือหอกโมกขศักดิ์ที่ฝากไว้กับพระพรหม เหตุที่ชื่อกุมภกรรณ (หูหม้อ) นั้นเพราะมีร่างกายใหญ่โตมาก สามารถเอาหม้อใส่ใบหูได้

กุมภกรรณ
ตัวละครใน รามเกียรติ์
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เผ่าพันธุ์ยักษ์
เพศผู้
ตำแหน่งพระมหาอุปราชแห่งกรุงลงกา
คู่สมรสนางจันทวดี
ญาติท้าวลัสเตียน (บิดา)
นางรัชฎา (มารดา)
ทศกัณฐ์ (พี่ชาย)
พิเภก (น้องชาย)
ขร (น้องชาย)
ทูษณ์ (น้องชาย)
ตรีเศียร (น้องชาย)
นางสำมนักขา (น้องสาว)

กุมภกรรณเป็นยักษ์ที่ตั้งมั่นในศีลธรรม เคยทัดทานทศกัณฐ์ให้นำนางสีดาคืนพระราม แต่ถูกทศกัณฐ์โกรธมากและเกือบถูกขับไล่ออกจากเมืองเช่นเดียวกับพิเภก จึงต้องจำใจออกรบช่วยทศกัณฐ์เพราะเห็นแก่ความเป็นพี่น้อง กุมภกรรณได้แสดงความสามารถในการรบจนทำให้ทัพพระรามเดือดร้อนอยู่หลายครั้ง ได้แก่ วางอุบายลวงสุครีพถอนต้นรัง ทำพิธีลับหอกโมกขศักดิ์ แต่ถูกหนุมานและองคตทำลายพิธี รบกับพระลักษมณ์และพุ่งหอกโมกขศักดิ์ถูกพระลักษมณ์จนเกือบสิ้นชีวิต ทำพิธีทดน้ำให้กองทัพพระรามอดน้ำตาย แต่ถูกหนุมานทำลายพิธี สุดท้ายกุมภกรรณสู้รบกับพระราม เพลี่ยงพล้ำถูกศรพระรามฆ่าตาย ก่อนตายได้เห็นพระรามปรากฏเป็นพระนารายณ์ จึงขอขมาให้พระรามอโหสิกรรมให้และสั่งเสียให้พิเภกจงรักภักดีต่อพระราม หลังจากกุมภกรรณสิ้นชีพแล้ว ได้ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์

คำบริภาษของกุมภกรรณ

แก้

เมื่อกุมภกรรณออกรบกับพระรามนั้น ได้ตั้งปริศนาถามพระรามไว้บอกว่าถ้าพระรามตอบได้จะยอมเลิกทัพกลับ ปริศนาถามว่า ชีโฉด หญิงโหด ช้างงารี ชายทรชน สี่อย่างนี้คืออะไร พระรามตอบไม่ได้จึงใช้องคตมาถาม กุมภกรรณจึงเฉลยว่า

ชีโฉด คือพระรามที่เพื่อแย่งชิงนางสีดากลับ ถึงกับยกทัพใหญ่มาทำการวุ่นวาย ทำให้คนบริสุทธิ์มากมายเดือดร้อน

หญิงโหด คือนางสำมะนักขาที่คิดเอาพระรามเป็นสามี พอไม่ได้ก็และยุยงให้พี่น้องมารบกับพระรามจนเกิดเรื่อง

ช้างงารี คือทศกัณฐ์ที่เกะกะอันธพาล ไปแย่งเมียคนอื่น

ชายทรชน คือพิเภกที่ไม่รู้จักบุญคุณพี่น้อง ไปบอกความลับของฝ่ายลงกาแก่ศัตรู เหมือนแกล้งฆ่าพี่น้องทุกคน

คำบริภาษนี้เป็นของปราชญ์ไทยแต่งขึ้นโดยไม่มีในรามายณะต้นฉบับ ได้เป็นคำบริภาษทุกฝ่ายอย่างยุติธรรมตามมุมมองของกุมภกรรณ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมุมมองของกวีที่สอดแทรกไว้ก็ได้

บทบาทในรามายณะ

แก้

ในรามายณะ เรียกกุมภกรรณ ว่า "กุมภะกรณะ" (Kumbhakarna) โดยเป็นบุตรของฤาษีวิศวรวะ(Vishrava)หลานของฤาษีปุลัสตยะ(Pulastya) กับนางไกกะษี(Kaikasi) เป็นหนึ่งใน 4 พี่น้องร่วมอุทรเดียวกันกับ ราวณะ(Ravana) วิภีษณะ(Vibhishana) และ ศูรปณขา(Surpanakha)[1]

กุมภกรรณในรามายณะเป็นคนซื่อสัตย์เที่ยงธรรมคล้ายกุมภกรรณในรามเกียรติ์ แต่ในรามายณะกุมภกรรณได้เคยขอพรพระพรหมให้ตนเองมีสภาพคล้ายพระวิษณุ คือนอนหลับอยู่เป็นเวลานานถึง 6 เดือนจึงตื่นขึ้นมา และหยั่งรู้ความเป็นไปของโลกในการนอนหลับนั้น ดังนั้นเมื่อทศกัณฐ์ปลุกกุมภกรรณให้ไปรบกับพระรามนั้น กุมภกรรณย่อมรู้ว่าพระรามนั้นที่แท้คือพระวิษณุและตนไม่มีทางรบชนะเด็ดขาด แต่ด้วยหน้าที่ของการเป็นทหาร กุมภกรรณยังคงตัดสินใจไปรบโดยทูลทศกัณฐ์ว่า ถ้าตนตายในการรบก็ขอให้ทศกัณฐ์ยอมแพ้เสีย เพราะถ้าตนรบชนะไม่ได้ก็ย่อมไม่มีใครในลงการบชนะพระรามได้

เมื่อกุมภกรรณอยู่ในสนามรบ ได้สู้รบกับทัพของพระรามอย่างกล้าหาญ โดยทำลายทหารวานรไปเกือบ 8,000 นาย ในท้ายที่สุด กุมภกรรณะก็ต้องศรอินทราสตระ และศรวายวาสตระ ตัดแขนทั้งสองข้างและร่างกายลงสู่ทะเล และศรพรหมาสตระตัดศีรษะของกุมภกรรณลอยไปตกยังตรงหน้าของราวณะ สิ้นชีวิตลงในที่สุด

โคลงภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

แก้
รูปราพตนนี้ชื่อ ปรากฏ นามเอย
กุมภกรรฐอนุชทศ ภักตรท้าว
เป็นอุปราชเรืองยศ ผิวพิศ เขียวแฮ
ทรงหอกโมกขศักดิ์ห้าว มหิศเหี้ยมหาญณรงค์
ขุนพิสนทสังฆกิจ(ตัวสะกดตามต้นฉบับเดิม)

ลักษณะและสี

แก้

กายสีเขียวสด 1 หน้า 2 มือ สวมกระบังหน้า

อ้างอิง

แก้
  1. "Vishrava", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2024-07-08, สืบค้นเมื่อ 2024-11-05
  • สี ลักษณะหัวโขน และประวัติสังเขปของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ นาย ประพันธ์ สุคนธชาติ รวบรวม

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้