บลิทซ์ครีค (เยอรมัน: Blitzkrieg) แปลว่า สงครามสายฟ้าแลบ[1] เป็นปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีของกองทัพเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยรวมแสนยานุภาพทั้งทางภาคพื้นดินและในอากาศเข้าด้วยกัน คำว่า บลิทซ์ครีค เป็นอธิบายการโจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใด ๆ เลย แนวคิด บลิทซ์ครีค นั้นได้รับการพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำศึกยืดเยื้อ บลิทซ์ครีค ที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งคิดค้นต้นโดยพลเอกอาวุโส ไฮนทซ์ กูเดรีอัน

ลักษณะเฉพาะแบบคลาสสิกของสิ่งที่เรียกกันบ่อย ๆ ว่า บลิทซ์ครีค เป็นรูปแบบการเคลื่อนที่ระดับสูงของทหารราบและยานเกราะ, กำลังปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังผสม (กองทัพเยอรมัน, มิถุนายน ค.ศ. 1942)

บลิทซ์ครีค ของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรก ๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี

รูปแบบ

แก้
 
ความเสียหายหลังจาก บลิทซ์ครีค

รูปแบบโดยทั่วไปของ บลิทซ์ครีค ก็คือ การใช้ความรวดเร็วมากกว่าใช้ประสิทธิภาพที่เหนือกว่า และยังเป็นการใช้รูปแบบการรบแบบผสม หรือก็คือ การใช้ยานเกราะเคลื่อนที่เร็วร่วมกับทหารราบ ปืนใหญ่และกำลังสนับสนุนทางอากาศ ยุทธวิธีดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความเร็วในการโจมตี ประสิทธิภาพของยานเกราะ การพัฒนาของการติดต่อสื่อสารรวมไปถึงการบัญชาการอย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจหลักของ บลิทซ์ครีค คือการรักษาความเร็วของรถถังหุ้มเกราะซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว กองทัพเยอรมันพยายามหลีกเลี่ยงการรบซึ่งหน้าเพื่อที่จะทำลายขวัญกำลังใจ การติดต่อสื่อสารและประสิทธิภาพการตัดสินใจของข้าศึก

การใช้ความสามารถในการโจมตีที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพผสมกับความไม่ทันระวังของศัตรูทำให้ศูนย์บัญชาการของศัตรูปั่นป่วน การโจมตีครั้งในโปแลนด์สามารถทำให้ยึดเมืองได้รวดเร็วมาก หัวใจหลักสำคัญของกลยุทธ์นี้คือ กองกำลังรถถังและความสามารถด้านทัพอากาศ ทว่า หากศัตรูได้ระวังตัวก่อนทำให้ บลิทซ์ครีค ล้มเหลวเหมือนสงครามในสหภาพโซเวียตซึ่งได้ระมัดระวังโดยการป้องกันจุดสำคัญในเมืองต่าง ๆ ทำให้เกิดสงครามแห่งสตาลินกราดซึ่งยืดเยื้ออย่างมาก

ประวัติ

แก้

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในแนวหน้าตะวันตก โดยที่สงครามในช่วงนั้นคือการตั้งรับในหลุมเพลาะอย่างเดียวทั้ง 2 ฝั่งโดยแต่ละฝ่าย มีจุดกวาดล้างคือตรงกลางระหว่างทั้ง 2 ฝั่ง มีทั้งลวดหนามที่กั้นไม่ให้มีฝ่ายใดทะลวงที่มั่นได้ แต่ฝ่ายอังกฤษได้นำเสนอรถถังบุกทะลวงที่ไร้เทียมทานต่อปืนกลและปืนไรเฟิล ได้ข้ามลวดหนามและหลุมเพลาะ แต่ทว่า ในช่วงนั้นรถถังของฝ่ายอังกฤษผลิดไม่ได้มากพอก่อนสงครามจะจบ ทำให้เยอรมนีได้สัมผัส "ความเปลี่ยนแปลง" ของสนามรบและสถานะการณ์ ในขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ศึกษารถถังมานานปีจึงไม่รู้ประสบการณ์ของ "ความเปลี่ยนแปลง" หลังจากนั้นเยอรมนีได้พยายามศึกษารถถังและใช้งานเทคโนโลยีนี้ให้ดีที่สุด

อ้างอิง

แก้
  1. Gove, Philip (1986). Webster's Third New International Dictionary of the English Language Unabridged. Springfield: Merriam-Webster. p. 27a 2.31. ISBN 9780877792017.

บรรณานุกรม

แก้
  • Chrisp, Peter. (1991) Blitzkrieg!, Witness History Series. New York: Bookwright Press. ISBN 0-531-18373-4.
  • Citino, Robert Michael. (1999) The Path to Blitzkrieg : Doctrine and Training in the German Army, 1920-1939. Boulder: Lynne Rienner Publishers. ISBN 1-55587-714-1.
  • Citino, Robert Michael. (2002) Quest for Decisive Victory : From Stalemate to Blitzkrieg in Europe, 1899-1940, Modern War Studies. Lawrence: University Press of Kansas. ISBN 0-7006-1176-2.
  • Condell, Bruce, and David T. Zabecki. (2001) On the German Art of War : Truppenführung, The Art of War. Boulder: L. Rienner. ISBN 1-55587-996-9.
  • Cooper, Matthew. (1997) The German Army, 1933-1945 : Its Political and Military Failure. Lantham: Scarborough House. ISBN 0-8128-8519-8.
  • Corum, James S. (1992) The Roots of Blitzkrieg : Hans von Seeckt and German Military Reform, Modern War Studies. Lawrence: University Press of Kansas. ISBN 0-7006-0541-X.
  • Deighton, Len. (1980) Blitzkrieg : From the Rise of Hitler to the Fall of Dunkirk. New York: Knopf. ISBN 0-394-51020-8.
  • Doughty, Robert A. (1990) The Breaking Point : Sedan and the Fall of France, 1940. Hamden: Archon Books. ISBN 0-208-02281-3.
  • Edwards, Roger. (1989) Panzer, a Revolution in Warfare : 1939-1945. London/New York: Arms and Armour. ISBN 0-85368-932-6.
  • Frieser, Karl-Heinz. (1995) Blitzkrieg-Legende : Der Westfeldzug 1940, Operationen des Zweiten Weltkrieges. München: R. Oldenbourg. ISBN 3-486-56124-3.
  • Frieser, Karl-Heinz, and John T. Greenwood. (2005) The Blitzkrieg Legend : The 1940 Campaign in the West. Annapolis: Naval Institute Press. ISBN 1-59114-294-6.
  • Guderian, Heinz. (1996) Panzer Leader. New York: Da Capo Press. ISBN 0-306-80689-4.
  • House, Jonathan M. (2001) Combined Arms Warfare in the Twentieth Century, Modern War Studies. Lawrence: University Press of Kansas. ISBN 0-7006-1081-2 | 0700610987
  • Manstein, Erich von, and Anthony G. Powell. (2004) Lost Victories. St. Paul: Zenith Press. ISBN 0-7603-2054-3.
  • Megargee, Geoffrey P. (2000) Inside Hitler's High Command, Modern War Studies. Lawrence: University Press of Kansas. ISBN 0-7006-1015-4.
  • Stolfi, R. H. S. (1991) Hitler's Panzers East : World War II Reinterpreted. Norman: University of Oklahoma Press. ISBN 0-8061-2400-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้