การหลับ
การหลับ เป็นสถานะที่เกิดซ้ำตามธรรมชาติ โดยแสดงลักษณะที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป กิจกรรมรับความรู้สึกค่อนข้างถูกยับยั้ง และการยับยั้งกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจแทบทั้งจากความตื่นตัวเงียบตรงที่มีความสามารถสนองต่อสิ่งเร้าลดลง และสามารถผันกลับได้ง่ายกว่าอยู่ในสถานะจำศีลหรือโคม่ามาก การหลับเป็นสถานะที่มีแอแนบอลิซึมเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การหลับพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด นกทุกชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาหลายชนิด
ความมุ่งหมายและกลไกของการหลับยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และยังเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างจริงจัง[1] มักคิดกันว่า การหลับช่วยรักษาพลังงาน[2][3] แต่แท้จริงกลับลดเมแทบอลิซึมเพียง 5-10%[2][3] สัตว์ที่จำศีลต้องการหลับ แม้ว่าภาวะเมแทบอลิซึมต่ำจะพบได้ในการจำศีล และต้องเปลี่ยนกลับจากภาวะตัวเย็นเกินมาเป็นอุณหภูมิปกติของร่างกายก่อนจึงจะหลับได้ ทำให้การหลับ "มีราคาทางพลังงานสูง"[4]
แต่ละช่วงอายุต้องการการหลับต่อวันไม่เท่ากัน เด็กต้องการหลับมากกว่าเพื่อให้ร่างกายพัฒนาและทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม ทารกเกิดใหม่ต้องการหลับถึง 18 ชั่วโมง และมีอัตราลดลงในวัยเด็ก
อายุหรือสภาวะ | ความต้องการการหลับ |
---|---|
ทารกเกิดใหม่ (0-2 เดือน) | 12-18 ชั่วโมง[5] |
ทารก (3–11 เดือน) | 14-15 ชั่วโมง[5] |
เด็กวัยหัดเดิน (1–3 ขวบ) | 12-14 ชั่วโมง[5] |
เด็กก่อนวัยเรียน (3–5 ขวบ) | 11-13 ชั่วโมง[5] |
เด็กวัยเรียน (5–10 ปี) | 10-11 ชั่วโมง[5] |
วัยรุ่น (10-17 ปี) | 8.5-9.25 ชั่วโมง[5][6] |
ผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ | 7-9 ชั่วโมง[5] |
สตรีมีครรภ์ | 8 ชั่วโมงขึ้นไป |
ขณะหลับ มนุษย์มีการฝัน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ของการสัมผัสทางการมองเห็นและเสียง ในลำดับที่ผู้ฝันโดยปกติรับรู้ในฐานะผู้มีส่วนร่วมชัดเจนมากกว่าผู้สังเกต ฝันถูกกระตุ้นโดยพอนส์และส่วนมากเกิดขึ้นในการหลับระยะ REM
การอดนอนหรือนอนไม่เพียงพอ ที่เรียกว่า "หนี้การหลับ" (sleep debt) นั้น จะทำให้เกิดความอ่อนล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจและอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งยัง ทำให้ความสามารถในขบวนการคิดระดับสูงลดลง
ความผิดปกติของการหลับมีหลายอย่าง เช่น การนอนไม่หลับ (insomnia), ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) ที่เกิดจากกล้ามเนื้อรอบทางเดินหายใจของผู้ป่วยหย่อนขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจล้มเหลวและขวางการรับออกซิเจน และผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมาจากภาวะหลับลึกเพื่อหายใจ และภาวะง่วงเกิน (narcolepsy) ที่ผู้ป่วยจะหลับอย่างควบคุมไม่ได้ เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ Bingham R, Terrence S, Siegel J, Dyken ME, Czeisler C (February 2007). "Waking Up To Sleep" (Several conference videos). The Science Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2008.
- ↑ 2.0 2.1 "Sleep Syllabus. B. The Phylogeny of Sleep". Sleep Research Society, Education Committee. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
- ↑ 3.0 3.1 "Function of Sleep.". Scribd.com. Retrieved on 2011-12-01.
- ↑ Daan S, Barnes BM, Strijkstra AM (1991). "Warming up for sleep? Ground squirrels sleep during arousals from hibernation". Neurosci. Lett. 128 (2): 265–8. doi:10.1016/0304-3940(91)90276-Y. PMID 1945046.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "How Much Sleep Do We Really Need?". National Sleep Foundation. n.d. สืบค้นเมื่อ 2012-04-16.
- ↑ "Backgrounder: Later School Start Times". National Sleep Foundation. n.d. สืบค้นเมื่อ 2009-10-02.
Teens are among those least likely to get enough sleep; while they need on average 914 hours of sleep per night...
อ่านเพิ่มเติม
แก้- Brown RE, Basheer R, McKenna JT, Strecker RE, McCarley RW (July 2012). "Control of sleep and wakefulness". Physiological Reviews. 92 (3): 1087–187. doi:10.1152/physrev.00032.2011. PMC 3621793. PMID 22811426.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Rethinking Sleep, David K. Randall, New York Times, September 2012
- How to Sleep, James Hamblin, The Atlantic, January 2017