การสำรวจดาวอังคาร
การสำรวจดาวอังคารเริ่มต้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากการสำรวจระยะไกลโดยยานสำรวจอวกาศที่ส่งมาจากโลก โดยเน้นไปที่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและศักยภาพในการตั้งถิ่นฐาน[1] การวางแผนเพื่อเดินทางในเชิงวิศวกรรมนั้นซับซ้อน ทำให้การสำรวจนั้นมีอัตราความล้มเหลวสูงโดยเฉพาะในระยะเริ่มต้น ประมาณร้อยละ 60 ของยานอวกาศทั้งหมดที่มุ่งสู่สำหรับดาวอังคารนั้นล้มเหลวก่อนที่จะเสร็จสิ้นภารกิจและในบางภารกิจ ล้มเหลวก่อนที่การสำรวจจะเริ่มขึ้น แม้กระนั้น บางภารกิจก็ประสบความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง เช่น ยานสปิริต และ ออปเพอร์จูนิที ที่สามารถปฏิบัติภารกิจเกินกว่าที่ได้กำหนดไว้[2]
ปี (ค.ศ.) | จำนวนภารกิจ | |
---|---|---|
2021 | 11 | |
2020 | 8 | |
2019 | 8 | |
2018 | 9 | |
2017 | 8 | |
2016 | 8 | |
2015 | 7 | |
2014 | 7 | |
2013 | 5 | |
2012 | 5 | |
2011 | 4 | |
2010 | 5 | |
2009 | 5 | |
2008 | 6 | |
2007 | 5 | |
2006 | 6 | |
2005 | 5 | |
2004 | 5 | |
2003 | 3 | |
2002 | 2 | |
2001 | 2 | |
2000 | 1 | |
1999 | 1 | |
1998 | 1 | |
1997 | 2 | |
1996 | 0 |
ปัจจุบัน
แก้ณ ปี 2021 มียานสำรวจอวกาศทั้งสิ้น 14 ยานสำรวจบนและรอบดาวอังคาร[3] ประกอบด้วย โรเวอร์ที่ปฏิบัติการบนพื้นผิวดาวอังคารทั้งสิ้นสี่โรเวอร์ ได้แก่ รถโรเวอร์ คิวริออซิตี และเพอร์เซอเวียแรนซ์ อินเจนูอิตีเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งดำเนินการโดยองค์การนาซา (NASA) ของสหรัฐ และ จู้หรง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ เทียนเวิน-1 โดยองค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA)[4][5] ยานโคจรรอบดาวอังคาร (ดาวเทียม) แปดดวง ได้แก่ 2001 Mars Odyssey Mars Express (MEX) มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (MRO) มงคลยาน (MOM) MAVEN ExoMars Trace Gas Orbiter (TGO) ยานโคจรเทียนเวิน-1 และ Hope และ สองแลนเดอร์ที่ลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคาร คือ อินไซต์ และ เทียนเวิน-1 แลนเดอร์
ทั้งนี้ ภารกิจต่อไปที่คาดว่าจะมายังดาวอังคาร คือ โรเวอร์ โรซาลินด์ แฟรงคลิน ของรัฐวิสาหกิจรอสคอสมอสและองค์การอวกาศยุโรป และโครงการ Mars Orbiter Mission 2 ของอินเดีย
ระบบดาวอังคาร (Martian system)
แก้การสำรวจดาวอังคารอยู่ในความสนใจของมนุษย์มาอย่างยาวนาน และการค้นพบใหม่ ๆ ยิ่งกระตุ้นความสนใจในการศึกษาและสำรวจดาวเคราะห์สีแดงนี้มากขึ้น การสังเกตด้วยกล้องส่องทางไกลในช่วงต้นเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสีพื้นผิวที่เกิดตามฤดูกาลและลักษณะเชิงเส้นที่ชัดเจน การสังเกตการณ์ด้วยกล้องส่องทางไกลเพิ่มเติมทำให้พบดวงจันทร์สองดวง ได้แก่ โฟบอสและดีมอส น้ำแข็งขั้วโลกของดาวอังคาร และ โอลิมปัส ซึ่งเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน เหมือนกับโลก ที่ก่อตัวขึ้นในเวลาเดียวกัน แต่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงครึ่งหนึ่งของโลก มีพื้นผิวที่เย็นและเหมือนทะเลทราย และมีชั้นบรรยากาศที่บางกว่ามาก[6]
ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการปล่อยยานสำรวจ
แก้ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการปล่อยยานสำรวจขึ้นสู่อวกาศโดยใช้พลังงานน้อย (the minimum-energy launch windows) เพื่อไปยังดาวอังคาร เกิดขึ้นประมาณทุก ๆ สองปีและสองเดือน (ราวทุก ๆ 780 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลกมากที่สุด)[7] และจะใช้พลังงานน้อยที่สุดในทุก ๆ 16 ปี[7]
ปี | ปล่อยยานฯ เมื่อ | ยานสำรวจ (ที่ปล่อยแล้ว และที่วางแผน) |
---|---|---|
2013 | พฤศจิกายน 2013 | MAVEN, Mars Orbiter Mission |
2016 | มีนาคม 2016 | ExoMars TGO |
2018 | พฤษภาคม 2018 | อินไซต์ |
2020 | กรกฎาคม – กันยายน 2020 |
Mars Hope, ยานโคจร เทียนเวิน-1 และ จู้หรง, Mars 2020 คิวริออซิตี และ เพอร์เซอเวียแรนซ์ |
2022 | โรซาลินด์ แฟรงคลิน โรเวอร์ | |
2024-2025 | Mars Orbiter Mission 2 (MOM-2) |
ภารกิจในอดีตและปัจจุบัน
แก้ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 โซเวียตได้ริเริ่มการส่งยานสำรวจไปยังดาวอังคาร เช่น ความพยายามที่จะโคจรผ่าน (flyby) และลงจอดแบบกระแทก (impact landing) ของ Mars 1962B แต่การโคจรผ่านครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จนั้นกระทำโดย มาริเนอร์ 4 ขององค์การนาซาเมื่อวันที่ 14-15 กรกฎาคม 1965 [9] ยาน มาริเนอร์ 9 กลายเป็นยานสำรวจอวกาศลำแรกที่โคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่น เมื่อเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารได้สำเร็จ[10]
ยานฯ ลำแรกที่สัมผัสพื้นผิวดาว คือ ยานสำรวจของสหภาพโซเวียต 2 ลำ: Mars 2 แลนเดอร์ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 1971 และยานลงจอด Mars 3 ในวันที่ 2 ธันวาคม 1971 แม้ว่า Mars 2 ได้ล้มเหลวในระหว่างการลดระดับ และ Mars 3 ที่ปฏิบัติการแค่ประมาณยี่สิบวินาทีหลังจากการลงจอดแบบนุ่มนวลครั้งแรกบนพื้นผิวดาว[11] ยาน Mars 6 เองก็ล้มเหลวในระหว่างการลดระดับในปี 1974 แต่ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศที่ไม่สมบูรณ์[12] โครงการไวกิงของนาซาในปี 1975 ประกอบด้วยยานโคจรสองลำ โดยแต่ละลำต่างประสบความสำเร็จในการลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารในปี 1976 พร้อมกับเป็นผู้ส่งข้อมูลภาพพาโนรามาสีแรกของดาวอังคารสู่โลก ไวกิง 1 สามารถปฏิบัติภารกิจได้หกปี ไวกิง 2 สามปี[13]
ยานสำรวจ โฟบอส 1 และ 2 ของสหภาพโซเวียตถูกส่งไปยังดาวอังคารในปี 1988 เพื่อศึกษาดาวอังคารและดวงจันทร์สองดวงโดยเน้นที่โฟบอส โฟบอส 1 ขาดการติดต่อระหว่างการเดินทางไปดาวอังคาร โฟบอส 2 สามารถถ่ายภาพดาวอังคารและโฟบอสได้สำเร็จ แต่ล้มเหลวก่อนที่จะปล่อยยานลงจอดสองลำสู่พื้นผิวโฟบอส[14]
ภารกิจที่สิ้นสุดก่อนกำหนด หลังจาก โฟบอส 1 และ 2 เมื่อปี 1988 ได้แก่
- Mars Observer (launched in 1992)
- Mars 96 (1996)
- Mars Climate Orbiter (1999)
- Mars Polar Lander with Deep Space 2 (1999)
- Nozomi (2003)
- Beagle 2 (2003)
- Fobos-Grunt with Yinghuo-1 (2011)
- Schiaparelli lander (2016)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Grotzinger, John P. (24 January 2014). "Introduction to Special Issue – Habitability, Taphonomy and the Search for Organic Carbon on Mars". Science. 343 (6169): 386–387. Bibcode:2014Sci...343..386G. doi:10.1126/science.1249944. PMID 24458635.
- ↑ Society, National Geographic (2009-10-15). "Mars Exploration, Mars Rovers Information, Facts, News, Photos – National Geographic". National Geographic. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
- ↑ Loeffler, John (2021-08-17). "NASA's Mars helicopter is now scouting new sites for Perseverance rover to study". TechRadar (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ February 2021, Vicky Stein 08. "Tianwen-1: China's first Mars mission". Space.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-24.
- ↑ "China lands its Zhurong rover on Mars". BBC. 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2021-05-14.
- ↑ Sheehan, William (1996). "The Planet Mars: A History of Observation and Discovery". The University of Arizona Press, Tucson. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-01. สืบค้นเมื่อ 2009-02-15.
- ↑ 7.0 7.1 David S. F. Portree, Humans to Mars: Fifty Years of Mission Planning, 1950–2000, NASA Monographs in Aerospace History Series, Number 21, February 2001. Available as NASA SP-2001-4521.
- ↑ "D. McCleese, et al. – Robotic Mars Exploration Strategy" (PDF). nasa.gov. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017.
- ↑ "Mariner 4". NSSDC Master Catalog. NASA. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.
- ↑ "Mariner 9: Overview". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-31.
- ↑ Mars 2 Lander – NASA. Nssdc.gsfc.nasa.gov. Retrieved on 2012-05-10.
- ↑ Mars 6 – NASA. Nssdc.gsfc.nasa.gov. Retrieved on 2012-05-10.
- ↑ "Other Mars Missions". Journey through the galaxy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-20. สืบค้นเมื่อ 2006-06-13.
- ↑ Sagdeev, R. Z.; Zakharov, A. V. (October 19, 1989). "Brief history of the Phobos mission". Nature. 341 (6243): 581–585. Bibcode:1989Natur.341..581S. doi:10.1038/341581a0.