การลุกไหม้
การลุกไหม้ (อังกฤษ: deflagration) คือกระบวนการเผาไหม้ที่หน้าคลื่นของการเผาไหม้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ต่ำกว่าความเร็วเสียงซึ่งหน้าคลื่นการเผาไหม้แผ่ไปด้วยการถ่ายเทความร้อน วัสดุร้อนที่เผาไหม้ให้ความร้อนวัสดุเย็นที่อยู่ถัดไปแล้วก็จุดไฟมัน "ไฟ" ส่วนใหญ่ที่พบในชีวิต ตั้งแต่เปลวไฟจนถึงการระเบิดเช่นของดินปืน เป็นการลุกไหม้ทั้งสิ้น นี่แตกต่างจากการระเบิดรุนแรงซึ่งแผ่ออกไปด้วยความเร็วเหนือเสียงด้วยคลื่นกระแทก และสารนั้นก็จะสลายตัวไปอย่างรวดเร็วยิ่งยวด
การประยุกต์
แก้ในการประยุกต์ใช้ทางวิศวกรรม การลุกไหม้ควบคุมได้ง่ายกว่าการระเบิดรุนแรง ผลคือการลุกไหม้จึงเหมาะสมกว่าเมื่อมีจุดมุ่งหมายเพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุ (เช่นกระสุนในอาวุธปืน หรือลูกสูบในเครื่องยนต์สันดาปภายใน) ด้วยแรงของแก๊สที่ขยายตัว ตัวอย่างโดยปกติของการลุกไหม้ก็เช่นการเผาไหม้ของสารผสมอากาศ-แก๊สในเตาแก๊ส (gas stove) หรือสารผสมอากาศ-เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สันดาปภายใน และการไหม้อย่างรวดเร็วของดินปืนในอาวุธปืนหรือส่วนผสมอัคนีศิลป์ในดอกไม้ไฟ การระเบิดแรงดันแก๊สซึ่งเป็นระบบและผลผลิตของการลุกไหม้ก็ถูกใช้ในเหมืองแร่เพื่อการทำลายและการขุดหินโดยเป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์แทนการใช้วัตถุระเบิดแรงสูง
ไฟน้ำมัน/ขี้ผึ้งกับน้ำ
แก้การใส่น้ำลงในไฮโดรคาร์บอนที่ไหม้อยู่เช่นน้ำมันหรือขี้ผึ้งจะทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้น น้ำจะเดือดอย่างรวดเร็วและพ่นวัสดุที่ไหม้อยู่ออกกระเด็นเป็นละอองละเอียด การลุกไหม้จึงเกิดขึ้นเมื่อหมอกหยดน้ำมันละเอียดถูกจุดไฟและไหม้อย่างรวดเร็วยื่งยวด ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยโดยเฉพาะในไฟไหม้หม้อทอดมันฝรั่ง (chip pan) ซึ่งเป็นตัวการของหนึ่งในห้าของอัคคีภัยครัวเรือนทั้งหมดในสหราชอาณาจักร[1]
ฟิสิกส์เปลวไฟ
แก้เพื่อเข้าใจฟิสิกส์เบื้องหลังเปลวไฟ เราจะใช้ตัวแบบอุดมคติช่วยซึ่งประกอบไปด้วยท่อหนึ่งมิติเอกรูปที่มีเชื้อเพลิงแก๊สทั้งที่ไหม้แล้วและยังไม่ไหม้บรรจุอยู่และแยกจากกันด้วยพื้นที่เปลี่ยนผ่านบาง ๆ ความกว้าง ซึ่งมีการเผาไหม้อยู่ พื้นที่ที่เผาไหม้มักจะถูกเรียกเป็นหน้าเปลวไฟ (flame front) การแพร่ความร้อนข้ามหน้าเปลวไฟถูกดุลโดยความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ในสมดุล[2][3][4][5]
มีมาตราเวลาลักษณะเฉพาะที่สำคัญอยู่สองมาตรา มาตราแรกคือมาตราเวลาการแพร่ความร้อนแทนด้วย ซึ่งเท่ากับประมาณ
- ,
โดย เป็นสภาพแพร่ความร้อน (Thermal diffusivity) มาตราที่สองคือมาตราเวลาการไหม้ ซึ่งลดลงตามอุณหภูมิ โดยปกติเป็น
- ,
โดย เป็นอุปสรรคการกระตุ้นของปฏิกิริยาการไหม้และ เป็นอุณหภูมิที่เกิดเป็นผลลัพธ์ของการไหม้ ซึ่งค่านี้ก็สามารถเรียกว่า "อุณหภูมิเปลวไฟ" และสามารถกำหนดหาได้โดยใช้กฎของอุณหพลศาสตร์
สำหรับหน้าคลื่นที่นิ่งของการลุกไหม้ที่เคลื่อนที่ มาตราเวลาทั้งสองนี้จะต้องเท่ากัน: ความร้อนที่ถูกผลิตโดยการไหม้มีค่าเท่ากับความร้อนที่นำออกไปโดยการถ่ายเทความร้อน ทำให้เราสามารถคำนวณความกว้างลักษณะเฉพาะ ของหน้าเปลวไฟได้:
- ,
ดังนั้น
- .
แล้วหน้าเปลวไฟแพร่ด้วยความเร็วลักษณะเฉพาะ ซึ่งก็เพียงเท่ากับความกว้างของเปลวไฟหารด้วยเวลาไหม้:
- .
ตัวแบบที่ถูกทำให้ง่ายนี้ไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิซึ่งก็แปลว่าไม่ได้สนใจอัตราการไหม้ตลอดหน้าการลุกไหม้ ตัวแบบนี้ยังไม่สนใจอิทธิพลที่เป็นไปได้ของความปั่นป่วน (turbulence) ผลลัพธ์ก็คือการอนุพัทธ์นี้ให้เราแค่ความเร็วเปลวไฟแนวขนาน (laminar flame speed) ตัวแปรจึงมีตัว l อยู่แทนคำว่า laminar .
เหตุการณ์เสียหาย
แก้ความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือ และผู้คนสามารถอาจผลของการลุกไหม้ระยะเวลาสั้น ๆ และขนาดใหญ่ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยทั่วไปเป็นฟังก์ชันของปริมาณเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใหม้ไปในเหตุการณ์หนึ่ง (พลังงานทั้งหมดที่มีอยู่) ความเร็วเปลวเพลิงสูงสุดที่สัมฤทธิ์ และกิริยาของการกักการขยายตัวของแก๊ส
ในการลุกไหม้ในอากาศโล่ง ผลของการลุกไหม้เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเทียบกับความเร็วสูงสุดของเปลวไฟ เมื่อความเร็วช้าผลของการลุกไหม้คือการปลดปล่อยความร้อน ผู้เขียนบางคนใช้คำว่าไฟไหม้วาบ (flash fire) เพื่อพูดถึงการลุกไหม้ความเร็วต่ำ ที่ความเร็วใกล้ความเร็วเสียง พลังงานถูกปลดปล่อยในรูปของแรงดันและมีผลคล้ายกับการระเบิดรุนแรง ระหว่างจุดสุดขีดทั้งสองนี้ ก็จะมีการผลิตทั้งความร้อนและความดัน
เมื่อการลุกไหม้ความเร็วต่ำเกิดขึ้นภายในภาชนะหรือโครงสร้างที่ปิด ผลของความดันจะทำให้เกิดความเสียหายเนื่องมาจากการขยายตัวของแก๊สเป็นผลรอง ความร้อนที่ปลดปล่อยโดยการลุกไหม้ทำให้แก๊สเผาไหม้และอากาศเกินขยายตัวโดยความร้อน ผลลัพธ์สุทธิคือปริมาตรของภาชนะหรือโครงสร้างจะต้องขยายตัวเพื่อรองรับแก๊สเผาไหม้ร้อนหรือต้องแข็งแรงพอที่จะทนความดันภายในเพิ่มเติม ไม่เช่นนั้นก็จะล้มเหลวหรือพังแล้วปล่อยให้แก๊สหนีออกมาได้ ความเสี่ยงของการลุกไหม้ภายในถังเก็บของเสียเป็นความกังวลที่มีมากขึ้นในโกดัง
ดูเพิ่ม
แก้- อัคคีภัย
- จุดเปลี่ยนผ่านจากการลุกไหม้สู่การระเบิดรุนแรง (Deflagration to detonation transition)
- การซ้อนความดัน (Pressure piling)
- การระเบิดรุนแรง
อ้างอิง
แก้- ↑ UK Fire Service advice on chip pan fires
- ↑ Williams, F. A. (2018). Combustion theory. CRC Press.
- ↑ Landau, L. D. (1959). EM Lifshitz, Fluid Mechanics. Course of Theoretical Physics, 6.
- ↑ Linan, A., & Williams, F. A. (1993). Fundamental aspects of combustion.
- ↑ Zeldovich, I. A., Barenblatt, G. I., Librovich, V. B., & Makhviladze, G. M. (1985). Mathematical theory of combustion and explosions.